เมืองเคียงจู เป็นเมืองที่มีท่ามกลางหุบเขา เป็นพื้นที่่ทางประวัติศาสตร์อันเต็มไปด้วยมรดกมากมายที่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมชิลลา พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ คยองจู แบ่งออกเป็นห้าพื้นที่ตามลักษณะธรรมชาติ ปรากฏโบราณสถาน และ โบราณวัตถุที่มีองค์ประกอบของพุทธศาสนาจุดเชื่อม วอลซอง อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังแห่งราชวงศ์ชิลลา ต่อไปยังพื้นที่ของสุสานโบราณแห่งชิลลา สุสานหลวงแดรึงวอง (Daereungwon Tumuli Park) พื้นที่ต่างของเคียงจูถือได้ว่ามีความเชื่อมต่อกันในแต่ละจุด
แหล่งโบราณสถานหลายแห่งที่ผู้เขียนได้เดินทางไปค้นหาความยิ่งใหญ่ของหนึ่งในสามอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ คือ ชิลลา แพคเจ และ โครยอ โดย อาณาจักรชิลลา เป็นอาณาจักรที่ปกครองเกาหลีในช่วงระยะเวลาของสามอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ.1 ถึงก่อน ค.ศ.7 มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 29 พระองค์ ปฐมกษัตริย์พระองค์แรก คือ พระเจ้าฮักกเยคอเซ (박혁거세) ครองราชย์ 57 ปีก่อน ค.ศ.- ค.ศ.4 และ องค์สุดท้ายคือ พระเจ้ามูยูล ค.ศ.ุ654-661 หลักฐานสำคัญในกาค้นพบและ มีการพูดถึงชิลลานั้นคือ มงกุฎทองคำ จากการขุดค้นสุสานหลวง เกล่าวกันว่าเกิดในสมัยของพระเจ้า นุลจี ( Nulji 눌지 마립간 ค.ศ.417–458) เป็นการสร้างมรดกของมงกุฎจากพ่อไปสู่บุตรชาย จากพ่อไปยังบตรชาย สิ่งนี้มีการสืบทอดกันมาระหว่างการสืบทอดอำนาจของอาณาจักรซิลลเา และ ยังปรากฏหลักฐานให้เราได้เห็นจนเวลานี้ อาณาจักรชิลลาต้องต่อสู้มาตลอดเวลาหลายศตวรรษเคียงข้างมากับ ดินแดนโครยอ แพคเจ และ คายา ทั้งสี่อาณาจักรนี้ต่างต่อสู้เพื่อควบคุมคาบสมุทรเกาหลี อำนาจและ ความยิ่งใหญ่ต่างสับเปลี่ยนกันไปมา อาณาจักรชิลลาได้เปรียบเนื้อจากมีชัยภูมิที่ดี ล้อมรอบด้วยภูเขา ต่อมาอาณาจักรชิลลา และ อาณาจักรโครยอได้ รวมกันเป็นพันธมิตรเพื่อปราบกองทัพญี่ปุ่น ช่วง ค.ศ 400 แต่เมื่อโครยอเริ่มมีความทะเยอทะยาน อาณาจักรแพคแจ และ อาณาจักรชิลลา จึงเริ่มหันมาเป็นพันธมิตรกัน ในค.ศ. 433 และ ค.ศ.533
![]() |
แผนที่ของ สามอาณาจักร แพคเจ ชิลลา และ โครยอ |
ชิลลาเจริญรุ่งเรื่องอย่างมาก ในสมัยของะ พระเจ้าจีจึง Jijeung (지증왕) (ค.ศ.500-514) ปรากฏผลผลิตทางการเกเกษตกรที่เพิ่มขึ้นมาจากคันไถที่ใช้วัว และ การสร้างสรรค์ระบบชลประทาน อาณาจักรชิลลาได้รับประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น เหล็ก และ ทองคำ สินค้าและการผลิตของชิลลา รวมไปถึงผ้าไหม เครื่องหนัง เซรามิก และ เครื่องโลหะ อาวุธ ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูและของรัฐ
การต่อสู้ ระหว่าง ชินลา แพคเจ และ โครยอ โดยมีจีนเป็นตัวแปรคือ ราชวงศ์ถัง
ต่อมาความสัมพันธ์ของ อาณาจักรชิลลา และ อาณาจักรแพจเจ ก็มีเริ่มปัญหาเมื่ออาณาจักรชิลลาสามารถครอบครองส่วนหนึ่งของหุบเขาแม่น้ำฮันตอนล่างในปี ค.ศ.554 ในการต่อสู้กับที่ ควาซัน (ปัจจุบัน คือ อ๊กชอน) ชิลลาเอาชนะกองทัพของ อาณาจักรแพคเจของพระเจ้าซง เป็นผลให้อาณาจักรชิลลาสามารถเข้าถึงฝั่งตะวันตก และ ทะเลเหลืองทำให้เชื่อมโยงกับจีนมากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 562 อาณาจักรคายา ก็ได้ถูกรวมเข้ากับอาณาชิลลาทั้งหมด คงเหลือ อาณาจักรแพคเจ และ อาณาจักรโครยอ ที่ยังได้มาไม่สมบุรณ์ ในช่วงปี ค.ศ. 618-907 อาณาจักรชิลลา และ จีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถัง รวมกันเพื่อสู้รบ กับ อาณาจักรแพจเจ และ อาณาจักรโครยอ แต่ไม่ประสบความสำเร็จพ่ายแพ้อาณาจักรโครยอ ในปี ค.ศ.644 ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้ทางการเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การต่อสู้เพื่อแย้งชิงความเป็นหนึ่งของทั้งสามอาณาจักร ปรากฏขึ้นตลอดเวลาโดยมีจีนเป็นตัวสอดแทรกจนกระทั่งในปี ค.ศ.676 อาณาจักรชิลลาก็ถือได้ว่ามีบทบาทเหนือดินแดนทั้งสองอาณาจักรในคาบเกาหลี
การปกครองของอาณาจักรชิลลา และ ระบบชนชั้น
การปกครองของอาณาชิลลานั้น กษัตริย์มีอำนาจไม่เด็ดขาดเนื่องจากถูกคานอำนาจโดยสภาขุนนาง ฮวาแบค ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตัดสินประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ อย่างเช่นเรือง การประกาศสงคราม สังคม และ เศรษฐกิจ
อาณาชิลลาจึงเป็นอาณาจักรที่มีประมุขของอาณาจักรมี ทั้ง บุรุษ และ สตรี ที่เรารู้จักกันดี คือ พระราชินีที่เรารู้จักกันอย่างมาก ปรากฏในซีรีย์ดัง คือ พระราชินีซอนด๊อก ครองราชย์ในปี ค.ศ.632-647 โดยผู้เขียนขอเน้นถึงพระองค์ ทั้งบทบาท ทางการเมือง สังคม และ ศาสนา พระนางถือได้ว่าสร้างความสั่่นคลอนให้แก่ระบบชนชั้นของอาณาจักรชิลลาได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสตรีที่สามารถจะครองราชย์ได้เช่น บุรุษ พระนางเป็นพระธิดา ของพระเจ้าจินพโยอง ค.ศ.579-632) และ พระมเหสีมายา ของอาณาจักรชิลลา เรื่องราวของพระนางได้รับการกล่าวถึงเนื่องจากปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุนั้นคือ หอดูดาวชอมซองแด Cheomseongdae เรื่องราวของพระมางผู้เขียนคิดว่า ควรจะนำมาแบ่งปันเนื่องจากพระนางสร้างสิ่งก่อสร้างที่กลายมาเป็นมรดกโลก ประวัติศาสตร์ และ เรื่องราวของ พระราชินีซอนด๊อกล้วนปรากฏใน ซัมกุก ซากี
ภาพวาดของพระนางซ็อนด๊อก จาก https://en.wikipedia.org/
อันที่จริงแล้วสตรีสามารถปกครองได้หรือไม่นั้น พิสูจน์ได้จากการขึ้นครองราชย์ของพระราชินีซ็อนด๊อกในสมัยที่อาณาจักรชิลลาปรากฏ ระบบกระดูกปรากฏขึ้นในชิลลา สถานะของสตรี ในสายเลือดและระบบชนชั้นทางสังคมของชิลลาที่มีความเข้มแข็ง การที่พระเจ้าจินพยองไม่มีพระโอรส ระบบชนชั้นทางสังคมทั้งหมดได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เพื่ออนุญาตให้สตรีได้ขึ้นปกครองประเทศ สมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองสมัยหนึ่งของชิลลา เรื่องราวของพระองค์ปรากฏใน หนังสือ ซัมกุกซากี และ ซัมกุกยูซา ที่แต่ขึ้นในสมัยโครยอ พระนางมีพระนามเดิมว่า ท๊อกมาน (덕만) ปีเกิดไม่ปรากฎชัดเจน เป็นพระธิดาองค์โตของพระเจ้าจินพย็องแห่งชิลลา กับพระนางมายาแห่งตระกูลคิม เอกสารของ ซัมกุกซากี กล่าวว่าพระนามเดิมของของพระองค์หญิง คือ ท๊อกมานเป็นพระธิดา แต่ในเอกสารของซัมกุกยูซากล่าวว่าพระองค์เป็นพระธิดาคนที่สอง ข้อมูลยังคงขัดแย้งกันอยู่ แต่เราจะขออ้างอิงจาก ซัมกุกซากี พระนางมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ได้แก้องค์หญฺงซ็อนมย็อง (พระนางเป็นพระมารดาของพระเจ้ามูยอลแห่ง กษัตริย์ลำดับที่ 29 แห่งอาณาจักรชิลลา) และ เจ้าหญิงซอนฮวา (อภิเษกพระเจ้ามูแห่งอาณาจักรแพกเจ และเป็นพระมารดาของพระเจ้าอียจาแห่งอาณาจักรแพกเจ) ก่อนจะมาทำความเข้าใจเรื่องระบบชนชั้นอาณาจักรชิลลาเรามาทำความรู้จัก เรื่องราวของ คำว่า กระดูกศักดิ์สิทธิ์
ตามระบบ bone rank system หรือ ระบบกระดูกศักดิ์สิทธิ์ คำว่ากระดูก หรือ ตำแหน่ง หรือ กุลพุม เจโด Golpum (골품제도) มีการพัฒนาจากของอาณาจักรชิลลานั้นเอง ในช่วง ค.ศ.5-6 การกำหนดลำดับชั้นทางพันธุกรรมของบุคคลลำดับชั้นทางพันธุกรรมของบุคคลนั้นบ่งบอกว่าพวกเขามีความเกี่ยวพันกับชนชั้นสูอย่างใกล้ชิดจึงมีสิทธิพิเศษในสังคม
อ้างอิงจาก ซัมกุก ซากี อันดับของกระดูกสูงสุดคือ ชนชั้นซองโกล (성골 Seonggol) บางครั้งเรียกว่ากระดูกสักการะบูชา หรือ กระดูกศักดิ์สิทธิ์ (Hallowed Bone) บางครั้งยังไม่มีการบันทึกอย่างเฉพะเจาะจงถึงความแตกต่างระหว่าง กระดูกศักดิ์สิทธิ์ และ กระดูกแท้จริง แต่ที่ยอมรับคือ กษัตรย์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่ในกลุ่มนี้ ระบบนี่ปิดตัวลงเนืองมากจากการที่พระเจ้าจินพยองไม่มีพระโอรสสืบต่อราชสมบัติ ซึ่ ในขั้นต้นคนที่ได้รับการจัดอันดับของกระดูกศักดิ์สิทธิ์อาจจะกลายเป็นกษัตริย์ และ ราชินีของชิลลาได้ อันดับที่สองคือกระดูกแท้ หรือ จินโกล (진골 Jingol) ซึ่งไม่ได้มีเชื้อสายจากราชวงส์ชิลลาแต่เพียงอย่างเดียว ด้านล่างของแถวหน้าเหล่านี้คือส่วนหัว dumpum ,6,5,4, นายทหารระดับ 6 บุคคลที่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและข้าราชการทหารระดับสูงได้ขณะที่สมาชิกระดับ 4 สามารถเป็นข้าราชการระดับล่างได้เท่านั้น
สิทธิพิเศษเฉพาะของกลุ่มกระดูก ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีความเข้มแข็งอย่างสูง อันดับของกระดูกที่ศักดิ์สิทธิ์มาพร้อมกับสิทธิพิเศษในการครองบัลลังก์ และ แต่งงานกับสมาชิกคนอื่นๆ ตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์ สมาชิกในกลุ่มศาสนาศักดิ์สิทธิ์มาจากครอบครัวของราชวงศ์ คิม ที่ก่อตั้งราชวงศ์ชิลลา
พระเจ้าจินพย็องได้ทำการแต่งตั้งเจ้าหญิงท๊อกมานในฐานะที่ทรงเป็นพระธิดาชองโกลองค์โตสุด ให้ได้ดำรงตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาทเพื่อสืบทอดราชบัลลังค์ชิลลา เนื่องจากองค์หญิงท๊อกมานเพียบพร้อมไปด้วยชาตืฃลิกำเนิดและ พระปรีชาสามารถ รัชสมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรชิลลา พุทธศาสนา นิกายมหายาน ถือได้ว่าเจริญรุ่งเรืองมาก ภารกิจแรกของพระนางคือการให้ความช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ พัฒนาด้านการเกษตร เพื่อช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปดียิ่งขึ้นไป
ในสมัยของพระนางอาณาจักรชิลลาได้ขยายอำนาจเข้ารุกรานอาณาจักรแพคเจในสมัยของพระเจ้ามูแห่งแพกแจ ขุนพลที่ถิอได้ว่ามีความสำคัญในสมัยของราชินีซ็อนด๊อกคือ คิมยูซิน ผู้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรแพกเจ
ในสมัยของพระราชินีซ็อนด๊อก มีการแลกเปลี่ยนการค้ามาอย่างยาวนาน ทั้งยังแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กับจีน ราชสำนักราชวงศ์ถัง มี นักเรียน นักวิชาการชิลลา ได้รับการส่งไปจีนเพื่อทำการศีกษาเล่าเรียน พระราชินีซ็อนด๊อก เสริมสร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อช่วยกันในการต่อสู้กับแพกเจ และ โครยอ แม้การต่อสู้ของอชิลลาได้รับการโจมตีจากโครยอ โดยนายพล ยังมันชุน ในปี ค.ศ.644 การสู้รบไม่ประสบชัยชนะหลายครั้ง
รัชสมัยของพระนางก็ยังมีการสร้างหอดูดาว ซอมซองแด ที่ถือได้ว่า ผู้ที่ไปเยือนคยองจูจะต้องแวะไปที่นั้น ผู้เขียนได้เดินทางไปคยองจู และ ก็ได้พบสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ในสมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาแห่งความสำเร็จทางนโยบายต่างประเทศ เกิดความรุ่งเรื่องทางด้านศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ รัฐเป็นศูนย์รวมทางอำนาจมากขึ้น ศษสนาพุทธได้รับการสนุบสนุนสืบต่อไป ราชินีซ็อนต๊อกทรงดูแลโครงสร้างใหม่อย่างมากมาย โดยเฉพาะวัดในพุทธศาสนาแต่เนื่องจากโบราณสถานของวัดในสมัยนั้นทำมาจากไม้ทำให้ไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานมายังปัจจุบันนี้ แต่คงเหลือเจดีย์ หรือ โครงสร้างบริเวณฐานของวัด และ อาราม นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่พระนางสร้างขึ้นมาในช่วงรัชสมัยของพระนางอีกด้้วยเช่นกัน
หอดูดาว ช็อมซองแด
ดังที่ทราบว่าพระนางได้สร้างหอดูดาว ช็อมซองแด มีความสูง 9 เมตรทำหน้าที่ดังนาฬิกาแดดหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่่งรับแสงของดวงอาทิตย์ บนพื้นภายในของแต่ละช่วงเวลาของกลางวันและการคืนที่เท่ากัน มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความซับซ้อนขนาดใหญ่อันเป็นแนวความคิดตามหลักวิทยาศาตร์ และ ดาราศาสตร์โดยเฉพาะ เป็นหอดูดาวที่ถิอได้ว่าเก่าแก่แห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออก หอดูดาวนี้มีหลักสูตรอิฐ 27 รายการเป็นตัวแทนของราชินีซ็อนด๊อกพระนางคือ กษัตริย์ที่ 27 ของชิลลา และ ยังหมายถึงดวงดาว 27 กลุ่ม
หอดูดาวนี้มีลักษณะ การแบ่งชั้นตรงกลาง ออกเป็น 3 ชั้น เพื่อเป็นช่องหน้าต่างโดยด้านบนและ ด้านล่างของขอบหน้าต่าง แบ่งออกเป็นด้านหน้าละ 12 ชั้น หมายถึงจำนวนเดือน 12 เดือนในรอบหนึ่งปี ลักษณะของสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแถบโวลซ็อง
หอดูดาว ชองซองแด |
วัดฮวังนย็องซา (황룡사) ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นสมบัติของทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศเกาหลี การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.553-569,สมัยพระเจ้าจินฮึงถึงสมัยพระเจ้าจินจี มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุกว่า 40,000 ชิ้น วัดแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก หมายเลข 6 ปี พ.ศ.2506 จาการขุดค้นในเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2512 พบการวางศิลาฤกษ์ขนาดใหญ่ของห่องฟังเทศน์หอประชุมและเจดีย์ การขุดค้นทางโบราณคดี และ การศีกษากว่า 8 ปี ได้เปิดเผยรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์หนึ่งองค์ และ สามห้องโถง แท้จะมีหินฐานรากและโครงสร้างอื่น ๆ แต่ไม่พบร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการออกแบบของวัดทำให้การบูรณะวัดมีความเป็นไปได้ยาก ขนาดของวัดจากการค้นพบทางโบราณคดีมีขนาด 70 เอเคอร์
เปรียบเทียบโครงสร้างที่ยังเหลืออยู่ของ วัดฮวังนย็องซา (황룡사)
กล่าวว่าโครงสร้างหลักทำมาจากไม้ที่สร้างเสร็จใน ค.ศ.7 โครงสร้างมีขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชิลลาในช่วงเวลาหนึ่ง มีเจีดย์ที่เชื่อว่ามีความสูง 68-70 เมตรเป็นไม้ทั้งหมดยกเว้นฐานรากซึ่งครอบคลุม 565 ตารางเมตร มีการสันนิษฐานว่าผู็สร้างเจดีย์ไม้เก้าชั้นคือ พระราชินีซ็อนด๊อก ที่ได้ทำการสร้างส่วนนี้ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญของวัดแห่งนี้โดยสถาปนิกของแพคเจเป็นต้นแบบการสร้างเจดีย์แห่งนี้ เจดีย์สร้างเสร็จปี ค.ศ.645 ถิอได้ว่าเป็นอาคารที่มีความสูงที่สุดของเอเชียตะวันออก กล่าวกันว่า เมื่อครั้งที่เกิด กบฎขึ้นในสมัยของพระราชินีซ็อนด๊อกโดย พีดัม มีการกล่าวอ้างว่า เนื่องมากจากพระนางได้นำเงินจำนวนไม่น้อยไปใช้ในการสร้าง วัดฮวังนย็องซา (황룡사) ทำให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน เป็นหนึ่งในเหตุผลของผู้คิดกบฎใช้สิ่งนี้ในอ้างความชอบธรรม
สุสานชอนมาชอง
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว จุดท่องเที่ยวที่ถือได้ว่าเป็น landmark ของเคียงจู คือ อุทยาน Tamuli ในพื้นที่ประวัติศาสตร์เคียงจู เกิดขึ้นในสมัยของอาณาจักรชิลลา เป็นสถานที่ฝังพระศพของราชวงศ์ และ บุคคลสำคัญ เป็นหลุมฝังศพคู่ ที่ฝังศพของ สามี และ ภรรยาไว้ด้วยกัน ในบริเวณนี้พื้นที่ของสุสานที่ผู้เขียนอยากมาทำความรู้จักคือ สุสานม้าสวรรค์ ที่เรียกว่า ชอนมาชอง (Cheonmachong Tomb) (대릉원(천마총) อยู่ในสุสานแดรึงวอน เป็นสุสานหมายเลข 155 ที่ไ้ด้ทำการขุดค้นในปี ค.ศ.1983 เนินดินมีความสูง 12.7 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เมตร ประกอบไปด้วยชั้นหินที่รวบรวมจากลำธารด้านล่างของชั้นหินเป็นห้องไม้ที่ขนาดยาว 6.6 เมตร และ กว้าง 2.1 เมตร สูง 2.1 เมตร โดยไม่มีโลงศพไม้อยู่ตรงกลาง มีการค้นพบสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมด 11,526 ชิ้น ขึ้นภายใต้หลุมฝังศพรวมทั้ง งานศิลปะที่มีค่ามากเนืองจากถือได้ว่าเป็นงานศิลปะชิ้นแรกของเกาหลีที่ขุดพบจากหลุมศพโบราณ
สุสานชอนมาชอง เคียงจู
สุสาน ชอนมาชอง คือ สุสานหลวงของอาณาจักรชิลลาโบราณในช่วง ค.ศ.5-6 สาเหตุที่เรียกว่า สุสานม้าสวรรค์ เนื่องจากภาพวาดของสัตว์ ม้ากระพือบนแผ่นเปลือกไม้ ถูกพบภายในนั้น สิ่งที่พบภายในนี้นั้น มีทั้งมงกุฎทอง เครื่องประดับทอง ,สายคาดทอง และถ้วยแก้วสีน้ำเงิน สุสานไม่มีจารึกอยู่ข้างในเพื่อระบุว่าใครเป็นเจ้าของ แต่การค้นพบมุงกุฎทองคำทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นกลุมฝังศพของเกษัตริย์ชิลลา
ห้องของสุสานเป็นลายไม้ และ ปกคลุมดัวยเนินหินของชั้นดินเหนียวเพื่อป้องกันน้ำ จากนั้นทั้งหมดจะถูกปกคลุมด้วยชั้นดินโดยไม่ทิ้งจุดเชื่อมต่อ
![]() | |
ภาพวาดม้าบนแผ่นไม้ cr.https://www.ancient.eu | |
อะไร คือ ม้าสวรรค์ ม้าถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญมาอย่างยาวนานในวัฒนธรรมเกาหลีโบราณ วัฒนธรรมของคาบสมุทรม้าถือได้ว่ามีความสำคัญ ดั่งปรากฏหลักฐานของการเครื่องประดับของมัา ม้าเป็นสินค้าที่ใช้ในการส่งออกของเกาหลีมาหลายศตวรรษ ในอดีตที่ผ่านม้า ม้าตัวถูกสังเวยด้วยราชาแห่งหลุมฝังศพนี้ แต่ม้ากระพือบนแผ่นเปลือกไม้ มักจะทำการวาดเป็นรูปม้าขาวปีก ชื่อที่เรารู้จักคือ สุสานม้าสวรรค์ ม้าถูกทาสีเต็มการควบม้ากับแผงคอและหาง นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายรูปจันทร์เสี้ยวที่น่าใจบนร่างกาย ของนักวิชาการบางท่านคนเชื่อมโยงหยกจากซีเรีย มันคือภาพวาดยุคแรกๆสุดของเกาหลีโบราณ ปีกอานม้าอื่นๆ ในสุสาน ได้รับการเก็บรักษาอย่างระมัดระวังหีบไม้ มีการทาสีคล้ายกัน แต่ราวนี้มีทหารม้า และ อีกหนึ่งกับนกฟีนิกซ์
นอกจากนี้สุสานนี้ยังมี มงกุฎทองคำ ที่ค้นพบที่ สุสานม้าสวรรค์ แห่งเมืองเคียงจู อายุใน ค.ศ.6 มีการประดับไปด้วยทองคำ และ หยก สูง 32.5 ซ.ม. สมบัติแห่งชาติหมายเลข 188 ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เคียงจู
![]() |
มงกุฎทองคำ สุสานชอนมาชอง https://www.ancient.eu/uploads/images/5979.jpg?v=1569515854 |
เรื่องราวของเมืองประวัติศาสตร์เคียงจู ยังคงมาสถานที่อีกหลายแห่ง และ แหล่งขุดค้นที่น่าสนใจ สำหรับใครก็ตามที่สนใจเรื่องราวของอาณษจักรชิลลานั้นที่นี้สามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครก็ตามที่ได้เดินทางมาเยี่ยมชม เกาหลีใต้ ในส่วนเรื่องของพระราชินีซ็อนด๊อก กล่าวว่าในสมัยที่พระนางครองราชย์พระนางล้มป่วยในช่วงเวลาเดียวกับกบฎพีดัม เกิดการไม่ยอมรับพระนางในการเป็นสตรีครองราชย์ แต่ กษัตริย์พระองค์ต่อมาคือ สตรีเช่นกัน คือ พระราชินีจินด๊อก กษัตริย์ลำดับที่ 28 ครองราชย์ ปี ค.ศ.647-654 และ ผู้ที่ปราบกบช คือ คิมยูซิน และไม่นานก่อนเรื่องจะถึงจุดปลายจบ
นี้คือเรื่องราวคราวๆ ของ อาณาจักรชิลลา ที่ดำรงเป็นราชอาณาจักรจนถึงปี ค.ศ. 935 ก่อนจะรวมกันกลายเป็นโชซอนในที่สุด จริงๆ ที่เคียงจู ยังมี ซอกกุลรัม , พุลกุกซา , Anapji , หมู่บ้ายวัฒนธรรม คโยชอน หรือ แม้แต่ ซอวอน โรงเรียนโบราณแนว ขงจื้อ เป็นต้น
การเดินทางมาที่เมืองเคียงจู สามารถมาได้ ทั้งทางรถเมล์ และ ทาง KTX ลงที่ เมืองเคียงจู การเที่ยงชมเมือง มีทั้ง ทางรถเมล์ จักรยาน และ เดิน เนืองจากพื้นที่แต่ละแหล่งท่องเที่ยวไม่ไกลจากกันมากนัก
cr.https://www.ancient.eu , wikipedia , https://www.tripadvisor.com , https://www.greelane.com/th,
cr.https://www.ancient.eu , wikipedia , https://www.tripadvisor.com , https://www.greelane.com/th,