วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จองยักยอง 정약용 ปราชญ์นักคิดผู้มีแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ ขุนนางคู่พระทัยพระเจ้าจองโจ

เมื่อเรากล่าวถึงพระเจ้าจองโจ หรือ องค์ชายลีซาน แห่งโชซอนขุนนางที่รับใช้ถวายงานให้พระองค์ที่เรารู้จักอย่างมากนั้นคือ ฮงกุกยอง แต่ มีอีกหนึ่งท่านที่ถ้าใครชื่นชอบการดูละครเกาลี เรื่อง ลีซาน หรือ ซอนคยุนกวาน บัณฑิตหน้าใสหัวใจว้าวุ่น ก็จะต้องเคยได้ยินชื่ออาจารย์จองยัคยอง หรือ ท่านจองยัคยอง กันมาบ้าง



 บุุคลท่านนี้ถือว่ามีตัวตนจริงในโชซอน รับราชการในสมัยพระเจ้าจองโจ เขาคือนักวิชาผู้มีความคิดแนวสมัยใหม่ แหวกแนวป็นทั้งนักคิด นักประดิษฐ์ และ ผู้มีความรู้ทางด้านการก่อสร้างในสมัยพระเจ้าจองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งโชซอน ซึ่งเป็นสมัยแห่งการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ของโชซอนเลยที่เดียวก่อนหน้านั้น โชซอน ได้รับสมญานามว่า ดินแดนแห่งฤาษี เนื่องจากการปิดประเทศและไม่ต้อนรับต่างชาติใด ๆ ยกเว้นจีน การกระจายศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคที่เข้ามาในสมัยพระเจ้าจองโจได้นำความรู้และ เทคโนโลยีแบบตะวันตกเข้ามาด้วยโดยผ่านทางจีน และนี้คือ จุดที่นำปัญหามาสู่ จองยัคยองในช่วงหลังการสวรรคตของพระเจ้าจองโจ
จองยัคยอง เป็น นักวิชาการที่สำคัญในสมัยพระเจ้าจองโจ ใครจะรู้ว่าเขาคือ บัณฑิตที่ไม่เคยสอบผ่านจองหงวนเลยเพราะความคิดแปลกประหลาดของเขา ถ้าใครได้ไปซูวอน ป้อมฮวาซอน คุณจะดูรู้สิ่งที่สำคัญของเทคโนโลยีการสร้างป้อมฮวาซองของจองยัคยองเขา มีส่วนสำตัญในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสร้างป้อมแห่งนี้ภายหลังที่ได้รับมอบมายจากพระเจ้าจองโจ แต่น่าเศร้าที่เขากลับไม่เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าซุนโจกษัตรย์ผู้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาคือพระเจ้าจองโจ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่อยู่ในเงาของพระอัยยิกาคิม อดีตพระมเหสีของพระเจ้ายองโจเนื่องจากพระองค์ครองราชย์ตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากการสวรรคตอย่างกระทันหันของพระเจ้าจองโจในปี พ.ศ.2343  และ พระราชินีซุนวอน หญิงผู้อำนาจเหนือพระสวามีคือพระเจ้าซุนโจ ผู้ที่ทำให้ตระกูลคิมแห่งอันดงยิ่งใหญ่ในราชสำนักหลังการสวรรคตของพระอัยยิกาคิม ชีวิตของจองยัคยอนต้องถูกเนรเทศออกจากเมืองฮันยานเป็นเวลานานแสนนาน ต้องสูญเสียบุคคลในครอบครัวจากเหตุการณ์ปราบปรามสังหารหมูชาวคริสต์ปีชุนยู เนื่องจากคนในครอบครัวของเขาถือว่าเป็นบุคคลสำคัญสำหรับการก่อตั้งชุมชนชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกนั้นคือ พี่ชายคนโตของเขา  และ   จองยัตยองโดยหางเลขด้วยในกรณีนี้ เนืองจากเชื่อว่าเขาอาจจะรู้เห็นเรื่องการเผยแพร่ศาสนาที่ในเวลานั้นราชสำนักมองว่าคือ แนวคิดที่อันตรายแห่งราชสำนัก


เรามาทำความรู้จักกับ ท่านจองยัคยอง กันดีกว่านะคะ ชื่อของท่านคือ จองยัคยอง (정약용) พ.ศ.2305-2379 เป็นนักปราชญ์ ชิลฮัก และ ขุนนางฝ่ายโซรน (สายก้าวหน้า) ที่ต่อสู้กับขุนนางฝ่ายโนรน (สายอนุรักษ์นิยม) ในสมัยพระเจ้าจองโจ เพราะเขามีความคิดที่แปลกและแหวกทำให้เขาไม่เคยสอบจองหงวนผ่าน จนในสมัยพระเจ้าจองโ เขากลับสามารถที่จะสอบเข้าไปด้วยคะแนนที่สูงที่สุดและกลายเป็นขุนนางที่พระเจ้าจองโจทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก จองยัคยองนั้นเป็นนักคิดนักเขียน มีนามปากกาว่า ดาซัน ถ้าคุณไปเกาหลี ชื่อดาซันจะเป็นชื่อที่หลายคนรู้จักเนืองจากปรากฏทั้งงานเขียน บ้านพักของท่าน เขาเป็นบุุคคลที่มีงานเขียนที่ทรงอิทธิผลอย่างมากในด้านหลักปรัชญา วิทยาศาสตร์ และ ทกษฎีการเมืองการปกครอง เมื่อเข้ารับราชการได้รับตำแหน่งที่มีความสำคัญๆ เพื่อช่วยพัฒนาบ้านเมืองตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจองโจ มีประเด็นที่น่าสนใจเนื่อง กวีคาทอลิกชาวเกาหลีได้มีการอ้างว่า จองยัคยอง ได้ทำพิธีล้างบาปด้วยชื่อ จอหน์ แบ็พทิสต์ John Baptist แต่คำกล่าวนี้ไม่มีหลักฐานใดๆ
ประวัติชีวิตและครอบครัว
บิดาของจองยัคยอง มีนามว่า จองแจวอน พ.ศ.2273–2335 พี่ชายคนโตของเขา คือ จองยัคฮยอน พ.ศ.2294–2364  อันเกิดจากภรรยาคนแรกของเขา ขณะที่จองยัคจุง, จองยัคจอน และ จองยัคยอง เป็นบุตรชายที่เกิดจากภรรยาคนที่สอง นอกจากนี้บิดาของจองยัคยองยังมีบุตรสาวอีกสี่คนอันเกิดจากการแต่งงานครั้งที่สอง และ ครั้งที่สาม ในวัยเด็ก จองยัคยองเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดอันเชื่อว่าส่งต่อทอดมาจากบรรพบุรุษของเขานักวิชากาารยิ่งใหญ่ จองซิฮัน  ครอบครัวของจองยัคยองใช้ จองโดเจ เป็นสื่อการสอนของคนรุ่นใหม่ของครอบครัว พวกเขาส่งสิ่งนี้ให้แกบิดาของจองยักยองสิ่งนี้ก็ส่งผ่านมายังเขา
ในส่วนมากดาของ จองยัคยอง นั้นนางมาจากครอบครัวขุนนางฝ่ายใต้ที่มีชื่อเสียงทางด้านกวีโกซัน นามยุนซันโด ถือได้ว่าเขาเกิดมาในชนชั้นที่ดีของเกาหลีนั้นคือ ยังบัน
ในช่วงแรกๆ ของชีวิต เมื่ออายุไดั 6 ปี พ่อของจองยัคยองรู้สึกประทับใจในความเป็นคนช่างสังเกตของเขา เมื่ออายุ 9 ปี เขาก็ได้แต่กวีบทเล็ก ๆ ในปี พ.ศ.2319  จองยัคยองแต่งงานกับ ฮงอวาโบ ตะกูลฮงแห่งพุงซาน บุตรีของท่านราชเลขา ในปีนั้นเขาได้ย้ายมาที่ฮันยางสถานที่บิดาของเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจัดเก็บภาษีหลังจากการครองราชย์ของพระเจ้าจองโจ เมื่ออายุ 15 ปี จองยัคยองได้รับการแนะนำให้รู้จักงานเขียนของ อีอิก นักวิชาการหัวก้าวหน้าฝ่ายโซรน ในสมัยพระเจ้าซุกจงจนถึงสมัยพระเจ้ายองโจ  ทำให้เขารู้สึกประทับใจอย่างมาก จึงตัดสินใจในการอุทิศชีวิตของเขา เพิ่อศีกษางานคล้ายกัน ในปี พ.ศ.2326 เขาสอบผ่านและได้รับอนุญาตเข้าสู่มหาวิทยาลัยซองคยุนกวาน (สถาบันขงจื้อนานาชาติ)
จุดสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่่ยนแปลงอย่างมากและกระทบถึงชีวิตของเขาอย่างมากคือ การที่เขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับศริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิคันเนื่องมาจากความสนใจวัฒนธรรมตะวันตกมีการกล่าวอ้างหลากหลายว่าเขาหันไปนับถือศาสนาใหม่นี้เหมือนพี่น้องของเขาแต่เป็นแค่ข้อกล่าวอ้างภายหลังจากที่เขาไม่เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าซุนโจเนืองมาจากความคิดก้าวหน้าและ เรื่องศานาใหม่ที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมมองว่าเป็นอันตรายต่อราชสำนักจนเกิดการปราบปรามขึ้นอย่างรุนแรง คือการสังหารหมู่ชาวคริสต์ปีชินยู ซึ่งผู้เขียนจะขอกล่าวในภายหลังช่วงเวลาแห่งการเนเทศที่แสนยาวนานของ จองยัคยอง
ดั่งที่ทราบว่า จองยัคยองสอบผ่านจองโหงนในสมัยพระเจ้าจองโจ กล่าวว่าพระเจ้าจองโจมีความประทับใจในการตอบคำถามของจองยัคยองเป็นอย่างมาก อันเป็นคำถามที่เเกี่ยวข้องกับความเที่ยงธรรมของจองยัคยอง  มันคือจุดเริ่มต้นของความใกล้ชิดระหว่าง จองยัคยองกับพระเจ้าจองโจ หลังจากการเข้ารับตำแหน่งของ จองยัคยอง ได้คะแนนจากติดอันดับสูงสุดในแดกวา  และได้รับตำแหน่งสำนักพระราชกฤษฎีกาพร้อมกับสมาชิกคนอื่นอีก 5 คนของทางฝ่ายใต้อันเป็นสมาชิกฝ่านตรงข้ามกับโนรน ในสมัยชองพระเจ้าจองโจเป็นยุครุ่งเรื่องของฝ่ายโซรนแต่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของโนรน ในช่วงเวลาของพระเจ้าจองโจอิทธิพลของตะวันตกเข้ามายังโชซอนผ่านจีนรวมทั้งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกจนกลายเป็นโศกนาฎกรรมภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าจองโจไปแล้ว การเมืองของโชซอนไม่มีอะไรแน่นอนขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นฝ่ายไหนรุ่งเรืองมีอำนาจเนื่องจากได้รับการสนัยสนุนจากกษัตริย์
ผลงานของ จองยัคยอง ปรากฏมากมาย ทั้งขณะที่เขาทำงานถวายพระเจ้าจองโจ หรือ แม้แต่ฝ่ายหลังจากการถูกเนรเทศในสมัยของพระเจ้าซุนโจ ความเชียวชาญทางด้านวิศวกรรมโยธาของเขาก็เป็นที่ประจักษ์ทั้งการสร้างสะพาน เขาได้ใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์มาใช้ในการสร้างสิ่งประดิษย์เพื่อสนองงานที่ได้รับจากพระเจ้าจองโจ สะพานเรือคือตัวอย่างที่ได้ทำการออกแบบโดยให้เรือหลายสิบลำจอดเรียงติดกันในแนวขวาง ยาวประมาณ 340 เมตร กว้าง 7.2 เมตร ในปี  พ.ศ. 2335  จองยัคยองมีความสนใจงานด้านวิศวกรรมโยธา เขาได้สร้างสะพานลอยน้ำที่เขาออกแบบตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจองโจ และ ยังได้ทำการควบคุมการก่อสร้างป้อมฮวาซองที่ล้อมรอบพระราชวัง  จองยัคยอง สร้างสรรคเทคนิค และโครงการใหม่ ๆ โดยอาศัยแหล่งข้อมูลความรู้จากชาติตะวันตกผ่านจีน เขามีบทบาทและได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยกับพระเจ้าจองโจจนได้เลื่อนตำแหน่งเพื่อเดินทางไปเมืองคยองกิในการสอบสวนรายงานการทุจริต
และ การสร้างป้อมฮวาซองกล่าวกันว่า เขาได้รับเลือกให้ออกแบบป้อมฮวาซองในซูวอน โดยเขาได้สร้างปั่นจั่นเพื่อใช้ในการก่อสร้างป้อมฮวาซองที่มีความยาวโดยรอบ 5.741 กิโลเมตร สูง 4-6 เมตร ปั้นจั่นนี้ใช้ยกหินที่มีหนักขึ้นด้วยแรงที่น้อย โดยการม้วนเชือกด้วยเครื่องปั่นด้ายที่มีรอกเดี๋ยวตายตัว 4 ตัวที่อยู่ด้านบน รอกเดียวเคลื่อนที่ 4 ตัวที่ด้านล่าง และ รอกขนาดใหญ่เชื่อมอยู่ทางด้านซ้ายขวาการนำเครื่องทอที่มีประสิทธิภาพมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมและยังช่วยลดการก่อสร้างลงได้จากที่คิดว่าจะนานเป็น 10 ปี แต่ใช้เวลา 2 ปี 4 เดือนจึงแล้วเสร็จ
บทบาทที่ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อจองยัคยอง ในปี  พ.ศ.2338 ตือ การสนับสนุนพระเจ้าจองโจในการถวายพระอิศริยศแด่องค์รัชทายาทซาโด เรื่องนี้เกิดความขัดแย้งมากมายในฝ่ายโนรน การสวรรคตขององค์รัชทายาทซาโด ทำให้ขุนางฝ่ายโนรนรู้สึกไม่สบายใจทุกครั้งที่พระเจ้าจองโจพยามยามจะทำอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับพระบิดาของพระองค์ เพราะฝ่ายโนรนถือว่ามีส่วนเช่นการในการสวรรคตขององค์รัชทายาทซาโด เนืองจากสมัยพระเจ้ายองโจพวกเขาล้วนมีอำนาจและเกิดการขัดแย้งต่อกับองคชายลีซานในสมัยเป็นองค์รัชทายาทต่อจากพระบิดา เมื่อพระเจ้าจองโจต้องการต้องการถวายพรเเกรียติของพระราชบิดาก็เกิดปัญหาแต่ จองยัคยอง ยังคงสนับสนุนการแสดงความกตัญญูของพระองค์ต่อพระบิดา พระเจ้าจองโจวางพระทัยในจองยัคยองมาก มักจะส่งเขาไปที่ต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบการทุจริต และคอยปกป้องเขาจากพวกอนุรักษ์นิยมโดยการให้ย้ายออกนอกฮันยางไปทำที่ต่าง ๆ ป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้น
ความสามารถและการเป็นคนโปรดของพระเจ้าจองโจของเขาทำให้เขาถูกขจับตามองจากฝ่ายโนรนโดยเฉพาะการเกี่ยวพันกับนิกายโรมันคาทอลิค แต่จองยัคยองยังปฎิเสธความเกี่ยวข้อง อาจจะเป็นเพราะพี่ชายคนโตของเขาเป็นหัวหน้าของชุมชนนิกายโรมันคาทอลิคทำให้เขาเหมือนติดร่างแหไปด้วยเมื่อพระเจ้าจองโตสวรรคตอย่างกระทันหันมันส่งผลต่อ จองยัคยองเป็นอย่างมาก เขาถูกเนรเทศ และไม่เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าซุนโจ เกิดการพลัดใบในราชสำนักขุนนางฝ่ายโนรนกลับมามีอำนาจท่ามกลางการสำเร็จราชการของอัยกาคิม เนืองจากพระเจ้าซุนโจครองราชย์เมื่อพระชรรษาน้อย ในปี  พ.ศ.2343
ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าจองโจ พระอัยกาคิมเปิดตัวด้วยการกวาดล้างฝ่ายโรมันคาทอลิค พี่ชายของจองยัคยอง นามจองยัคจอง ป็นคนแรกที่ถูกจับกุม และ ถุกประหารชีวิตพร้อง ลีซองฮัน ในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ.2344 และบุตรชายของจองยัคจองก็เสียชีวิตหนึ่งเดือนหลังจากการตายของบิดา เนื่องจากเขาเป็นน้องชายของจองยัคจองทำให้เขาถูกส่งตัวเป็นเฉลยอยู่หลายเดือนที่ป้อมปราการจังกิถูกสอบสวนถูกทรมาน และ ต่อมาเขาใช้เวลาที่ยาวนานในกังจินถึง 18 ปี ในปี พ.ศ.2344 จองยัคยอง เดินทางมาที่คังจิน จอนลาใต้ ชายผู้พลักถิ่นมาที่นี้ด้วยความเงียบ เงินเพียงเล็กน้อย ไม่มีเพื่อน เขาได้ค้นพบสถานที่ซ่อนตัวหลังโรงเตี๋ยม เขาอาศัยอยู่ที่นั้นถึง 4 ปี และ จองยัคยองเรียกห้องนั้นว่า  ซาอียแจ Sauijae 사의재  หมายถึงบ้านแห่งความซื่อตรงความคิด , ภาพ ลักษณ์ , คำ และ พฤติกรรม เมื่ออยู่ที่นี้เขาได้เขียนงานของเขา Gyungseyopyo, Aejulyong ชื่อหนังสือ
ซาอียแจ Sauijae 사의재
ในปี พ.ศ.2348 เกิดการเปลี่ยนแปลงภายหลังการสวรรคตของพระอัยยิกาคิม พระเจ้าซุนโจทรงยุติความรุนแรงต่อชาวคาทอลิค คน 300 คนถูกฆ่าตายจำนวนมากถูกเนรเทศกระจัดกระจาย จองยัคยองได้รับอิสระในการที่เขาจะเดินทางไปไหนมาไหนก็ได้ในพื้นที่ของคังจิน ในปีนั้นเขาจึงเดินทางไปในหุบเขาอันห่างได้ ยังวัด แบครยอนซา 백련사 สถานที่ที่เขาได้พบกับ ฮเยจัง พระผู้ดูแลวิหารซึ่งอายุอ่อนกว่าเขาสิบปีได้ พวกเขาพูดคุยกันและกลายเป็นเพื่อนสนิทกันในเวลาอันรวดเร็ว 
วัด แบครยอนซา 백련사

ในปีเดียว จองยัคยองย้ายไปพักบ้านพักที่เป็นญาติห่างๆ ของมารดาบนเนินเขาที่สามารถมองเห็นเมืองคังจิน บ้านเรียบ ๆ หลังคามุงจากเขาใช้เวลาที่ยาวนานหลายสิบปีในสถานที่พักแห่งนี้  นี้คือสถานที่เกันดีในเวลานี้ ดาซันชองดัง ที่กลายเป็นสถานที่มีชื่อเสียงที่หลายคนต้องไปเยื่อนบ้านของนักปราชญ์ดาซัน ที่ถุกเนรเทศ จองยัคยองได้กลับเข้ามาสู่แวดวงทางการศึกษาในการสอนหนังสือให้กับนักเรียนที่พักอาศัยอยู่บริเวณนั้น เขเขาสร้างชุมชนที่มีความแน่นแฟ้นมากขึ้น 

ดาซัน โชดัง Dasan Chodang

ในช่วงเวลาแห่งการเนรเทศนั้น จองยัคยอง ได้สร้างงานเขียนมากกว่า 500 ชุด งานเขียนจำนวนมากกว่า  14,000 หน้า งานของเขาเขียนขึ้นเพื่อกำหนดรากฐานของการปฎิรูปแผนงานอย่างชัดเจนเพื่อการปกครองประเทศอย่างถูกต้องตามหลักของขงจื้อ งานเขียนของเขามีหลายๆ ด้านทั้งการเมือง จริยธรรม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ การแพทย์ และ ดนตรี งานของเขาได้มีการถูกตีพิมพ์
นอกจากงานเขียนแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ความสามารถด้าน ชา ของจองยัคยอง เมื่องเขาถูกเนรเทศอยู่ในคังจิน  ดังที่กล่าวว่า จองยัคยอง ได้รู้จักและสนิทสนมกับ ฮเยจัง การที่เขาได้ดำรงชีวิตในห้องเล็ก ๆ ด้วยเงินเพียงน้อยนิดทำให้สุขภาพของเขาย่ำแย่ลงอยากมากเนืองด้วยคุณภาพโภชนาการอาหารต่ำ เขาประสบปัญหาทางด้านทางเดินอาหารเรื้อรังความรู้เรื่องชาของเขาอาจจะเกิดขึ้นเพื่อรักษาอาการป่วยของเขาที่เกิดสภาวะของทางเดินอาหารของเขาก็เป็นได้  หลักฐานทางด้านความรู้ทางด้านชาของจองยัคยอง ปรากฏจากการที่เขาได้มอบกฏบทกวีที่ได้ให้กับ ฮเยจัง บทกวีนี้แสดงให้เห็นข้อความอันแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางด้านยาของชาของเขา มันบกบอกให้รู้ว่าเขารู้วิธีในการเตรียมใบสำหรับดื่มชาอย่างไร บ้างอ้างว่าเขาได้ความรู้ทางด้านชาจากฮเยจัง ความรู้ทางด้านชาของจองยัคยองถ่ายทอดไปยังพระรูปอื่นด้วยเช่นกัน สิ่งที่น่าสนใจคือความรู้เรื่องชาของเขาปรากฏหลักฐานผ่านงานกวีของเขาเช่นกัน
ความเป็นนักคิดของจองยัคยองทำให้ปรากฏออกมาผ่านงานเขียน เขาเป็นนักวิชาการหัวก้าวหน้าชอบเรียนรู้และศึกษาในสิ่งใหม่ ๆ งานรวบรวมขงจื้อแนวใหม่ของโชซอนตอนกลาง ความสามารถทางด้านงานเขียนของเขาเป็นที่ประจักษ์มายังเวลานี้ คืองานเขียนเรื่อง มุคมินซิมซอ 목민심서 ชื่อ จิตใจแห่งการปกครอง ความลึกซึ่งทางด้านความคิดและงานเขียนของเขาลึกซึ้งในประเด็นของความยากจน และ ตั้งคำถามเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืงง เขาเชื่อว่าราชสำนัก และ ขุนนาง ควรจะมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน จองยัคยองเน้นความสำคัญของผู้บริหารประชาชนด้วยความซื่อสัตย์และ มีคุณธรรม เนื่องจากพวกเขาล้วนมีหน้าที่ในการดูแล และ ช่วยเหลือประชาชน  ดังที่ทราบว่าเขาคือ ชินฮักที่ จองยัคยองได้เป็นหนึ่งในกลุ่มของพวกเขา มี านปฎิรูปที่ดินคือประเด็นที่สำคัญ  เขาเสนอระบบการปฎิรูปที่ดินของหมู่บ้าน แทนที่เจ้าของที่ดินเป็นของส่วนกลาง เและ ยังเสนอให้เป็นระบบที่ดินของหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านถือครองที่ดินรวมกัน และ ทำไร่ไถนาที่ดินโดยรวมในขณะที่ผลผลิตของที่ดินจะถูกนำมาแบ่งตามจำนวนแรงงานที่มีส่วนรวม
นี้คือ เรื่องราวของท่าน องยัคยอง หรือ นามปากกา ดาซัน  อาจจะยาวไปหน่อยนะค่ะแต่คนที่ไปเกาหลี และ สนใจประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญเราก็สามารถตามรอยสิ่งที่ยังปรากฏหลักฐานในเรื่องราวของท่าน จองยัคยอง ที่เราจะเดินทางไป ล้วนอยู่ที่เมืองคังจิน นะค่ะ
ถ้าคุณต้องการมาตามรอย นักวิชาการหัวก้าวหน้า นักวิชาการคู่พระทัยพระเจ้าจองโจ หรือ องค์ชายลีซาน ก็มาที่นี้ได้นำค่ะ เมือง คังจิน
- ดาซัง โชดัง  (다산초당) บ้านที่ จองยัคยอง อยู่ในขณะที่เขาเนรเทศออกจากฮันยาง สถานที่เขาใช้เวลากว่าสิบปี สถานที่สร้่างงานเขียนมากกว่า 500 ชุด ที่มีความหลายหลายของงานเขียนในหลาย ๆ ด้าน ภายหลังจากการถูกเนรเทศกว่า 18 ปี เขาเรียนรู้เชิงฎิบัติแบบชินฮัค  บริเวณดาซัน โชดัง 

ศาลา ชอนอิลกัค cr.Shutterstock.com

ดาซัน โซดัง
ดาซัน โซดัง cr.Tripvisor
เมื่อเดินไปใกล้ก็จะพบกับศาลา ชอนอิลกัค อันมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของอ่าวคังอิน  ลักษณะของ ดาซัน โชดัง เป็นลักษณะของบ้านฮันอกแบบดั้งเดิม ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนที่มีต้นไม่ร่มรื่น ภายในจะมีเรื่องราวชีวะประวัติจองยัคยอง
- ดาซัน ยูมุลจอนซิควาน (다산유물전시관) พิพิทธภัณฑ์  ดาซัน อยู่ห่าง ดาซันโซดัง 800 เมตร เป็นที่จัดแสดงเรื่องราวตามลำดับเหตุของเขา , ต้นไม้ของครอบครัว, เสื้อคลุมของนักวิชาการ , ความสำเร็จและของที่ระลึก อันทำให้เราเข้าใจชีวิตของเขามากยิ่งขึ้น
- วัดแบครยอนซา  วัดที่ จองยัคยอง เคยได้เดินทางไปจนพบกับ ฮเยจัง ในคังจิน มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 300 ปี
- ซาอึยแจ (사의재)  สถานที่ที่ จองยัคยอง ใช้ชีวิตอยู่ถึง 4 ปี ในห้องเล็ก ๆ ด้วยเงินไม่มาก สถานที่แห่งนี้เขาได้สร้างงานเขียน  คือ
Gyungseyopyo, Aejulyong 

นอกจากบทกวีของจองยัคยอง หลักฐานที่เคยมีปรากฏในการแสดงที่พิธภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี ที่ได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติฉลองครบรอบ 250 ปี ผ่านนามปากกา ดาซัน มีการแสดงหลักฐานืั้งภาพเขียรเกี่ยวกับทัศนียภาพอันงดงาม ปรากฏจดหมายแสดงความห่วงใยเรื่องสุขภาพของพี่จองยัคยอง คือ จองยัคจอน จดหมายของจองยัคยองต่อพระสงฆ์ และ ลูกศิษย์ของเขา 
จองยัคยอง ถือได้ว่า มีพรสวรรค์ในการเป็นนักประดิษฐ์ และ นักวิชาการหัวสมัยใหม่ เขามีความคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ รักในการจดบันทึกสิ่งต่างๆที่เขาได้พบเห็น เขาเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการจดบันทีกในทุก ๆ อย่างที่เขานึกขึ้นมาได้ เพราะนิสัยของการจดบันทึกทำให้เขามีงานเขียนมากมายกว่า 500 ชุด
เรื่องราวของท่านจองยัคยอง ปรากฏใน ละครเกาหลีหลายเรื่อง เช่น Detective Jung Yak Yong , ลีซาน, หรือ ซอนคยุนกวาน บัณฑิตหน้าใสหัวใจว้าวุ่น ลองหาซีรีย์ดูก็ได้นะค่ะ จะได้อิน กับ จองยัคยอง
การเดินทาง จาก Seoul Central Bus Terminal  ไป คังจิน ใช้เวลา สี่ชั่วโมง แล้วเราก็สามารถที่จะต่อรถไปยังสถานที่ต่าง ๆ ต่ามที่แจ้งนะค่ะ

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เรืองเล่าขององค์รัชทายาทซาโด องค์รัชทายาทผู้เดียวดาย ณ ยุงกอนลึง เมืองซูวอน

เชื่อว่า หลายท่านคงเคยได้ดูซีรีย์ชื่อดังเรื่อง ลีซาน  ซีรีย์ที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของโชซอนใน พุทธศตวรรษที่ 23  พระองค์ถือได้ว่าเป็นกษัตริย์นักพัฒนาที่เปิดประตูรับสิ่งต่างๆ เข้ามาสู่อาณาจักรฤาษีแห่งนี้ อาณาจักรที่แทบจะไม่เปิดประตูให้กับชาวต่างชาติใดเข้ามาได้นอกจากจีน องค์ชายลีซาน หรือ พระเจ้าจองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งโชซอน ในพระองค์ถือได้ว่ามีเรื่องราวมากมายทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ รวมทั้งเรื่องราวของพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระเจ้าจังโจ ()  ที่ได้รับพระราชทานนามภายหลังจากการสวรรคตในสมัยพระเจ้าโคจง  พระนามของพระองค์ที่พวกเรารู้จักคือ องค์รัชทายาทซาโด ผู้มีชีวิตเรื่องราวและจุดจบที่น่าเศร้า
ผู้เขียนมีความสนใจเรื่องราวของ องค์รัชทายาทจังฮยอน (องค์รัชยทายาทซาโด) เป็นอย่างมาก เมื่อเดินทางไปเกาหลี สุสานหลวง ณ ฮวาซอง ที่ได้ฝังพระศพของบุคคลสำคัญ คือ พระเจ้าจองโจ พระมเหสีฮโยอึนพระบิดาของพระองค์คือ  พระเจ้าจังโจ และ พระมเหสี ฮอนกยองวังฮู (헌경왕후) หรือ พระนาม ฮเยคยอง ผู้เขียนบันทึกหนังสือ memoris of Lady Hanyang  หรือชื่อภาษาเกาหลี ฮันจุงนก  (한중록) สถานที่ที่ผู้เขียนได้ไปเยื่อนนั้น เป็นสุสานหลวงที่พระเจ้าจองโจได้ทำการย้ายที่ฝังพระศพเดิมของพระบิดาจากเมืองยังจู มาที่ฮวาซอง ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างฮวาซองของพระเจ้าจองโจเพื่อจะดูแล และ รักษา สุสานของพระบิดาของพระองค์
ตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับเรื่องราวของ องค์รัชทายาทจังฮยอน  หรือ ชังฮอนเซจา  เป็นพระโอรสองค์ที่สองของพระเจ้ายองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 21 ของโซชอน เป็นพระอัยกา ของพระเจ้าจองโจ พระนามเดิมของพระองค์ คือ ลีซอน พระนามเกาหลี ซาโดเซจา (사도세자) พระองค์ประสูติในปี  พ.ศ.2278 และ สวรรคต ในปี พ.ศ. 2305 พระมารดาคือ พระสนมยองบิน ตะกูล ลี  แห่งจอนอึย  เนื่องจากองค์รัชทายาทซาโด ถือได้ว่าเป็นพระโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้ายองโจ เนืองจากพระเชษฐาได้สวรรคตไปก่อนหน้านี้ทำให้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดจากพระบิดาในด้านการศึกษาอย่างมาก ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระชายาจากตะกูลฮง  พระนามพระชายาฮเยคยอง บุตรตรีของฮงพงฮัน
มีเรื่องเล่าที่ทำให้เราได้เข้าใจว่าเหตุใดพระองค์กลายเป็นคนที่มีความว้างเหว่ทางจิตใจ สืบเนืองมากจากว่า ถ้าใครเคยได้ดูเรื่องทงฮี จะรู้ได้ พระเจ้ายองโจ คือ พระโอรสของพระเจ้าซุนโจ และ พระสนมซุกบิน ความเชื่อมโยงนี้เกี่ยวข้องกับการสรรคตของพระสนม ฮีบิน หรือ จางอ๊กจอง ที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีย์ หลายต่อหลายเรื่อง พระโอรสขอพระนางคือ พระเจ้าคยองจง ภายหลังจากครองราชย์ได้ไม่ได้ก็สวรรคตเนืองจากปัญหาสุขภาพ และ พระเจ้ายองโจพระอนุชาได้ครองราชย์ต่อ มีเรื่องเล่าว่า โดยปกติพระเจ้ายองโจ และ พระสนมอียองบินจะไปเยี่ยมองค์ชายซาโดบ่อย ๆ แต่นางกำนันที่ได้เคยรับใช้องค์ชายที่ตำหนักทงกุงอดีตเคยเป็นนางกำนันเก่าของพระมเหสีซฮนอี และ พระเจ้าคยองจง มีความรังเกียจพระเจ้ายองโจ เนื่องจากมองว่าพระองค์แย่งบัลลังก์มาจากรพระเจ้าคยองจง  ทำให้พระเจ้ายองโจเลิกจะไปหาโอรสของพระองค์ ความสัมพันธ์พ่อลูกที่มีความห่างเหิน  องค์รัชทายาทจังฮยอน (องค์ชายซาโด) กลายเป็นองค์ชายที่ขาดการดูแลและเอาใจใส่ มีเพียงองค์หญิง ฮวาพยอง (พระเชษฐภคินี) เท่านั้นที่ยังพูดคุยกับ องค์ชายจังฮยอน อยู่ ในบันทึกของพระนางฮเยกยอง ฉบับปี 1800 กล่าวว่า ภายหลังจากองค์หญิงฮวาพยอง พระธิดาองค์โปรดของพระเจ้ายองโจ พระเชษฐภคินีขององค์หยิงฮวาวาน สิ้นพระชนม์ไป พระเจ้ายองโจก็ทรงยกย่ององค์หญิงฮวาวาเป็นพระธิดาองค์โปรด  การสิ้นพระชนม์ขององค์หญิงฮวาพยองทำให้องค์ชายซาโดเนืองจากความเสียพระทัยของพระเจ้าซาโด และทรงเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางจิต ประกอบกับพระองค์ประชวรบ่อย ในปี พ.ศ. 2295 พระองค์ป่วยเป็นโรคหัด องค์ชายซาโด มีพระโอรสพระองค์แรก ในพ.ศ.2293  คือ องค์ชายอึยโซ แต่มีพระชนม์ชีพเพียง 2 ปี ก็สิ่นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2295 และได้มีพระโอรสองค์ที่สอง คือ องค์ชายลีซาน ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นวังเซซุน ภายหลังคือ พระเจ้าจองโจ ในปี พ.ศ. 2300 
 เรื่องราวโศกนาฎกรรมของพระเจ้าซาโด  มีการกล่าวในบันทึกของพรเนางฮเยกยอง ฉบับปี 1800 ไว้ว่า เมื่อองค์หญิงอวาวานกลายเป็นพระธิดาองค์โปรดแทนองค์ฮวาพยอง มีข่าวลือเกิดขึ้นว่าองค์ชายจังฮยอน  มีพระมีพระราชปนะสงค์ในการสังหารราชบุตรเขยอิลซองคือ พระสวามีขององค์หญิงฮวาวาน ต่อมาพระองค์ได้ทรงพระราชสานส์ไปขอโทษ ราชบึตรเขยอิลซอง โดยพระนางฮเยกยองอธิบายว่าด้วยเหตุที่องค์ชายเคยละเว้นชีวิตพระสวามีขององค์หญิงฮวาวานไว้ทำให้พระนางทรงช่วยเหลือองค์รัชทายาทซาโดเสมอ โดยเฉพาะเมื่อทรงมีอาการทางพระสติองค์หญิงฮวาวานจะคอยแก้ความผิดให้เสมอ และ พระเจ้ายองโจก็จะทรงยอมรับฟังคำขององค์หญิงฮวาวาน

PrinceSado.jpg
                                                                       องค์รัชทายาทซาโด cr.wikimedia
 
แต่เมื่อองค์ชายจังฮยอน  ทรงอยาออกนอกพระราชวังก้ได้บังคับองค์หญิงฮวาวานให้ข้อร้องพระเจ้ายองโจให้อนุญาตให้พระองค์ออกจากวังให้ได้ โดยจับจองฮูกยอม พระโอรสบุญธรรมของพระนางเป็นตัวประกัน ทำให้องค์หญิงฮวาวานจึงรีบสด็จไปหาพระเจ้ายองโจ ทำให้องค์รัชทายาทซาโด สามารถที่จะออกจากวังไปประพาสเมืองฮันยางได้  ถ้าได้อ่านในบันทึกก็จะพบว่า พระนางฮเยกยองไม่ทรงต้องชะตากับองค์หญิงฮวาวานมากนัก ดังที่บันทึกที่เรียกองค์หญิงฮวาวานว่า จงฮุหยิน เมื่อพระชายาถกปลดทรงฝากองค์ชายลีซานไว้กับพระองค์หญิงฮวาวานทีอำนาจมากที่สุดในวัง ไม่ว่าพระนางจะตรัสสิ่งได้พระเจ้ายองโจก็จะทรงเชื่อและ ทำตามเสมอ ทำให้พระนางเริ่มมีความกระหายในอำนาจ องค์หญิงฮวาวานทรงควบคุมพระนัดดาอย่างสิ้นเชิงเลี้ยงดูประหนึ่งพระโอรสของพระนางเอง  แต่ก็กีดกันพระนัดดาในการมีสนม ใส่ความพระนัดดาให้เกลียดชังพระมารดา และ พระชายาของตนเอง
จุดจบขององค์ชายจังฮยอน นั้น แสนจะน่าเศร้ามีเรื่องเล่าว่าพระองค์ถูกขังไว้ในกล่องเก็บข้าวจนสิ้นพระชนม์จากคำสั่งของพระเจ่้ายองโจพระบิดา โดยแม้แต่องค์หญิงฮวาวานก็นิ่งเฉยไม่ช่วยอะไรเลย  พระนางฮเยกยอง ได้กล่าวถึงพระสวามีของพระนางคือ องค์นชรัชทายาทซาโด เริ่มมีอาการทางพระสติ ทรงหวาดกลัวสิ่งต่างๆ รอบตัวและ เข่นฆ่าขันทีและนางรับใช้ต่าง ๆ ในวัง สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จนกระทั่งในปี พ.ศ.2305  เหล่าขุนนางได้ถวายฎีกาให้พระเจ้ายองโจจึงลงพระอาญาองค์รัชทายาทซาโด ตอนแรกพระเจ้ายองโจทรงลังเลอยู่จนพระสนมยองบินพระมารดาของพระองค์ทูลขอให้พระเจ้ายองโจลงพระอาญาพระโอรส โดยมีขจดหมายถึงพระชายาว่า " ข่าวลือที่ข่าได้ยินเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อคืนร้ายแนงกว่าทึกเรื่องที่ข้าเคยได้ยิน ให้ข้าตายเสียงยังขะดีกว่าจะต้องมาทนรับฟังเรื่องแบบนี้ แต่ถ้าข้าพเจ้าต้องอยู่ต่อไป สิ่งที่ข้าควรทำเท่านั้นคือ ปกป้องพระราชอาณาจักรและ วังเซซา แม้ว่าเข้าอาจจะสู้หน้าเจ้าต่อไปไม่ได้อีกเลยทั้งชีวิต "
พระเจ้าจองโจ หรือ องค์ชายลีซาน กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งโซชอน cr.wikimedia
 
พระเจ้ายองโจจึงมีพระราชโอการปลดองค์ชายจังฮยอน จากตำแหน่งรัชทายาท และ ปลดพระชายาฮเยกยองจากตำแหน่ง และ เนรเทศพระนางกลับไปบ้านเดิมคือบ้านของฮงพงฮัน องค์ชายจังฮยอน เข้าไปอยู่ในกล่องไม้อันเป็นกล่องใส่ข้าวแล้วตอกตะปุแน่นเป็นเวลาเจ็ดวันจึงสวรรคต ต่อมาพระเจ้ายองโจทรงรู้สึกผิดจึงทรงคืนตำแหน่งให้แก่อดีตองค์รัชทายาทใหม่พระนามว่า องค์รัชทายาทซาโด ส่วนอดีตพระมเหสีนั้น คือตำแหน่งเป็นพระชายาฮเยบิน และ ให้องค์ชายลีซานไปเป็นโอรสบุญธรรมขององค์รัชทายาทฮโยจาง และ พระชายาฮโยซุนเพื่อจะได้ไม่จ่อมีพระบิดาที่ต้องโทษ เมื่อวังเซซา และ ขึ้นครองราบย์เป็นพระเจ้าจองโจ พ.ศ.2319 พระเจ้าจองโจ จึงได้แต่งตั้งพระราชบิดา และ พระราชมารดาที่แท้จริงไม่ได้ เนื่องจากความผิดขององค์ชายซาโดยังคงเป็นที่ประจักษ์ และ ประกอบกับพระองค์ก็ทีพระราชบิดาและ พระราชมารดาบุญธรรมทีได้แต่งตั้งเป็นกษัตริย์อยู่แล้ว
แต่ในวันราชาองค์รัชทายาท ลีซาน ขึ้นครองราชย์์ในปี พ.ศ.2319   พระองค์ทรงกล่าวว่า ทรงเป็นพระโอรสขององค์รัชทายาทซาโดผู้วายชนม์ ทำให้กลุ่มของฝ่ายโนรนเกิดความหวาดกลัวต่อคำประกาศของพระเจ้าจองโจอย่างมาก
พระเจ้าจองโจ พยายามจะล้างมลทินของพระบิดาเสมอ พระองค์ให้ย้ายราชสำนักไปยังเมืองซูวอนเพิ่อให้ใกล้กับสุสานของพระบิดา ทั้งยังได้สร้างป้อมฮวางซฮงเพื่อคุ้มครองสุสานของพระราชบิดา  นี้คือเรื่องราวขององค์รัชทายาทซาโด องค์รัชทายาทผู้มีชีวิตเดียวดาย
ตอนนี้เรามาทำความรู้จักสุสานของพระองค์ ที่ ยุงกอนลึง แห่งเมืองซูวอน
ว่าด้วยเรื่องราวของสุสานหลวง แห่งอาณาจักรโซชอน
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและ การสร้างสุสานหลวงแห่งราชวงศ์โซชอนกันก่อน เพื่อทำความเข้าใจบริบทคติความเชื่อในการสร้าง สุสานหลวงของราชวงศ์โซชอนที่ปรากฏในเกาหลี บางแห่งก็จะเป็นเนินเดียวบางแห่งก็จะเป็นสุสานกระจายเป็นกลุ่มใน 18 พื้นที่ของสุสานหลวง แต่ละหลุ่มทีมีการฝังพระศพถูกำหนดให้เป็น นึง หรือ มโย ปรากฏหลุมพระศพทั้งในเกาหลีใต้ และ เกาหลีเหนือมีสองแห่ง เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นทางด้านความเชื่อของหลักขงจื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมบรรพบุรุษ  ในช่วงแห่งราชวงศ์โซชอนปี  สุสานถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกรียติให้แก่ความทรงจำของบรรพบุรุษอันเป็นการแสดงความเคารพต่อพวกท่าน และ ยืนยันอำนาจของกษัตริย์เพื่อปกป้องวิญญาณของบรรพบุรุษจากความชั่วร้าย สุสานหลวงเป๋นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ตายสามารถมีชีวิต ในชีวิตหลังความตายท่ามกลางวิญญษณบรรพบุรุษที่ปกป้องราชวงศ์
บริเวณทางเข้าของสุสาน ยุนกอนลึง cr.Tripadvisor.com
 
ยุงกอนลึง 융건릉 Yunggeolleung  เป็นสุสานหลวงของราชวงศ์โซชอนตั้งอยู่ท่ามกลางป่าโอ๊กของเมืองฮวาซอง จังหวัดคยองกี ประกอบไปด้วยสุสานสองหลัง คือ ยุงนึง 융릉 Yungneung  เป็นที่ฝังพระศพขององค์รัชทายาทซาโด กับ พระชายาฮเยกยอง อันเป็นพระราชบิดา และ พระราชมารดาของพระเจ้าจองโจ และ กอนลึง 건릉Geolleung ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าจองโจ กับ พระมเหสีฮโยอึย เมื่อผู้เขียนได้ไปถึง จะมีทางแยกสองทาง ในการเดินไปสุสานทั้งสองแต่งของยุงกอนลึง และ สุสานแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยูเนสโกในปี พ.ศ. 2552  นับเป็นโบราณสถานหมายเลขที่ 201 สุสานขององค์รัชทายาทถุกเรียกว่า Hyeollyungwon  ซึ่งพระเจ้าจองโจได้ย้ายจากสุสานเดิมที่เมืองยังจู มายังฮวาซอง พระองค์มีความปราถนาที่จะฝังพระศพของพระองค์อยู่ใกล้พระบิดาของพระองค์ การได้เยี่ยมชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้เขียนเป็นอย่างมาก มันสะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูของพระเจ้าจองโจเพื่อปลอบประโลมวิญญาณของพระราชบิดาจากโศกนาฎกรรมการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ บริเวณพระศพปรากฏรูปปั้นของทหารคอยปกป้องพระศพของพระองค์ 
 แผลผังของสุสานหลวง


Image result for แผนผัง สุสานหลวงโชซอน
แผนผังสุสานโซชอน cr.wikimedia

1. Gokjang  โคกจัง  (곡장) 2. Seokho ซอกโฮ (석호) 3. Seogyang  ซอกยัง (석양) 4. Mangjuseok มังจูซฮก (망주석) 5. Bongbun  บงบุน (봉분) 6. Nanganseok  นันกันซอก(난간석) 7. Honyuseok ฮงยูซอก (혼유석) 8. Muninseok มุนอินซอก (문인석) 9. Jangmyeongdeung จังมยองดึง(장명등) 10. Seongma ซอกมา(석마) 11. Muinseok มูอินซอก(무인석) 12. Yegam เยกัม  (예감) 13. Bigak บิกัค (비각) 14. Jeongjagak จองจากัค  (정자각) 15. Chamdo ชัมโด (참도) 16. Suragan ซูรากัค (수라간) 17. Subokbang ซูบกบัง (수복방) 18. Baewi แบวี (배위) 19. Hongsalmun  ฮงซัลมุน(홍살문)

ป้ายทางไปสุสานหลสงเป็นทางแยก  cr.koreabridge.com
บริเวณสุสานของ ยุงนึงลึง มีทางแยกสองทางเพื่อเดินไปสุสาน ยุุงนึง และ กองนึง ซึ่งจะทำการเก็บพระศพของทั้งสี่พระองค์แยกกันออกมาเป็นสองสุสาน
ยุงนึง (Yungneung) หลุมฝังศพของพระเจ้าจังโจ และ พระมเหสีฮเยกยอง ทั้งสองพระองค์เป็นพะราชบิดาและ พระราชมารดาของพระเจ้าจองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งโซชอน พระเจ้าจังโจ เป็นชื่อพระราชทานตำแหน่งภายหลังการสวรรคตขององค์รัชทายาทซาโด บุตรของพระเจ้ายองโจ หลุมศพของพระองค์แต่เดิมอยู่บนภูเขาแบบุงซาน ตั้งอยู้ที่เคียงกีโด ในเมืองยังจูกัน พระเจ้าจองโจพระราชโอรสได้เป็นผู้ย้ายพระศพของพระองค์มาที่ภูเขาฮวาซาน ในฮวาซอง เคียงกิโด และ เปลี่ยนชื่อหลุ่มฝังศพเป็น Hyeollyungwon  และย้ายสถานที่หลุมพระศพเปลี่ยนเป็นชื่อ ยุงนึง อีกครั้ง พรศพของพระองค์เคียงคู่กับพระชายาฮเยกยอง  ปัจจุบัน ยุงนึงตั้งอยู่ที่ อันนยองโดง ในฮวาซอง ประดับด้วยก้อนหินที่เรียกว่า บยองพุกซอก Byeongpungseok ล้อมรอบหลุมพระศพ บนก้อนหินรูปดอกโบตั๋น และ ดอกบัวสลักอยู่เช่นเดียวกับสุสานหลวงอื่น ๆ มีที่ว่างสองแห่งแยกกันคือพื้นที่ด้านบนหนึ่งแห่ง และ ด้านล่าวหนึ่ง ในพื้นทีที่ยกสูงขึ้นเป็นเนินเขา โมซฮกอิน ซึ่งเป็นหินรูปทรงสี่เหลี่ยมตั้งอยู่หน้าของเนิน และ มุนซฮกอิน เป็นรูปปั้นข้าราชการพลเรือน  มูอินซฮก รูปปั้นนายทหาร ซอกมา  รูปปั้นม้า
Yungneung ยุงนึง

สุสานที่มีการประดับตกแต่งด้วยหินปูนปั้น และ หินปั้นของขุนทหาร และ สัตว์ เพื่อปกป้องรักษาหลุมพระศพของพระเจ้าจังโจ และพระชายา

เส้นทางเดินหลังประตูตรงไปทางเดินยาว
 
บริเวณหน้าสุสานนั้นจะแบ่งออกเป็นสักส่วนตามผัง หลังทางประตูจะเป็นเส้นทางเดินยาว เป็นรูปตัว T  เป็นเส้นทางที่้ในการประกอบพิธี แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ฮยังโน เส้นทางสำหรับเคลื่อนย้ายแท่นบูชา บทสวดต่างๆ ที่ใช้สำหรับประกอบพิธี และ ออโร เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสำหรับพระมหากษัตริย์ เราสามาระเดินเส้นทางตรงส่วนนี้ได้แต่เพื่อความเหมาะสมเราควรจะเลี่ยงเดินตรงทางเส้นนี้ได้ เพื่อความสำรวม เราเรียกทางนี้ พยองโน เป็นเส้นทางของข้าราชบริพาร
กอนลึง (Geolleung)   เป็นหลุมฝังพระศพของพระเจ้าจองโจ และ พระมเหสี ฮโยอึน นี้คือความปราถนาสุดท้ายของพระองค์ที่จะถูกฝังใกล้หลุมฝังศพของพระบิดาในยุงนึง คอนลึง มีความคล้ายกันกับ ยุงนึงแต่ไม่เหมือนที่เดียวเนื่องจากไม่มี Byeongpungseok ซึ่งเป็นหินที่มีความกว้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ล้อมรอบเนินดินและล้อมกันไว้ แต่มันจะถูกล้อมรอบด้วย นันกันซอก  ราวหิวในทุกๆ ราวดอกบัวจะถูกแกะสลัก หลุมพระศพของพระเจ้าจองโจนั้นเรียบง่ายและตกแต่งน้อยกว่าของพระราชบิดาของเขาเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเคารพและความรักของพระองค์ที่มีต่อพระบิดาของพระองค์
ด้านหน้าของสุสานหลวงเราจะพบ ฮงซัลมุน หมายเลข 19

ประตูทางเข้าของ กอนลึง

จุดทำพิธีบริเวณสุสาน


หลุมพระศพของพระเจ้าจองโจ และ พระชายาฮโยอึน การตบแต่งจะเรียบกว่าหลุมศพของพระราชบิดา และ พระราชมารดา

ยุงนึง (Yungneung) และ กอนลึง (Geolleung)  ถูกำหนดเป็นโบราณสถานหมายเลขที่ 206  
นอกจากนี้ แจซิล
แจซิล หรือ บ้านแห่งการชำระล้างเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกด้านพิธีกรรมพักชำระจิตใจและร่างกาย โดยปกติเจ้าหน้าที่สุสานจะมาที่นี้เพื่อดูแงสุสานทุกวัน โดยทั่วไปแล้วแจซิล จะประกอบด้วยที่เก็บธูปและ รักษาวัตถุพิธีกรรมห้องครัวของกษัตริย์และเรือนพักของคนใช้ อาคารไม่ได้ตกแต่งด้วยภาพวาดหลากสีบรรยากาศรอบ ๆ ของสุสาน ยุงนึง และ คองนึง มีพื้นที่ป่าโอ๊ต มีจุดนั่งพัก บรรยากาศค่อนข้างจะสงบเงียบ






 
 บรรยากาศของสุสานแห่งนี้ค่อนข้างมีความเงียบสงบ และ งดงามด้วยธรรมชาติ โอบล้อมไปด้วยอากาศที่เย็นสบาย ผู้เดินทางไปสุสานหลวงแห่งนี้ในช่วงเดือนเมษายน อากาศค่อนข้างหนาวแต่ไม่มากเท่าไหร่ การเดินทางมาเพื่อทำการสักการะบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโซชอยถือได้ว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก การเดินทางไม่ยากนักนะค่ะ นั่งรถไฟฟ้าสาย 1 มาลงที่ซูวอน แล้วต่อรถเมล์สาย 46 มาลงที่ยุงกอนลึง  หรือ ลงที่ บยองจอม (Byeongjeom Station )  ทางออกที่ 2
หากต้องการข้อมูลของการเดินทาง หรือ ประวัติที่มา ก็เข้ามาที่นี้ได้ ค่ะ
http://english.visitkorea.or.kr/enu/ATR/SI_EN_3_1_1_1.jsp?cid=778518

เมื่อเดินทางมาเกาหลีและ ไปที่ซูวอน อย่าลืมมาสุสานหลวงแห่งนี้นะค่ะมาสักการะพระศพบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งโซชอน พระเจ้าซาโด ผู้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ หากสนใจลองอ่าน Memoris of Lady Hyegyong บันทึกแห่งความเงียบของพระนางฮเยกยองพระมารดาขององค์ชายลีซานที่ต้องถูกจองจำภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสวามี เรื่องราวของพระนางแห่งตะกูลฮง มีความน่าสนใจไม่น้อยเพราะพระบิดาของพระนางก็มีเรื่องราวมากมายที่เกิดปัญหากับทั้งพระสวามี และ พระนัดดาคือองค์ชายลีซาน ไว้คราวหน้านางผู้เขียนจะเล่าให้ฟังนะค่ะ
 

 


วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

เรื่องเล่าของคุก ซอแดมุน ดินแดนแห่งการต่อสู้เพื่ออิสภาพของชาวเกาหลี (Seodaemun Prison History Museum (서대문형무소역사관)

เมื่อฉันได้ไปเยือนเกาหลี พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เรือนจำซอแดมุน ถือได้ว่าเป็นสถานที่บอกเล่าเรืองราวที่แสนเจ็บปวดและขมขื่นของชาวเกาหลีได้เป็นอย่างดีอีกที่หนึ่งเลยที่เดียวอันเป็นช่วงเวลาที่เกาหลีต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเญี่ปุ่น เมื่อก่อนหลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกาหลี และ ประเทศญี่ปุ่น ทำไมพวกเขาถึงได้ยังคงมีความครุกกรุ่นทางอารมณ์และมีความขัดแย้งกันตลอดเวลาหากมีการพาดพิงถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ ดังนั้นการไปเกาหลีจะทำให้คุณได้คำตอบหลายอย่างว่าทำไมทุกวันนี้เกาหลีถึงได้มีปัญหากับญี่ปุ่นมาตลอดจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็ยังมีปัญหาอยู่ มันมาจากร่องรอยของบาดแผลที่ญี่ปุ่นในสมัยอดีตได้สร้างและทิ้งไว้กับชาวเกาหลีดังนั้นเรื่องบางอย่างบางครั้งมันก็ยากสำหรับมนุษย์ที่จะลืม

บรรยากาศด้านนอกของ ซอแดมุน

อาคารแบ่งออกเป็นหลายส่วนทีทำการจัดแสดงห้องทางประวัติศาสตร์คุก ซอแเดนมุน

หอประวัติศาสตร์ซอแดมุน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่ Seodaemun Independence Park สร้างขึ้นมาช่วงเวลาที่ใกล้สิ้นสุดลงของราชวงศ์โชซอน ในปี พ.ศ.2453 สถานที่แห่งนี้เป็นที่ทหารญี่ปุ่นในช่วงที่เข้ามาปกครองเกาหลีใช้ในการทรมาน และ ปฎิบัติตการติดตามขบวนการอิสรภาพของเกาหลี โดยการนำนักโทษเหล่านี้มาจองจำที่แห่งนี้  หอประวัติศาสตร์ซอแดมุนถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักโทษซอแดมุน และ เพื่อแสดงความยินดีต่อการรักชาติชาวเกาหลีเกาหลี
 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เรือนจำซอแดมุน แบ่งการจัดห้องขังออกเป็น 7 ห้องเพื่อจัดแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์ ปรากฏห้องประหาร หอสังเกตการณ์ และ ห้องขังชั้นใต้ดิน
ในอดีต ซอแดมุน รู้จักกันในฐานะเรือนจำ Gyeongseong  สถานนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการปราบปรามผู้รักชาติเกาหลีที่ต่อสู้เพื่อฟื้นอำนาจอธิปไตยของชาติตัวเองโดยเป้าหมายเพื่อปลดปล่อยเกาหลีจากการปกครองของญี่ปุ่น  สถานที่แห่งนี้มันเป็นการอาคารทางประวัติศาสตร์ บอกเล่าเรื่องราวของการยึดครองของญี่ปุ่น และ  การรวมตัวเพื่อการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในช่วงระบอบเผด็จการ สถานที่แห่งนี้มีนักโทษที่ถุกขังคุก ซึ่งได้รับความเจ็บปวดจากการทรมานจนกระทั่งการเสียชีวิต
Gyeongseong ถูกเปลี่ยนเป็นชื่อเป็น Seodaemun Gamok ในปี พ.ศ.2455  และ Seodaemun Hyeingmuson ในพ.ศ.2466 สถานที่แห่งนี้แสดงให้เห็นถึงความทรวงจำอันเจ็บปวดของผู้ที่ถุกคุมขังมีการขยายใหัมีขนาดใหญ่ขึ้น 30 เท่า  ในปี พ.ศ.2473 เนื่องจากกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของชาวเกาหลีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เรือนจำซอแดมุนแต่เดิมเริ่มต้นด้วยความจุ 500 คน ในการก่อสร้างครั้งแรก แต่นักสู้อิสรภาพชาวเกาหลีที่ถูกควบคุมขังที่นี้มีจำนวนมีถึงกว่า 3,000 คน พวกเขาถูกคุมขังระหว่างที่ดำเนินการต่อสู้เพื่อเอกราชและมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ นอกจากนั้นักสู้เพื่ออิสรภาพบางรายก็ถูกประหารชีวิต หรือ ได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายจากญี่ปุ่นเมื่อพสกเขาถูกคุมขังในเรือนจำจนกระทั่งได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระในปี พ.ศ. 2488 ช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นปกครองเกาหลีพวกเขาได้ก่อตั้งเรือนจำ 16 แห่งทั้วเกาหลีในเพื่อใช้ในการคุมขังคนที่ต่อต้านญี่ปุ่น

เมื่อผู้เขียนไปที่ ซอแดมุน ได้พบเรื่องราวที่แสนจะในใจ ภาพขนาดใหญาของ เด็กสาวคนหนึ่ง นาม ยุกวานซัน เธอ เป็นเด็กสาวที่่เกิดในปี พ.ศ.2447 ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางใต้ Ch'ungch'ong  ถูกแขวนอยู่ในห้องโถงจัดแสดง ไม่ค่อยมีใครจะรู้เรื่องราวของเธอในวัยเด็ก เธอถูกส่งไปยังมหาวิทยาลัยหญิง Ewha Women  ในกรุงโซลตามคำแนะนำโดยหนึ่งในครสอนของเธอคือ Alice Sharp  ชารป์เป็นมิสชั่นนารีตะวันตกและมองเห็นศักยภาพตัวของเธอ พ่อของเธอยิ่งยอมให้โอกาสนี้และส่งเธอไปโรงเรียนในปี  พ.ศ. 2459 ยูกวานซัน เป็นเด็กที่เรียนได้ดี ในสาขาการศึกษา และ บัญชีรวมสมัย

ภาพของ ยุกวานซัน

ปี พ.ศ.2462 เป็นปีที่เกิดความวุ่นวายในเกาหลี เมื่อวันที่ 22 มกราคม พระเจ้า โคจง ผู้สละบัลลังก์ของเขาในปี พ.ศ.2450  เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาในเกาหลี แม้พระองค์จะทรงสละราชสมบัติ แต่ก็เกิดปัญญาหาขัดแย้งมากมาย  ยูกวานซัน เพื่อนนักเรียน และ ครู จากมหาวิทยาลัย Ewha ได้เข้ารวมประท้วงในเจดีย์พารค์ใจกลางกรุงโซล ทางการได้ทำการสลายการชุมจนุม ผู้ประท้วงถูกจับคุม และ ปิดชั่วคราวตามคำสั่งของผู้บัญชาการ  ยูกวานซัน   เดินทางกลับไปที่บ้านเกิดของเธอ แต่เธอก็ยังมีคงยึดมั่นในอุดมการณ์ เธอทำอะไรหลายอย่างอันเป็นการสนับสนุนกลุ่มประท้วง เมื่อฉันได้เข้าเดินที่ ซอแดมุน จะได้ยินคำว่า แมนเซ ที่เปิดประกอบกับการจัดแสดงนิทรรศการ ทำให้ภาพและเรื่องเล่าของเธอมีความหมายอย่างลึกซื้งของเด็กสาวคนหนึ่งที่พยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวเกาหลี กล่าววว่า "อิสรภาพของเกาหลีทีมีชีวิตยืนยาว จับมือกันร้องไห้ "
ช่วงเวลานั้นเกิดการจารจลขึ้นพ่อและแม่ของเธอถูกสังหารพร้อมกับผู้ประท้วงหลายคน ยูกวานซัน ถูกจับกุมและ นำตัวไปยังศุนย์กักกันโดยตำรวจทหารญี่ปุ่น  เธอถูกตัดสินไม่หนักมากเนืองจากเธอเป็นเด็ก แต่เธอก็ปฎิเสธสิ่งนั้น การต่อต้านของเธอทำให้เธอถูกทรมานเ ยูกวานซัน ถูกย้ายไปสถานที่ตำรวจ คงจู  ต่อมาเมื่อเธอเข้ารับพิจารณาคดีตัวเธอเองได้ทำการประท้วงถึงความไม่ยุติธรรมในสิ่งนี้ต่อญี่ปุ่น เธอกล่าวว่า " ประเทศของคุณบุกรุกเข้ามาประเทศของึนอื่น คุณไม่มีสิทธิ์ตัดสินความผิดของเรา"  เธอถูกตัดสินลงโทษโดยต้องจำคุก 5 ปี ในเรือนจำ ซฮแเดมุนแห่งนี้

ยูกวานซัน  จบชีวิตลง ความรุนแรงบันทึกว่า ในปี พ.ศ. 2554 มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากการประท้วงหลังจากจับกุมถึง 7,000 คน และ ยูกวานซัน ถูกทรมานอย่างทารุณและ ทุบตีด้วยมือของญี่ปุ่น เธอเสียชีวิตลงในปี พ.ศ.2463 ด้วยวัย 16 ปี เดิมที่เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นในเรือนจำ ซอแดมุน ปฏิเสธการปล่อยศพของเธอ  และถูกชาติตะวันตกบีบจนต้องยอม  ทางมหาวิทยาลัย Ewha นำศพของเธอไปที่มหาวิทยาลัย เธอได้รับการยกย่องอย่างวีรสตรี ญี่ปุ่นอนุญาตให้นำศพไปที่ไปทำพิธีในโบสถ์เงียบ มีเพียงเพื่อนรวมชั้นเรียนของเธอเท่านั้นในพิธี
หลุ่มศพของเธอ อยู่ในสุสาน อีแทวอน ซึ่งถูกทำลายในภายหลัง รูปปั้นของเธอปรากฏในมหาวิทยาลัยและ โรงเรียนหลายแห่ง มีตำนานกล่าวถึงเธอเช่นกันว่า เธอจะเเดินรอบๆ แล้วกรีดร้อง Long live korean independence  และ ถ้าคุณเอยชื่อของเธอมนรูปปั้นใดรูปปั้นหนึ่ง ศรีษะของเธอจะหันมาและ เธอจะมองเข้าไปในแววตาของคุณ
หลังจากบูรณะเรือนจำ ซอแดมุน การได้มาซึ่งเอกราชของชาติถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของขบวนการประชาธิปไตยในเกาหลีจนกระทั่งถูกย้ายไปยังพื้นที่อื่น สถานที่แห่งนี้เป็นที่ฝังลมหายใจสุดท้ายของนักสู้เพื่ออิสรภาพของเกาหลีต่อญี่ปุ่นอย่างแท้จริงการอดทนแม้จะเจ็บปวดทางกาย และ ใจ
ภายใน ซอแดมุนจะมีการจำลองเหตุการณ์การใช้ชีวิตของผู้ถุกคุมขัง การลงโทษ การทรมาน เสียงตะโกน แมนเซ ดังรอบ ๆ พื้นที่ที่จัดแสดง พื้นที่แบ่งออกเป็นหลายตึก มีแการจัดแสดงนิทรรศการตัวอาคารเป็นสองชั้นหลายตึก  ชั้นสองเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยห้องหลายห้องด้วยกัน ห้องประวัติศาสตร์เรือนจำ ซอแดมุน มีการพยายามที่จะฟื้นฟูและอนุรักษ์โบราณสถานโดยกระบวนการทางวัฒนธรรมที่เป็นตัวอย่างสำหรับการเข้าร่วมดังกล่าวอาคารผู้ดุแลระบบอาคาร และ การบูรณะอาคารต่างๆ

ความเจ็บปวด
บรรยากาศของอาคารภายในซอแดมุน มีการจัดแสดงเห็นการจำลอง มีการแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แสดงให้เห็นการทรมานนักโทษ ผู้ประท้วงและ กลุ่มผู้ต้องสงสัย การสอบสวนผู้ต้องสงสัยนั้นจะมีการจำลองเป็นหุ่นของคนที่แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดทางร้ายการและจิตใจผ่านการทรมานร่ายกานด้วยวิธีต่างๆ  เช่น การเย็บมือด้วยสิ่งที่ลักษณะคล้ายเข็ม และ แหลมคม เอาของแหลมคมไว้ใต้เล็บของนักโทษ
ชุดของนักโทษที่ใส่มีลักษณะคลาสสิกเป็นชุดเครื่องแบบสีน้ำเงืนสำหรับเรือนจำที่ยังไม่มีการตัดสิน และ ชุดเครื่องแบบสีแดงสำหรับนักโทษที่ถูกตัดสินแล้ว ขณะที่นักโทษที่ป่วยจะสวมชุดนักโทษสีขาว นักโทษจะสวมเครื่องแบบที่ทำจากผ้าฝ้ายในฤดูหนาว เครื่องแบบของผู้ต้องขังถูกผลิตในโรงงาน
จากเรือนจำ ซองแดมุน และ แจกจ่ายไปยังเรือนจำอื่นๆ ทั่วประเทศ
จำลอง การสอบสวนนักโทษในซอแดมุน

ชีวิตของนักโทษภายในห้องขัง

ห้องสอบสวนนักโทษ

ห้องพิจารณาโทษ


สภาพของห้องขัง ที่มีการจัดแสดงนิทรรศการ

เมื่อเราได้เข้ามายัง ซอแดมุน เราจะได้พบถึงความเป็นนักสู้ของชาวเกาหลีที่มีต่อผู้รุกรานของเขาในตอนนั้นคือ ญี่ปุ่น พวกเขาเคลื่อนไหวและต่อสู้อย่างแข็งขัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2453-2488 การต่อสู้อย่างหนักได้รับการสืบทอดโดยนักสู้อิสรภาพต่อการรุกรานของญี่ปุ่นโดยพื้นหลังที่ส่งผ่านทั้งอุดมการณ์และ แรงจูงใจ เกาหลีเปิดตัวเคลื่อนไหวทั้งในและต่างประเทศ ปี พ.ศ.2462  ขบวนของการเพื่อเอกราชครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม  โดยเกิดขึ้นชาวเกาหลีทั้งหมดเข้าร่วมในการต่อสู้ครั้งนี้เพื่อความเป็นต่อสู้เพื่ออิสรภาพของพวกเขาซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวด้านมนุษยธรรมทต่อต้านการรุกรานของจักรวรรดิในแง่ประวัติศาสตร์โลก
การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่ออิสรภาพ
จำนวนของนักเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพของชาวเกาหลีมีที่ประท้วงปรากฏทั่วประเทศเกาหลีถูกจำคุก และ ถูกทรมานอยู่ที่เรือนจำซอแดนมุน มีจำนวน 3,000 คน ทำให้ญี่ปุ่นต้องขยายขนาดของคุก
 ขบวนของการสู้เพื่อเอกราชครั้งที่ 1เกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนั้นเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชทั่วเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เกาหลีประกาศอิสรภาพและเสรีภาพของเกาหลีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2462 ขบวนการนี้สร้างขึ้นมีจุดเริ่มต้นที่โซล และ แพร่กระจายไปทั้วประเทศ มันเป็นขบวนการที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลของความเป็นอิสระแล อิสรภาพของเกาหลี สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาวเกาหลีทีมีต่อเอกราชที่ไต่ระดับที่ยิ่งใหญ่ของการต่อสู้
ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2463 สมาชิกทั้งหมด 6 คน ของ  Cheolhyeol- geangbokdan พวกเขาได้ทำการปล้นเพื่อเอาเงินสดของญี่ปุ่นที่กำลังขนส่งเงินสดจากจากสาขา Hoeryeong ของโชซอน ไปยังสาขา Yongjeong พวกเขาสามารถยึดเงินได้ 150,000 วอน และใช้เงินนั้นเป็นกองทุนของทหารในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวเกาหลี
ต่อมา เมษายน พ.ศ.2472  หน่วยงานหนึ่งของ Gongmyeong-dam ประกอบด้วย ชอยยังอก (Choe Yang ok) , คิมจองรยูน (Kim Jeong Ryeon) และ อีวันจู (Lee sun Jun) ได้โจมตียานพาหนะเคลื่อนย้ายจดหมายที่เคลื่อนย้ายไปยัง Chumcheon จากโซล และ ขโมยเงินของพวกขา นับเป็นอีกครั้งที่พวกเขาทำสิ่งนี้เพื่อหาทุนต่อต้านญี่ปุ่น

บรรยากาศรอบนอกของคุก


สถานที่ลงโทษนักโทษด้วยการแขวนคอ

ห้องพิจรณาคดึ และ การแขวนคอโชว์


หลังจาก 36 ปีแห่งความยากลำบากของเกาหลีก็ได้รับการปลดปล่อยในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ชาวเกาหลีเข้ามามีอำนาจและเขายึดครองรัฐบาล เรือนจำ ซฮแดมุน เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิสรภาพกว่า 80 ปี ประวัติศาสตร์ของคุกซอแดมุนสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเสรีภาพและสันติภาพ
การเดินทาง
สำหรับการเดินทางนั้นไปไม่ยาก
นั่งรถไฟฟ้าสาย 3 ออกทางออกที่ 5
CR.https://english.visitkorea.or.kr/enu/ATR/SI_EN_3_1_1_1.jsp?cid=268143

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เรื่องเล่าของ Cheonggyecheon steam ประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวกลางเมืองโซล จากลำธารสกปรกสู่พื้นที่สีเขียวสวยงาม

เมื่อได้เยือนกรุงโซล Cheonggyecheon steam  เปรียบได้ดั่งสถานที่สำคัญที่นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องวางโปรแกรมที่จะไปเยือนธารน้ำสวยที่ทอดยาวว่าสิบกิโลแห่งนี้แน่นอน หลายคนคงเคยได้ยินมาว่าอดีตลำธารแห่งนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จากแม่น้ำที่มีน้ำเน่าเสียกลายมาเป็นลำธารที่แสนสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยว
Cheonggyecheon เในอดีตตั้งอยู่ใต้บริเวณพื้นที่ของทางหลวงยกระดับสูงจนแทบจะมองไม่เห็นส่วนของแม่น้ำนี้  ในอดีตก่อนที่สถานที่ Cheonggyecheon  จะเป็นที่รู้จักและกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาหลีได้หลายล้านคนนั้นพื้นที่ของ Cheonggyecheon นี้ถูกปกลุมด้วยทางหลวง สถานที่ค้าขายที่แสนจะแออัด และ บ้านเรือนที่อยู่ของคน อย่างไรก็ตามความคิดในการฟื้นฟูคลองแห่งนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการลงทุยผสมผสานกับการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองโซลจึงได้ถือกำเนิดขึ้นจากความคิดของนายกเทศมนตรีในเวลานั้นนาม Lee Myung-bak  ในช่วงแรกของแนวความคิดในการบูรณะพื้นที่ Cheonggyecheon ได้รับการคัดค้านอย่างมากจากธุรกิจท้องถิ่นที่คงฝั่งรากใช้ชีวิตและทำมาหากินบริเวณนี้มายาวนาน ประกอบกับขอบเขตของก่อสร้างที่จะทำลายชีวิตคนเมือง ทั้งนึ้โครงการยังจะต้องทำการรื้อถอนทางหลวงที่ที่ยกระดับเกือบ 5.5 ก.ม. มีความกลัวว่าโครงการนั้นจะสร้างปัญหาการจราจรในกรุงโซลให้แย่ไปด้วยเนืองจากเป็นจุดที่ถนนลง ด้วยเหตุนี้ผู้สังเกตการณ์หลายท่านต่างมองว่าโคงการนี้หากไม่ประสบความสำเร็จจะลดทอนทุนการเมืองของนายกเทศมนตรี Lee Myung-bak อย่างไรก็ตามความพยายามในการที่จะทำให้แม่น้ำ Cheonggyecheon ได้กลายเป็นศุนย์กลางการท่องเที่ยวสีเขียวในกรุงโซลก็ประสบความสำเร็จได้จริงบุคคลที่มีความสำคัญสำหรับโครงการนี้คือผู้ที่เลือกแคมเปนนี้ในการหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรี  คือ Lee Myung-bak    ภายหลังจากได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีกรุงโซล Lee Myung-bak   ถือได้ว่าเป็นนโยบายในการหาเสียง เขาต้องการลบทางด่วนนี้และฟื้นฟูแม้น้ำ Cheonggyecheon และ ทำตามสิ่งที่เขาคิดว่าจะช่วยยกระดับโซลให้มีมูลค่าาเพื่มขึ้น
ตอนนี้มาฟังเรื่องราวที่มาของ Cheonggyecheon
Cheonggyecheon เป็นเม่น้ำที่แบ่งทางเหนือจากครึ่งหนึ่งของทางใต้ของเมือง แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านจากภูเขารอบเมือง แม่น้ำเหล่านี้มักจะแห้งในฤดูใบไม้ผลิและ ฤดูไม้ร่วงและมีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน
ในอดีต แม่น้ำ Cheonggyecheon ถูกเรียกว่า Gaecheon ซึ่งมีคามหมายถึงการขุดออก และ ในปี พ.ศ.2459  เมื่อเกาหลีถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นได้ทำการรวบรวมรายชื่อแม่น้ำเกาหลี และ ทำการเปลี่ยนชื่อ จาก Gaecheon เป็น Cheonggyecheon อันมีความหมายว่า กระแสน้ำใส  แต่ในบางครั้งชาวญี่ปุ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ Takgyecheon อันหมายถึงแม้น้ำสกปรก อันเนื่องมาจากสภาพของแม่น้ำที่เสื่อมสภาพลงจากการใช้เป็นที่ระบายของเสียมาเป็นเวลาช้านาน
กล่าวว่า ในปี พ.ศ.1949-1955 พระเจ้าแทโจทรงต้องการให้แม่น้ำมีความกว้างขึ้น และ สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเพื่อควบคุมน้ำท่วม ในปี พ.ศ.1955 คนจำนวนกว่าห้าหมื่นคนได้ทำงานเพื่อสร้างเขื่อนและ สะพานหินเหนือแม่น้ำ Cheonggyecheon และแม่น้ำสาขา และ พระเจ้าเซจงได้ทำการสืบทอดงานโดยการขุดคูเพื่อเปลี่ยนทางน้ำป้องกันน้ำท่วมเข้าเมือง ที่ปรึกษาของพระเจ้าเซจงมีความคิดเห็นสองประการเกี่ยวกับการใช้   Cheonggyecheon แห่งนี้ โดย นักอุดมคตินิยมเชื่อว่าน้ำควรได้รับการทำความสะอาดตามหลักการของฮวงจุ้ย และ นักสัจจะนิยมเชื่อว่าเมืองที่กำลังเติบโตจำเป็นต้องใช้ทางน้ำการระบายน้ำเสีย และ Cheonggyecheon ก็เป็นทางเลือกเดียวนี้คือจุดที่ทำให้แม่น้ำแห่งนี้กลายเป็นที่ระยาบของเสียในยุคโซชอน ในปี พ.ศ.2200 จำนวนประชาชนในกรุงโซลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็น 190,000 คน  และ Cheonggyecheon ไม่สามารถรองรับสิ่งปฎิกูลของเมืองได้อีกต่อไปแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ.2303-2316 พระเจ้ายองโจระดมกำลังคนงาน 50,000 คน เพื่อขุดแม่น้ำและสร้างเขื่อนเพื่อรองรับจำนวนคนที่มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ในสมัยเกาหลีภายใต้การปกครองญึ่ปุ่น
 ในช่วงที่ญี่ปุ่นทำการปกครองเกาหลีนั่นพยายามที่จะทำการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียใต้สำหรับกรุงโซล แต่แผนทั้งหมดเหล่านี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับสงคราม เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลงทางเกาหลีใต้ก็ทำการพัฒนาแผนการที่ขุด Cheonggyecheon แต่เนื่องจากสภาพขาดการดูแลในช่วงสงคราม และ พื้นที่บริเวณรอบแม่น้ำ Cheonggyecheon ก็ได้กลายเป็นสถานที่ผู้ลี้ภัยสงครามเกาหลีก็ได้มาตั้งบ้านเรือนบริเวณแม่น้ำแห่งนี้แทนฃ
สภาพบ้านเรือนก่อนการบูรณะ Cheonggyecheon จะสังเกตุได้ว่ามีการตั้งบ้านเรือนริมแม่น้ำทั้งสองข้างทางใช้น้ำในพื้นที่แห่งนี้ในการดำรงชีวิตประจำวันของคนที่ตั้งบ้านเรือนที่นี้

 
 
 



 
 
ในช่วงปี พ.ศ.2493 Cheonggyecheon ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความจนและ ความสกปรกอันเป็นมรดกตกทอดจากยุคอาณานิคม และ สงครามกว่าครึ่งศตวรรษ  ท่อระบายน้ำเปิดในใจกลางเมืองซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนากรุงโซลในช่วงเวลาแห่งความยากลำทางเศษฐกิจที่รุนแรงวิธีแก้ปัญหาคือ การทำให้ลำธารน้ำให้ลงใต้ดิน  ในปี พ.ศ. 2498-2520 ได้เริ่มทำการก่อสร้างให้ลำธารอยู่ใต้ดิน ต่อมาจึงมีการสร้างทางด่วนสูง


 
 
ภาพการก่อสร้างทางหลวงยกระดับสูงเหนือ Cheonggyecheon

ทางหลวงถูกสร้างขึ้นเหนือลำธารใต้ดิน ฟรีเวย์นี้กว้างสี่เลนและยาวกว่าสามไมล์ บ้านเรือนถูกย้ายออกจากริมฝั่งลำธาร ผู้อาศัยถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานพื้นที่ตรงนั้นถูกแทนด้วยร้านค้าที่ทันสมัย และ ศูนย์อุตสาหกรรมถูกสร้างขึ้นที่นั้น โครงการพัฒนานี้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความทันสมัย และ อุตสาหกรรมของเกาหลีหลังสงคราม
 
บ้านเรือน ที่ตั้ง Cheonggyecheon ก่อนการบูรณะ
                                                      

ร้านค้ามากมายตามลำธาร Cheonggyecheon
ดั่งที่กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยน แม่น้ำ Cheonggyecheon  ที่เคยใช้เป็นที่ระบายของเสียมาตั้งแต่สมัยโซชอนทำให้สภาพของน้ำมีความสกปรก และ ยังถูกปกคลุมความสกปรกด้วยทางหลวง  แต่ภายหลังจากที่ Lee Myung-bak  เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของโซล การพยายามลบทางด่วน และ เปลี่ยน Cheonggyecheon ให้เป็นพื้นที่สีเขียวก็ปรากฏขึ้น เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยวและ การลงทุนระหว่างประเทศ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มธุรกิจบริเวณพื้นที่นั้นแต่ก็ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนชาวโซลส่วนใหญ่  การรื้อถอนทางด่วนเริ่มขึ้นในเดือน มิถุนายน ปี พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จใน เดือน กันยายน .ศ. 2546  โครงการใช้เวลาในการบูรณะลำธารเป็นเวลาสองปี แล้วเสร็จในเดือน กันยายน ปี พ.ศ.2548
มาดู Cheonggyecheon Steam ภายหลังได้รับการบูรณะจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
 
การเดินทางที่แสนนะง่ายด้วยการนั่งรถไฟฟ้าสาย 5 เพื่อเดินทางไป Cheonggyecheon Steam  เมื่อออกมาคุณก็จะได้พบกับสัญลักษณ์สูง ๆ ม้วนๆ อยู่ข้างหน้า นั้นแสดงว่า คุณมาถึง Cheonggyecheon Steam  แห่งนี้แล้ว


เปรียบได้ดั่งจุดแลนด์มารค์ว่า คุณได้มาถึง Cheonggyecheon Steam

 ภาพถ่ายบรรยากาศของ Cheonggyecheon Steam  ผู้เขียนถ่ายตอนช่วงเย็น ประเทศเกาหลีถือได้ว่า เป็นประเทศที่แม้จะเย็นจะค่ำแต่ท้องฟ้าก็ยังคงสว่างยาวนานถ้าเทียบกับประเทศไทยของเรา
ลำธารที่แสนสะอาดภายหลังจากผ่านกระบวนการบูรณะ






 
 จุดที่น่าสนใจของ Cheonggyecheon Steam  คือ  บันชาโด (Banchado)  ของพระเจ้าจองโจ
เป็นภาพวาดบนกำแพงเซรามิคที่มีความยาว ภาพบอกเล่าเรื่องราวถึงขบวนแห่ที่นำโดยพระเจ้าจองโจ (องค์ชาย ลีซาน) ที่เดินทางจากเมืองซูวอน  ฮวาซอน เพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดในปีที่ 60 ของพระมารดาของพระองค์  (เจ้าหญิงฮองแห่งฮเยกย็อง (Hyengeong) และ แสดงความเคารพที่หลุมฝังศพของพระบิดาของพระองค์นั้น คือ องค์รัชทายาทซาโด ที่ ฮเยเรียงวอน (Hyeonreungwon) บันชาโดเป็นภาพวาดทางสารคดีของราชวงศ์ที่มีขนาดใหญ่และ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่หาค่าไม่ได้  อันมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของขบวนแห่ ลักษณะของการแต่งกายเฉพาะ ชุดเครื่องแต่งกาย และ องค์ประกอบแห่งวงค์ดนตรีสมัยนั้น


 
 

มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้มีขนาดที่กว้าง 15 เมตร และยาว 18 เมตร วาดโดยจิตกรราชสำนักชั้นยอดซึ่งรวมถึงคิมฮองโด (Kim Hong do)  ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตามคำสั่งของพระเจ้าจองโจ บันชาโดของพระเจ้าจองโดเดิมถูกพบที่พิมพ์แกะไม้ขาว-ดาว อย่างไรก็ตามได้มีการลงสีใหม่ และ ทำขึ้นมาใหม่ ผ่านการวิจัยทางประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ.2537  ขณะนี้ได้ถูกเก็บรักษาที่ Gyujanggk แห่งมหาวิทยาลัยโซล
จากภาพที่ปรากฏนั้นขบวนแห่ของพระเจ้าจองโจไป Hwaseong ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 วันและปรากฏพระราชินี Gyeongeui ในขบวนแห่มีคนอีกกว่า 6,000 คน รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่สอง (Wueuijeong) นั้นคือ Cha Je Gong , เจ้าหน้าที่พลเรือน,นางกำนัล  และ ทหารรักษาพระองค์ บันชาโดของพระเจ้าจองโจ  มีการพรรณนาถึงผู้คน 1,779 คน และ มัา 779 ตัว อันมีรายละเอียดสูงมาก
บันดาชาโดของพระเจ้าจองโจที่แสดงใน Cheonggyecheon Steam เป็นรูปแบบที่ได้วาดขึ้นมาใหม่บนแผ่นเครื่องเคลือบดินเผาสีขาว 5,120 ชิ้น (30 ซม.x30 ซม.)  และได้ขยายความยาวเป็น 186 เมตร และ สูง 2.4 เมตร เป็นจิตกรรมฝาผนังเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก


บรรยากาศ Cheonggyecheon Steam   ยามเย็นมีการเปิดไฟในพื้นของลำธารแห่งนี้ สร้างบรรยากาศที่สวยงามที่เดียว



นี้คือ Cheonggyecheon Steam   สถานที่เปลี่ยนจากแม่น้ำที่ใช้ทิ้งสิ่งปฎิกูลมากนานกว่าหลายร้อยปีให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสวยงามกลางใจกลางโซล เพื่อหวังดึงดูดนักท่องเที่ยว และ นักลงทุนต่างชาติ ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ล้ำค่าของภาพวาด บันชาโดที่แสนสวยงาม ถ้าคุณได้เวะไปโซลอย่าลืมมาที่ Cheonggyecheon Steam  กันนะค่ะ

Cr.

http://www.preservenet.com/freeways/FreewaysCheonggye.html , Cheonggyecheon restoration Project of Dr. In-Keun Lee ,  Hugo Ribadeau-Dumas, Lucie Perez, Ihnji Jon, Morgan Mouton, Cristiano Penna, Nonjabulo Zondi, Caroline Guillet of Cheonggyecheon restoration Project , Peeguay