เมื่อได้เยือนกรุงโซล Cheonggyecheon steam เปรียบได้ดั่งสถานที่สำคัญที่นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องวางโปรแกรมที่จะไปเยือนธารน้ำสวยที่ทอดยาวว่าสิบกิโลแห่งนี้แน่นอน หลายคนคงเคยได้ยินมาว่าอดีตลำธารแห่งนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จากแม่น้ำที่มีน้ำเน่าเสียกลายมาเป็นลำธารที่แสนสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยว
Cheonggyecheon เในอดีตตั้งอยู่ใต้บริเวณพื้นที่ของทางหลวงยกระดับสูงจนแทบจะมองไม่เห็นส่วนของแม่น้ำนี้ ในอดีตก่อนที่สถานที่ Cheonggyecheon จะเป็นที่รู้จักและกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาหลีได้หลายล้านคนนั้นพื้นที่ของ Cheonggyecheon นี้ถูกปกลุมด้วยทางหลวง สถานที่ค้าขายที่แสนจะแออัด และ บ้านเรือนที่อยู่ของคน อย่างไรก็ตามความคิดในการฟื้นฟูคลองแห่งนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการลงทุยผสมผสานกับการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองโซลจึงได้ถือกำเนิดขึ้นจากความคิดของนายกเทศมนตรีในเวลานั้นนาม Lee Myung-bak ในช่วงแรกของแนวความคิดในการบูรณะพื้นที่ Cheonggyecheon ได้รับการคัดค้านอย่างมากจากธุรกิจท้องถิ่นที่คงฝั่งรากใช้ชีวิตและทำมาหากินบริเวณนี้มายาวนาน ประกอบกับขอบเขตของก่อสร้างที่จะทำลายชีวิตคนเมือง ทั้งนึ้โครงการยังจะต้องทำการรื้อถอนทางหลวงที่ที่ยกระดับเกือบ 5.5 ก.ม. มีความกลัวว่าโครงการนั้นจะสร้างปัญหาการจราจรในกรุงโซลให้แย่ไปด้วยเนืองจากเป็นจุดที่ถนนลง ด้วยเหตุนี้ผู้สังเกตการณ์หลายท่านต่างมองว่าโคงการนี้หากไม่ประสบความสำเร็จจะลดทอนทุนการเมืองของนายกเทศมนตรี Lee
Myung-bak อย่างไรก็ตามความพยายามในการที่จะทำให้แม่น้ำ Cheonggyecheon ได้กลายเป็นศุนย์กลางการท่องเที่ยวสีเขียวในกรุงโซลก็ประสบความสำเร็จได้จริงบุคคลที่มีความสำคัญสำหรับโครงการนี้คือผู้ที่เลือกแคมเปนนี้ในการหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรี คือ Lee Myung-bak ภายหลังจากได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีกรุงโซล Lee Myung-bak ถือได้ว่าเป็นนโยบายในการหาเสียง เขาต้องการลบทางด่วนนี้และฟื้นฟูแม้น้ำ Cheonggyecheon และ ทำตามสิ่งที่เขาคิดว่าจะช่วยยกระดับโซลให้มีมูลค่าาเพื่มขึ้น
ตอนนี้มาฟังเรื่องราวที่มาของ Cheonggyecheon
Cheonggyecheon เป็นเม่น้ำที่แบ่งทางเหนือจากครึ่งหนึ่งของทางใต้ของเมือง แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านจากภูเขารอบเมือง แม่น้ำเหล่านี้มักจะแห้งในฤดูใบไม้ผลิและ ฤดูไม้ร่วงและมีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน
ในอดีต แม่น้ำ Cheonggyecheon ถูกเรียกว่า Gaecheon ซึ่งมีคามหมายถึงการขุดออก และ ในปี พ.ศ.2459 เมื่อเกาหลีถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นได้ทำการรวบรวมรายชื่อแม่น้ำเกาหลี และ ทำการเปลี่ยนชื่อ จาก Gaecheon เป็น Cheonggyecheon อันมีความหมายว่า กระแสน้ำใส แต่ในบางครั้งชาวญี่ปุ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ Takgyecheon อันหมายถึงแม้น้ำสกปรก อันเนื่องมาจากสภาพของแม่น้ำที่เสื่อมสภาพลงจากการใช้เป็นที่ระบายของเสียมาเป็นเวลาช้านาน
กล่าวว่า ในปี พ.ศ.1949-1955 พระเจ้าแทโจทรงต้องการให้แม่น้ำมีความกว้างขึ้น และ สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเพื่อควบคุมน้ำท่วม ในปี พ.ศ.1955 คนจำนวนกว่าห้าหมื่นคนได้ทำงานเพื่อสร้างเขื่อนและ สะพานหินเหนือแม่น้ำ Cheonggyecheon และแม่น้ำสาขา และ พระเจ้าเซจงได้ทำการสืบทอดงานโดยการขุดคูเพื่อเปลี่ยนทางน้ำป้องกันน้ำท่วมเข้าเมือง ที่ปรึกษาของพระเจ้าเซจงมีความคิดเห็นสองประการเกี่ยวกับการใช้ Cheonggyecheon แห่งนี้ โดย นักอุดมคตินิยมเชื่อว่าน้ำควรได้รับการทำความสะอาดตามหลักการของฮวงจุ้ย และ นักสัจจะนิยมเชื่อว่าเมืองที่กำลังเติบโตจำเป็นต้องใช้ทางน้ำการระบายน้ำเสีย และ Cheonggyecheon ก็เป็นทางเลือกเดียวนี้คือจุดที่ทำให้แม่น้ำแห่งนี้กลายเป็นที่ระยาบของเสียในยุคโซชอน ในปี พ.ศ.2200 จำนวนประชาชนในกรุงโซลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็น 190,000 คน และ Cheonggyecheon ไม่สามารถรองรับสิ่งปฎิกูลของเมืองได้อีกต่อไปแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ.2303-2316 พระเจ้ายองโจระดมกำลังคนงาน 50,000 คน เพื่อขุดแม่น้ำและสร้างเขื่อนเพื่อรองรับจำนวนคนที่มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ในสมัยเกาหลีภายใต้การปกครองญึ่ปุ่น
ในช่วงที่ญี่ปุ่นทำการปกครองเกาหลีนั่นพยายามที่จะทำการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียใต้สำหรับกรุงโซล แต่แผนทั้งหมดเหล่านี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับสงคราม เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลงทางเกาหลีใต้ก็ทำการพัฒนาแผนการที่ขุด Cheonggyecheon แต่เนื่องจากสภาพขาดการดูแลในช่วงสงคราม และ พื้นที่บริเวณรอบแม่น้ำ Cheonggyecheon ก็ได้กลายเป็นสถานที่ผู้ลี้ภัยสงครามเกาหลีก็ได้มาตั้งบ้านเรือนบริเวณแม่น้ำแห่งนี้แทนฃ
สภาพบ้านเรือนก่อนการบูรณะ Cheonggyecheon จะสังเกตุได้ว่ามีการตั้งบ้านเรือนริมแม่น้ำทั้งสองข้างทางใช้น้ำในพื้นที่แห่งนี้ในการดำรงชีวิตประจำวันของคนที่ตั้งบ้านเรือนที่นี้
![]() |
ภาพการก่อสร้างทางหลวงยกระดับสูงเหนือ Cheonggyecheon |
ทางหลวงถูกสร้างขึ้นเหนือลำธารใต้ดิน ฟรีเวย์นี้กว้างสี่เลนและยาวกว่าสามไมล์ บ้านเรือนถูกย้ายออกจากริมฝั่งลำธาร ผู้อาศัยถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานพื้นที่ตรงนั้นถูกแทนด้วยร้านค้าที่ทันสมัย และ ศูนย์อุตสาหกรรมถูกสร้างขึ้นที่นั้น โครงการพัฒนานี้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความทันสมัย และ อุตสาหกรรมของเกาหลีหลังสงคราม
![]() |
บ้านเรือน ที่ตั้ง Cheonggyecheon ก่อนการบูรณะ |
![]() |
ร้านค้ามากมายตามลำธาร Cheonggyecheon |
ดั่งที่กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยน แม่น้ำ Cheonggyecheon ที่เคยใช้เป็นที่ระบายของเสียมาตั้งแต่สมัยโซชอนทำให้สภาพของน้ำมีความสกปรก และ ยังถูกปกคลุมความสกปรกด้วยทางหลวง แต่ภายหลังจากที่ Lee
Myung-bak เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของโซล การพยายามลบทางด่วน และ เปลี่ยน Cheonggyecheon ให้เป็นพื้นที่สีเขียวก็ปรากฏขึ้น เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยวและ การลงทุนระหว่างประเทศ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มธุรกิจบริเวณพื้นที่นั้นแต่ก็ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนชาวโซลส่วนใหญ่ การรื้อถอนทางด่วนเริ่มขึ้นในเดือน มิถุนายน ปี พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จใน เดือน กันยายน .ศ. 2546 โครงการใช้เวลาในการบูรณะลำธารเป็นเวลาสองปี แล้วเสร็จในเดือน กันยายน ปี พ.ศ.2548
มาดู Cheonggyecheon Steam ภายหลังได้รับการบูรณะจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
การเดินทางที่แสนนะง่ายด้วยการนั่งรถไฟฟ้าสาย 5 เพื่อเดินทางไป Cheonggyecheon Steam เมื่อออกมาคุณก็จะได้พบกับสัญลักษณ์สูง ๆ ม้วนๆ อยู่ข้างหน้า นั้นแสดงว่า คุณมาถึง Cheonggyecheon Steam แห่งนี้แล้ว
เปรียบได้ดั่งจุดแลนด์มารค์ว่า คุณได้มาถึง Cheonggyecheon Steam |
ภาพถ่ายบรรยากาศของ Cheonggyecheon Steam ผู้เขียนถ่ายตอนช่วงเย็น ประเทศเกาหลีถือได้ว่า เป็นประเทศที่แม้จะเย็นจะค่ำแต่ท้องฟ้าก็ยังคงสว่างยาวนานถ้าเทียบกับประเทศไทยของเรา
ลำธารที่แสนสะอาดภายหลังจากผ่านกระบวนการบูรณะ
เป็นภาพวาดบนกำแพงเซรามิคที่มีความยาว ภาพบอกเล่าเรื่องราวถึงขบวนแห่ที่นำโดยพระเจ้าจองโจ (องค์ชาย ลีซาน) ที่เดินทางจากเมืองซูวอน ฮวาซอน เพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดในปีที่ 60 ของพระมารดาของพระองค์ (เจ้าหญิงฮองแห่งฮเยกย็อง (Hyengeong) และ แสดงความเคารพที่หลุมฝังศพของพระบิดาของพระองค์นั้น คือ องค์รัชทายาทซาโด ที่ ฮเยเรียงวอน (Hyeonreungwon) บันชาโดเป็นภาพวาดทางสารคดีของราชวงศ์ที่มีขนาดใหญ่และ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่หาค่าไม่ได้ อันมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของขบวนแห่ ลักษณะของการแต่งกายเฉพาะ ชุดเครื่องแต่งกาย และ องค์ประกอบแห่งวงค์ดนตรีสมัยนั้น
จากภาพที่ปรากฏนั้นขบวนแห่ของพระเจ้าจองโจไป Hwaseong ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 วันและปรากฏพระราชินี Gyeongeui ในขบวนแห่มีคนอีกกว่า 6,000 คน รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่สอง (Wueuijeong) นั้นคือ Cha Je Gong , เจ้าหน้าที่พลเรือน,นางกำนัล และ ทหารรักษาพระองค์ บันชาโดของพระเจ้าจองโจ มีการพรรณนาถึงผู้คน 1,779 คน และ มัา 779 ตัว อันมีรายละเอียดสูงมาก
บันดาชาโดของพระเจ้าจองโจที่แสดงใน Cheonggyecheon Steam เป็นรูปแบบที่ได้วาดขึ้นมาใหม่บนแผ่นเครื่องเคลือบดินเผาสีขาว 5,120 ชิ้น (30 ซม.x30 ซม.) และได้ขยายความยาวเป็น 186 เมตร และ สูง 2.4 เมตร เป็นจิตกรรมฝาผนังเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
บรรยากาศ Cheonggyecheon Steam ยามเย็นมีการเปิดไฟในพื้นของลำธารแห่งนี้ สร้างบรรยากาศที่สวยงามที่เดียว
นี้คือ Cheonggyecheon Steam สถานที่เปลี่ยนจากแม่น้ำที่ใช้ทิ้งสิ่งปฎิกูลมากนานกว่าหลายร้อยปีให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสวยงามกลางใจกลางโซล เพื่อหวังดึงดูดนักท่องเที่ยว และ นักลงทุนต่างชาติ ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ล้ำค่าของภาพวาด บันชาโดที่แสนสวยงาม ถ้าคุณได้เวะไปโซลอย่าลืมมาที่ Cheonggyecheon Steam กันนะค่ะ
Cr.
http://www.preservenet.com/freeways/FreewaysCheonggye.html , Cheonggyecheon restoration Project of Dr. In-Keun Lee , Hugo Ribadeau-Dumas, Lucie Perez, Ihnji Jon, Morgan Mouton, Cristiano Penna, Nonjabulo Zondi, Caroline Guillet of Cheonggyecheon restoration Project , Peeguay