วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ราชินีซ็อนด๊อก และ อุทยานสุสานหลวง Tamuli แห่ง อาณาจักรชิลลาแห่งเมือง เคียงจู 경주시

คยองจู หรือ อ่านว่า เคียงจู  ผู้เขียนขอใช้คำว่า เคียงจู เนื่องจากชาวเกาหลีจะอ่านชื่อเมืองนี้ว่า เคียงจู   เคียงจู เป็นเมืองที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองพิพิธภัณฑ์เปิดของเกาหลี  เมืองแห่งนี้เป็นเมืองมรดกทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรชิลลา ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี  ค.ศ.2000  ผู้เขียนได้เดินทางไปเยือนเมืองแห่งนี้ ถึงสองครั้งในปี ค.ศ.2018-2019 ตัวเมืองนี้จะอยู้ไม่ห่างจากเมืองปูซานเท่าไหร่ เมื่อไปปูซาน ก็อย่าพลาดที่จะมาเยือนเมืองความสงบเงียบผสมผสานกับสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และ โบราณสถานของวัฒนธรรมของชินลา
เมืองเคียงจู เป็นเมืองที่มีท่ามกลางหุบเขา เป็นพื้นที่่ทางประวัติศาสตร์อันเต็มไปด้วยมรดกมากมายที่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมชิลลา พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ คยองจู แบ่งออกเป็นห้าพื้นที่ตามลักษณะธรรมชาติ ปรากฏโบราณสถาน และ โบราณวัตถุที่มีองค์ประกอบของพุทธศาสนาจุดเชื่อม วอลซอง อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังแห่งราชวงศ์ชิลลา ต่อไปยังพื้นที่ของสุสานโบราณแห่งชิลลา สุสานหลวงแดรึงวอง  (Daereungwon Tumuli Park) พื้นที่ต่างของเคียงจูถือได้ว่ามีความเชื่อมต่อกันในแต่ละจุด 
แหล่งโบราณสถานหลายแห่งที่ผู้เขียนได้เดินทางไปค้นหาความยิ่งใหญ่ของหนึ่งในสามอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ คือ ชิลลา  แพคเจ และ โครยอ โดย อาณาจักรชิลลา เป็นอาณาจักรที่ปกครองเกาหลีในช่วงระยะเวลาของสามอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ.1 ถึงก่อน ค.ศ.7   มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 29 พระองค์ ปฐมกษัตริย์พระองค์แรก คือ พระเจ้าฮักกเยคอเซ (박혁거세)  ครองราชย์ 57 ปีก่อน ค.ศ.-  ค.ศ.4 และ องค์สุดท้ายคือ พระเจ้ามูยูล ค.ศ.ุ654-661  หลักฐานสำคัญในกาค้นพบและ มีการพูดถึงชิลลานั้นคือ มงกุฎทองคำ จากการขุดค้นสุสานหลวง เกล่าวกันว่าเกิดในสมัยของพระเจ้า นุลจี ( Nulji 눌지 마립간 ค.ศ.417–458) เป็นการสร้างมรดกของมงกุฎจากพ่อไปสู่บุตรชาย  จากพ่อไปยังบตรชาย สิ่งนี้มีการสืบทอดกันมาระหว่างการสืบทอดอำนาจของอาณาจักรซิลลา และ ยังปรากฏหลักฐานให้เราได้เห็นจนเวลานี้ อาณาจักรชิลลาต้องต่อสู้มาตลอดเวลาหลายศตวรรษเคียงข้างมากับ ดินแดนโครยอ แพคเจ และ คายา ทั้งสี่อาณาจักรนี้ต่างต่อสู้เพื่อควบคุมคาบสมุทรเกาหลี อำนาจและ ความยิ่งใหญ่ต่างสับเปลี่ยนกันไปมา  อาณาจักรชิลลาได้เปรียบเนื้อจากมีชัยภูมิที่ดี ล้อมรอบด้วยภูเขา  ต่อมาอาณาจักรชิลลา และ อาณาจักรโครยอได้ รวมกันเป็นพันธมิตรเพื่อปราบกองทัพญี่ปุ่น ช่วง ค.ศ 400 แต่เมื่อโครยอเริ่มมีความทะเยอทะยาน อาณาจักรแพคแจ และ อาณาจักรชิลลา จึงเริ่มหันมาเป็นพันธมิตรกัน ในค.ศ. 433  และ ค.ศ.533

แผนที่ของ สามอาณาจักร แพคเจ ชิลลา และ โครยอ

ชิลลาเจริญรุ่งเรื่องอย่างมาก ในสมัยของะ พระเจ้าจีจึง  Jijeung (지증왕)  (ค.ศ.500-514) ปรากฏผลผลิตทางการเกเกษตกรที่เพิ่มขึ้นมาจากคันไถที่ใช้วัว และ การสร้างสรรค์ระบบชลประทาน อาณาจักรชิลลาได้รับประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น เหล็ก และ ทองคำ  สินค้าและการผลิตของชิลลา รวมไปถึงผ้าไหม เครื่องหนัง เซรามิก และ เครื่องโลหะ อาวุธ ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูและของรัฐ
การต่อสู้ ระหว่าง ชินลา แพคเจ และ โครยอ  โดยมีจีนเป็นตัวแปรคือ ราชวงศ์ถัง


มงกุธทองคำ จากสุสาน ที่ ฮวังนัม เคียงจู  ค.ศ 5-6  มงกุฎทำมาจากแผ่นทองและตกแต่งด้วยม็ดหยก และจี้รูปพระจันทร์เสี้ยว ส่วนที่ตั้งตรงเหมือนต้นไม้ ความสูง 27.3 ซ.ม. สมบัติเแห่งขาติหมายเลขที่ 191 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เคียงจู

ต่อมาความสัมพันธ์ของ อาณาจักรชิลลา และ อาณาจักรแพจเจ ก็มีเริ่มปัญหาเมื่ออาณาจักรชิลลาสามารถครอบครองส่วนหนึ่งของหุบเขาแม่น้ำฮันตอนล่างในปี ค.ศ.554 ในการต่อสู้กับที่ ควาซัน (ปัจจุบัน คือ อ๊กชอน) ชิลลาเอาชนะกองทัพของ อาณาจักรแพคเจของพระเจ้าซง เป็นผลให้อาณาจักรชิลลาสามารถเข้าถึงฝั่งตะวันตก และ ทะเลเหลืองทำให้เชื่อมโยงกับจีนมากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 562 อาณาจักรคายา ก็ได้ถูกรวมเข้ากับอาณาชิลลาทั้งหมด คงเหลือ อาณาจักรแพคเจ และ อาณาจักรโครยอ  ที่ยังได้มาไม่สมบุรณ์ ในช่วงปี ค.ศ. 618-907  อาณาจักรชิลลา และ จีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถัง รวมกันเพื่อสู้รบ กับ อาณาจักรแพจเจ และ อาณาจักรโครยอ แต่ไม่ประสบความสำเร็จพ่ายแพ้อาณาจักรโครยอ ในปี ค.ศ.644 ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้ทางการเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การต่อสู้เพื่อแย้งชิงความเป็นหนึ่งของทั้งสามอาณาจักร ปรากฏขึ้นตลอดเวลาโดยมีจีนเป็นตัวสอดแทรกจนกระทั่งในปี ค.ศ.676 อาณาจักรชิลลาก็ถือได้ว่ามีบทบาทเหนือดินแดนทั้งสองอาณาจักรในคาบเกาหลี

การปกครองของอาณาจักรชิลลา และ ระบบชนชั้น 
การปกครองของอาณาชิลลานั้น กษัตริย์มีอำนาจไม่เด็ดขาดเนื่องจากถูกคานอำนาจโดยสภาขุนนาง ฮวาแบค ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตัดสินประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ อย่างเช่นเรือง การประกาศสงคราม  สังคม และ เศรษฐกิจ
อาณาชิลลาจึงเป็นอาณาจักรที่มีประมุขของอาณาจักรมี ทั้ง บุรุษ และ สตรี  ที่เรารู้จักกันดี คือ พระราชินีที่เรารู้จักกันอย่างมาก ปรากฏในซีรีย์ดัง คือ  พระราชินีซอนด๊อก  ครองราชย์ในปี ค.ศ.632-647 โดยผู้เขียนขอเน้นถึงพระองค์ ทั้งบทบาท ทางการเมือง สังคม และ ศาสนา พระนางถือได้ว่าสร้างความสั่่นคลอนให้แก่ระบบชนชั้นของอาณาจักรชิลลาได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสตรีที่สามารถจะครองราชย์ได้เช่น บุรุษ  พระนางเป็นพระธิดา ของพระเจ้าจินพโยอง ค.ศ.579-632) และ พระมเหสีมายา ของอาณาจักรชิลลา  เรื่องราวของพระนางได้รับการกล่าวถึงเนื่องจากปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุนั้นคือ หอดูดาวชอมซองแด Cheomseongdae เรื่องราวของพระมางผู้เขียนคิดว่า ควรจะนำมาแบ่งปันเนื่องจากพระนางสร้างสิ่งก่อสร้างที่กลายมาเป็นมรดกโลก ประวัติศาสตร์ และ เรื่องราวของ พระราชินีซอนด๊อกล้วนปรากฏใน ซัมกุก ซากี


ภาพวาดของพระนางซ็อนด๊อก จาก https://en.wikipedia.org/

พระนางซอนด๊อกมีพี่สาว คือ องค์หญิงซอนมยอง ซึ่งเรื่องของพระนางมีปรากฏใน ซีรีย์เรื่อง ซอนด๊อก แต่มีองค์หญิงอีกหนึ่งพระองค์แต่ยังไม่มีปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนดังนั้นผู้เขียนจึงไม่สามารถจะเขียนยืนยันข้อมูลนี้ได้ กลับมาที่พระนางซ็อนด๊อก ครองราชย์ปี 15 ปี ค.ศ.ุ632-647   พระนางได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ถัง และพระนางถือได้ว่าเป็นบุคคลที่พัฒนาหลายอย่างให้แก่อาณาจักรชิลลา  ทั้งด้านการเกษตร การดาราศาสตร์ และ ทำนุบำรุงทางพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาหลักในสมัยนั้น   พระนางสืบทอดราชบัลลังค์จากพระบิดา คือ พระเจ้าจินพยอง   เนืองจากพระบิดาของพระนางไม่มีรัชทาทายาทเป็นพระโอรส 
อันที่จริงแล้วสตรีสามารถปกครองได้หรือไม่นั้น พิสูจน์ได้จากการขึ้นครองราชย์ของพระราชินีซ็อนด๊อกในสมัยที่อาณาจักรชิลลาปรากฏ ระบบกระดูกปรากฏขึ้นในชิลลา  สถานะของสตรี ในสายเลือดและระบบชนชั้นทางสังคมของชิลลาที่มีความเข้มแข็ง การที่พระเจ้าจินพยองไม่มีพระโอรส ระบบชนชั้นทางสังคมทั้งหมดได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เพื่ออนุญาตให้สตรีได้ขึ้นปกครองประเทศ สมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองสมัยหนึ่งของชิลลา เรื่องราวของพระองค์ปรากฏใน หนังสือ ซัมกุกซากี และ ซัมกุกยูซา ที่แต่ขึ้นในสมัยโครยอ พระนางมีพระนามเดิมว่า ท๊อกมาน (덕만) ปีเกิดไม่ปรากฎชัดเจน เป็นพระธิดาองค์โตของพระเจ้าจินพย็องแห่งชิลลา กับพระนางมายาแห่งตระกูลคิม เอกสารของ ซัมกุกซากี กล่าวว่าพระนามเดิมของของพระองค์หญิง คือ ท๊อกมานเป็นพระธิดา แต่ในเอกสารของซัมกุกยูซากล่าวว่าพระองค์เป็นพระธิดาคนที่สอง ข้อมูลยังคงขัดแย้งกันอยู่ แต่เราจะขออ้างอิงจาก ซัมกุกซากี พระนางมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ได้แก้องค์หญฺงซ็อนมย็อง (พระนางเป็นพระมารดาของพระเจ้ามูยอลแห่ง กษัตริย์ลำดับที่ 29 แห่งอาณาจักรชิลลา) และ เจ้าหญิงซอนฮวา (อภิเษกพระเจ้ามูแห่งอาณาจักรแพกเจ และเป็นพระมารดาของพระเจ้าอียจาแห่งอาณาจักรแพกเจ) ก่อนจะมาทำความเข้าใจเรื่องระบบชนชั้นอาณาจักรชิลลาเรามาทำความรู้จัก เรื่องราวของ คำว่า กระดูกศักดิ์สิทธิ์ 
ตามระบบ  bone rank system หรือ ระบบกระดูกศักดิ์สิทธิ์   คำว่ากระดูก หรือ ตำแหน่ง หรือ กุลพุม เจโด  Golpum (골품제도) มีการพัฒนาจากของอาณาจักรชิลลานั้นเอง ในช่วง ค.ศ.5-6 การกำหนดลำดับชั้นทางพันธุกรรมของบุคคลลำดับชั้นทางพันธุกรรมของบุคคลนั้นบ่งบอกว่าพวกเขามีความเกี่ยวพันกับชนชั้นสูอย่างใกล้ชิดจึงมีสิทธิพิเศษในสังคม 
อ้างอิงจาก ซัมกุก ซากี อันดับของกระดูกสูงสุดคือ ชนชั้นซองโกล (성골 Seonggol) บางครั้งเรียกว่ากระดูกสักการะบูชา หรือ กระดูกศักดิ์สิทธิ์ (Hallowed Bone) บางครั้งยังไม่มีการบันทึกอย่างเฉพะเจาะจงถึงความแตกต่างระหว่าง กระดูกศักดิ์สิทธิ์  และ กระดูกแท้จริง แต่ที่ยอมรับคือ กษัตรย์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่ในกลุ่มนี้ ระบบนี่ปิดตัวลงเนืองมากจากการที่พระเจ้าจินพยองไม่มีพระโอรสสืบต่อราชสมบัติ ซึ่ ในขั้นต้นคนที่ได้รับการจัดอันดับของกระดูกศักดิ์สิทธิ์อาจจะกลายเป็นกษัตริย์ และ ราชินีของชิลลาได้  อันดับที่สองคือกระดูกแท้ หรือ จินโกล (진골 Jingol)  ซึ่งไม่ได้มีเชื้อสายจากราชวงส์ชิลลาแต่เพียงอย่างเดียว ด้านล่างของแถวหน้าเหล่านี้คือส่วนหัว dumpum ,6,5,4, นายทหารระดับ 6 บุคคลที่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและข้าราชการทหารระดับสูงได้ขณะที่สมาชิกระดับ 4 สามารถเป็นข้าราชการระดับล่างได้เท่านั้น 
สิทธิพิเศษเฉพาะของกลุ่มกระดูก ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีความเข้มแข็งอย่างสูง อันดับของกระดูกที่ศักดิ์สิทธิ์มาพร้อมกับสิทธิพิเศษในการครองบัลลังก์ และ แต่งงานกับสมาชิกคนอื่นๆ ตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์ สมาชิกในกลุ่มศาสนาศักดิ์สิทธิ์มาจากครอบครัวของราชวงศ์ คิม ที่ก่อตั้งราชวงศ์ชิลลา 
พระเจ้าจินพย็องได้ทำการแต่งตั้งเจ้าหญิงท๊อกมานในฐานะที่ทรงเป็นพระธิดาชองโกลองค์โตสุด ให้ได้ดำรงตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาทเพื่อสืบทอดราชบัลลังค์ชิลลา เนื่องจากองค์หญิงท๊อกมานเพียบพร้อมไปด้วยชาตืฃลิกำเนิดและ พระปรีชาสามารถ  รัชสมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรชิลลา พุทธศาสนา นิกายมหายาน ถือได้ว่าเจริญรุ่งเรืองมาก  ภารกิจแรกของพระนางคือการให้ความช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ พัฒนาด้านการเกษตร เพื่อช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปดียิ่งขึ้นไป
ในสมัยของพระนางอาณาจักรชิลลาได้ขยายอำนาจเข้ารุกรานอาณาจักรแพคเจในสมัยของพระเจ้ามูแห่งแพกแจ ขุนพลที่ถิอได้ว่ามีความสำคัญในสมัยของราชินีซ็อนด๊อกคือ คิมยูซิน ผู้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรแพกเจ 
ในสมัยของพระราชินีซ็อนด๊อก มีการแลกเปลี่ยนการค้ามาอย่างยาวนาน ทั้งยังแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กับจีน ราชสำนักราชวงศ์ถัง มี นักเรียน นักวิชาการชิลลา ได้รับการส่งไปจีนเพื่อทำการศีกษาเล่าเรียน พระราชินีซ็อนด๊อก เสริมสร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อช่วยกันในการต่อสู้กับแพกเจ และ โครยอ แม้การต่อสู้ของอชิลลาได้รับการโจมตีจากโครยอ  โดยนายพล ยังมันชุน ในปี ค.ศ.644  การสู้รบไม่ประสบชัยชนะหลายครั้ง
รัชสมัยของพระนางก็ยังมีการสร้างหอดูดาว ซอมซองแด ที่ถือได้ว่า ผู้ที่ไปเยือนคยองจูจะต้องแวะไปที่นั้น ผู้เขียนได้เดินทางไปคยองจู และ ก็ได้พบสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ  ในสมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาแห่งความสำเร็จทางนโยบายต่างประเทศ เกิดความรุ่งเรื่องทางด้านศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ รัฐเป็นศูนย์รวมทางอำนาจมากขึ้น ศษสนาพุทธได้รับการสนุบสนุนสืบต่อไป  ราชินีซ็อนต๊อกทรงดูแลโครงสร้างใหม่อย่างมากมาย โดยเฉพาะวัดในพุทธศาสนาแต่เนื่องจากโบราณสถานของวัดในสมัยนั้นทำมาจากไม้ทำให้ไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานมายังปัจจุบันนี้ แต่คงเหลือเจดีย์ หรือ โครงสร้างบริเวณฐานของวัด และ อาราม นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่พระนางสร้างขึ้นมาในช่วงรัชสมัยของพระนางอีกด้้วยเช่นกัน 
หอดูดาว ช็อมซองแด
ดังที่ทราบว่าพระนางได้สร้างหอดูดาว ช็อมซองแด มีความสูง 9 เมตรทำหน้าที่ดังนาฬิกาแดดหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่่งรับแสงของดวงอาทิตย์ บนพื้นภายในของแต่ละช่วงเวลาของกลางวันและการคืนที่เท่ากัน มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความซับซ้อนขนาดใหญ่อันเป็นแนวความคิดตามหลักวิทยาศาตร์ และ ดาราศาสตร์โดยเฉพาะ  เป็นหอดูดาวที่ถิอได้ว่าเก่าแก่แห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออก หอดูดาวนี้มีหลักสูตรอิฐ 27 รายการเป็นตัวแทนของราชินีซ็อนด๊อกพระนางคือ กษัตริย์ที่ 27 ของชิลลา และ ยังหมายถึงดวงดาว 27 กลุ่ม 
หอดูดาวนี้มีลักษณะ การแบ่งชั้นตรงกลาง ออกเป็น 3 ชั้น เพื่อเป็นช่องหน้าต่างโดยด้านบนและ ด้านล่างของขอบหน้าต่าง แบ่งออกเป็นด้านหน้าละ 12 ชั้น หมายถึงจำนวนเดือน 12 เดือนในรอบหนึ่งปี ลักษณะของสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแถบโวลซ็อง 
หอดูดาว ชองซองแด
 วัดฮวังนย็องซา (황룡사)
วัดฮวังนย็องซา (황룡사) ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นสมบัติของทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศเกาหลี การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.553-569,สมัยพระเจ้าจินฮึงถึงสมัยพระเจ้าจินจี มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุกว่า 40,000 ชิ้น วัดแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก หมายเลข 6 ปี พ.ศ.2506 จาการขุดค้นในเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2512 พบการวางศิลาฤกษ์ขนาดใหญ่ของห่องฟังเทศน์หอประชุมและเจดีย์  การขุดค้นทางโบราณคดี และ  การศีกษากว่า 8 ปี ได้เปิดเผยรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์หนึ่งองค์ และ สามห้องโถง แท้จะมีหินฐานรากและโครงสร้างอื่น ๆ แต่ไม่พบร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการออกแบบของวัดทำให้การบูรณะวัดมีความเป็นไปได้ยาก ขนาดของวัดจากการค้นพบทางโบราณคดีมีขนาด  70 เอเคอร์ 


เปรียบเทียบโครงสร้างที่ยังเหลืออยู่ของ วัดฮวังนย็องซา (황룡사) 

กล่าวว่าโครงสร้างหลักทำมาจากไม้ที่สร้างเสร็จใน ค.ศ.7 โครงสร้างมีขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชิลลาในช่วงเวลาหนึ่ง มีเจีดย์ที่เชื่อว่ามีความสูง 68-70 เมตรเป็นไม้ทั้งหมดยกเว้นฐานรากซึ่งครอบคลุม 565 ตารางเมตร มีการสันนิษฐานว่าผู็สร้างเจดีย์ไม้เก้าชั้นคือ พระราชินีซ็อนด๊อก  ที่ได้ทำการสร้างส่วนนี้ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญของวัดแห่งนี้โดยสถาปนิกของแพคเจเป็นต้นแบบการสร้างเจดีย์แห่งนี้  เจดีย์สร้างเสร็จปี ค.ศ.645  ถิอได้ว่าเป็นอาคารที่มีความสูงที่สุดของเอเชียตะวันออก กล่าวกันว่า เมื่อครั้งที่เกิด กบฎขึ้นในสมัยของพระราชินีซ็อนด๊อกโดย พีดัม มีการกล่าวอ้างว่า เนื่องมากจากพระนางได้นำเงินจำนวนไม่น้อยไปใช้ในการสร้าง  วัดฮวังนย็องซา (황룡사) ทำให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน เป็นหนึ่งในเหตุผลของผู้คิดกบฎใช้สิ่งนี้ในอ้างความชอบธรรม

สุสานชอนมาชอง 
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว จุดท่องเที่ยวที่ถือได้ว่าเป็น landmark ของเคียงจู คือ อุทยาน Tamuli ในพื้นที่ประวัติศาสตร์เคียงจู เกิดขึ้นในสมัยของอาณาจักรชิลลา เป็นสถานที่ฝังพระศพของราชวงศ์ และ บุคคลสำคัญ เป็นหลุมฝังศพคู่ ที่ฝังศพของ สามี และ ภรรยาไว้ด้วยกัน ในบริเวณนี้พื้นที่ของสุสานที่ผู้เขียนอยากมาทำความรู้จักคือ สุสานม้าสวรรค์ ที่เรียกว่า ชอนมาชอง (Cheonmachong Tomb) (대릉원(천마총) อยู่ในสุสานแดรึงวอน เป็นสุสานหมายเลข 155 ที่ไ้ด้ทำการขุดค้นในปี ค.ศ.1983 เนินดินมีความสูง 12.7 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เมตร ประกอบไปด้วยชั้นหินที่รวบรวมจากลำธารด้านล่างของชั้นหินเป็นห้องไม้ที่ขนาดยาว  6.6 เมตร และ กว้าง 2.1 เมตร สูง 2.1 เมตร โดยไม่มีโลงศพไม้อยู่ตรงกลาง มีการค้นพบสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมด 11,526 ชิ้น ขึ้นภายใต้หลุมฝังศพรวมทั้ง งานศิลปะที่มีค่ามากเนืองจากถือได้ว่าเป็นงานศิลปะชิ้นแรกของเกาหลีที่ขุดพบจากหลุมศพโบราณ   


สุสานชอนมาชอง เคียงจู 

สุสาน ชอนมาชอง  คือ สุสานหลวงของอาณาจักรชิลลาโบราณในช่วง ค.ศ.5-6  สาเหตุที่เรียกว่า สุสานม้าสวรรค์ เนื่องจากภาพวาดของสัตว์ ม้ากระพือบนแผ่นเปลือกไม้ ถูกพบภายในนั้น  สิ่งที่พบภายในนี้นั้น มีทั้งมงกุฎทอง เครื่องประดับทอง ,สายคาดทอง และถ้วยแก้วสีน้ำเงิน สุสานไม่มีจารึกอยู่ข้างในเพื่อระบุว่าใครเป็นเจ้าของ แต่การค้นพบมุงกุฎทองคำทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นกลุมฝังศพของเกษัตริย์ชิลลา

ห้องของสุสานเป็นลายไม้ และ ปกคลุมดัวยเนินหินของชั้นดินเหนียวเพื่อป้องกันน้ำ จากนั้นทั้งหมดจะถูกปกคลุมด้วยชั้นดินโดยไม่ทิ้งจุดเชื่อมต่อ


ภาพวาดม้าบนแผ่นไม้
 cr.https://www.ancient.eu

  


อะไร คือ ม้าสวรรค์  ม้าถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญมาอย่างยาวนานในวัฒนธรรมเกาหลีโบราณ วัฒนธรรมของคาบสมุทรม้าถือได้ว่ามีความสำคัญ ดั่งปรากฏหลักฐานของการเครื่องประดับของมัา ม้าเป็นสินค้าที่ใช้ในการส่งออกของเกาหลีมาหลายศตวรรษ ในอดีตที่ผ่านม้า ม้าตัวถูกสังเวยด้วยราชาแห่งหลุมฝังศพนี้ แต่ม้ากระพือบนแผ่นเปลือกไม้ มักจะทำการวาดเป็นรูปม้าขาวปีก ชื่อที่เรารู้จักคือ สุสานม้าสวรรค์ ม้าถูกทาสีเต็มการควบม้ากับแผงคอและหาง นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายรูปจันทร์เสี้ยวที่น่าใจบนร่างกาย ของนักวิชาการบางท่านคนเชื่อมโยงหยกจากซีเรีย มันคือภาพวาดยุคแรกๆสุดของเกาหลีโบราณ ปีกอานม้าอื่นๆ ในสุสาน ได้รับการเก็บรักษาอย่างระมัดระวังหีบไม้ มีการทาสีคล้ายกัน แต่ราวนี้มีทหารม้า และ อีกหนึ่งกับนกฟีนิกซ์
นอกจากนี้สุสานนี้ยังมี มงกุฎทองคำ ที่ค้นพบที่ สุสานม้าสวรรค์   แห่งเมืองเคียงจู อายุใน ค.ศ.6 มีการประดับไปด้วยทองคำ และ หยก สูง 32.5 ซ.ม. สมบัติแห่งชาติหมายเลข 188 ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เคียงจู 


มงกุฎทองคำ สุสานชอนมาชอง
https://www.ancient.eu/uploads/images/5979.jpg?v=1569515854


เรื่องราวของเมืองประวัติศาสตร์เคียงจู ยังคงมาสถานที่อีกหลายแห่ง และ แหล่งขุดค้นที่น่าสนใจ สำหรับใครก็ตามที่สนใจเรื่องราวของอาณษจักรชิลลานั้นที่นี้สามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครก็ตามที่ได้เดินทางมาเยี่ยมชม เกาหลีใต้ ในส่วนเรื่องของพระราชินีซ็อนด๊อก กล่าวว่าในสมัยที่พระนางครองราชย์พระนางล้มป่วยในช่วงเวลาเดียวกับกบฎพีดัม เกิดการไม่ยอมรับพระนางในการเป็นสตรีครองราชย์ แต่ กษัตริย์พระองค์ต่อมาคือ สตรีเช่นกัน คือ พระราชินีจินด๊อก กษัตริย์ลำดับที่ 28 ครองราชย์ ปี ค.ศ.647-654 และ ผู้ที่ปราบกบช คือ คิมยูซิน และไม่นานก่อนเรื่องจะถึงจุดปลายจบ 
นี้คือเรื่องราวคราวๆ ของ อาณาจักรชิลลา ที่ดำรงเป็นราชอาณาจักรจนถึงปี ค.ศ. 935 ก่อนจะรวมกันกลายเป็นโชซอนในที่สุด จริงๆ ที่เคียงจู ยังมี ซอกกุลรัม , พุลกุกซา , Anapji , หมู่บ้ายวัฒนธรรม คโยชอน หรือ แม้แต่ ซอวอน โรงเรียนโบราณแนว ขงจื้อ  เป็นต้น
การเดินทางมาที่เมืองเคียงจู สามารถมาได้ ทั้งทางรถเมล์ และ ทาง KTX  ลงที่ เมืองเคียงจู การเที่ยงชมเมือง มีทั้ง ทางรถเมล์ จักรยาน และ เดิน เนืองจากพื้นที่แต่ละแหล่งท่องเที่ยวไม่ไกลจากกันมากนัก 
cr.https://www.ancient.eu , wikipedia , https://www.tripadvisor.com , https://www.greelane.com/th,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น