วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เรืองเล่าขององค์รัชทายาทซาโด องค์รัชทายาทผู้เดียวดาย ณ ยุงกอนลึง เมืองซูวอน

เชื่อว่า หลายท่านคงเคยได้ดูซีรีย์ชื่อดังเรื่อง ลีซาน  ซีรีย์ที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของโชซอนใน พุทธศตวรรษที่ 23  พระองค์ถือได้ว่าเป็นกษัตริย์นักพัฒนาที่เปิดประตูรับสิ่งต่างๆ เข้ามาสู่อาณาจักรฤาษีแห่งนี้ อาณาจักรที่แทบจะไม่เปิดประตูให้กับชาวต่างชาติใดเข้ามาได้นอกจากจีน องค์ชายลีซาน หรือ พระเจ้าจองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งโชซอน ในพระองค์ถือได้ว่ามีเรื่องราวมากมายทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ รวมทั้งเรื่องราวของพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระเจ้าจังโจ ()  ที่ได้รับพระราชทานนามภายหลังจากการสวรรคตในสมัยพระเจ้าโคจง  พระนามของพระองค์ที่พวกเรารู้จักคือ องค์รัชทายาทซาโด ผู้มีชีวิตเรื่องราวและจุดจบที่น่าเศร้า
ผู้เขียนมีความสนใจเรื่องราวของ องค์รัชทายาทจังฮยอน (องค์รัชยทายาทซาโด) เป็นอย่างมาก เมื่อเดินทางไปเกาหลี สุสานหลวง ณ ฮวาซอง ที่ได้ฝังพระศพของบุคคลสำคัญ คือ พระเจ้าจองโจ พระมเหสีฮโยอึนพระบิดาของพระองค์คือ  พระเจ้าจังโจ และ พระมเหสี ฮอนกยองวังฮู (헌경왕후) หรือ พระนาม ฮเยคยอง ผู้เขียนบันทึกหนังสือ memoris of Lady Hanyang  หรือชื่อภาษาเกาหลี ฮันจุงนก  (한중록) สถานที่ที่ผู้เขียนได้ไปเยื่อนนั้น เป็นสุสานหลวงที่พระเจ้าจองโจได้ทำการย้ายที่ฝังพระศพเดิมของพระบิดาจากเมืองยังจู มาที่ฮวาซอง ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างฮวาซองของพระเจ้าจองโจเพื่อจะดูแล และ รักษา สุสานของพระบิดาของพระองค์
ตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับเรื่องราวของ องค์รัชทายาทจังฮยอน  หรือ ชังฮอนเซจา  เป็นพระโอรสองค์ที่สองของพระเจ้ายองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 21 ของโซชอน เป็นพระอัยกา ของพระเจ้าจองโจ พระนามเดิมของพระองค์ คือ ลีซอน พระนามเกาหลี ซาโดเซจา (사도세자) พระองค์ประสูติในปี  พ.ศ.2278 และ สวรรคต ในปี พ.ศ. 2305 พระมารดาคือ พระสนมยองบิน ตะกูล ลี  แห่งจอนอึย  เนื่องจากองค์รัชทายาทซาโด ถือได้ว่าเป็นพระโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้ายองโจ เนืองจากพระเชษฐาได้สวรรคตไปก่อนหน้านี้ทำให้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดจากพระบิดาในด้านการศึกษาอย่างมาก ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระชายาจากตะกูลฮง  พระนามพระชายาฮเยคยอง บุตรตรีของฮงพงฮัน
มีเรื่องเล่าที่ทำให้เราได้เข้าใจว่าเหตุใดพระองค์กลายเป็นคนที่มีความว้างเหว่ทางจิตใจ สืบเนืองมากจากว่า ถ้าใครเคยได้ดูเรื่องทงฮี จะรู้ได้ พระเจ้ายองโจ คือ พระโอรสของพระเจ้าซุนโจ และ พระสนมซุกบิน ความเชื่อมโยงนี้เกี่ยวข้องกับการสรรคตของพระสนม ฮีบิน หรือ จางอ๊กจอง ที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีย์ หลายต่อหลายเรื่อง พระโอรสขอพระนางคือ พระเจ้าคยองจง ภายหลังจากครองราชย์ได้ไม่ได้ก็สวรรคตเนืองจากปัญหาสุขภาพ และ พระเจ้ายองโจพระอนุชาได้ครองราชย์ต่อ มีเรื่องเล่าว่า โดยปกติพระเจ้ายองโจ และ พระสนมอียองบินจะไปเยี่ยมองค์ชายซาโดบ่อย ๆ แต่นางกำนันที่ได้เคยรับใช้องค์ชายที่ตำหนักทงกุงอดีตเคยเป็นนางกำนันเก่าของพระมเหสีซฮนอี และ พระเจ้าคยองจง มีความรังเกียจพระเจ้ายองโจ เนื่องจากมองว่าพระองค์แย่งบัลลังก์มาจากรพระเจ้าคยองจง  ทำให้พระเจ้ายองโจเลิกจะไปหาโอรสของพระองค์ ความสัมพันธ์พ่อลูกที่มีความห่างเหิน  องค์รัชทายาทจังฮยอน (องค์ชายซาโด) กลายเป็นองค์ชายที่ขาดการดูแลและเอาใจใส่ มีเพียงองค์หญิง ฮวาพยอง (พระเชษฐภคินี) เท่านั้นที่ยังพูดคุยกับ องค์ชายจังฮยอน อยู่ ในบันทึกของพระนางฮเยกยอง ฉบับปี 1800 กล่าวว่า ภายหลังจากองค์หญิงฮวาพยอง พระธิดาองค์โปรดของพระเจ้ายองโจ พระเชษฐภคินีขององค์หยิงฮวาวาน สิ้นพระชนม์ไป พระเจ้ายองโจก็ทรงยกย่ององค์หญิงฮวาวาเป็นพระธิดาองค์โปรด  การสิ้นพระชนม์ขององค์หญิงฮวาพยองทำให้องค์ชายซาโดเนืองจากความเสียพระทัยของพระเจ้าซาโด และทรงเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางจิต ประกอบกับพระองค์ประชวรบ่อย ในปี พ.ศ. 2295 พระองค์ป่วยเป็นโรคหัด องค์ชายซาโด มีพระโอรสพระองค์แรก ในพ.ศ.2293  คือ องค์ชายอึยโซ แต่มีพระชนม์ชีพเพียง 2 ปี ก็สิ่นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2295 และได้มีพระโอรสองค์ที่สอง คือ องค์ชายลีซาน ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นวังเซซุน ภายหลังคือ พระเจ้าจองโจ ในปี พ.ศ. 2300 
 เรื่องราวโศกนาฎกรรมของพระเจ้าซาโด  มีการกล่าวในบันทึกของพรเนางฮเยกยอง ฉบับปี 1800 ไว้ว่า เมื่อองค์หญิงอวาวานกลายเป็นพระธิดาองค์โปรดแทนองค์ฮวาพยอง มีข่าวลือเกิดขึ้นว่าองค์ชายจังฮยอน  มีพระมีพระราชปนะสงค์ในการสังหารราชบุตรเขยอิลซองคือ พระสวามีขององค์หญิงฮวาวาน ต่อมาพระองค์ได้ทรงพระราชสานส์ไปขอโทษ ราชบึตรเขยอิลซอง โดยพระนางฮเยกยองอธิบายว่าด้วยเหตุที่องค์ชายเคยละเว้นชีวิตพระสวามีขององค์หญิงฮวาวานไว้ทำให้พระนางทรงช่วยเหลือองค์รัชทายาทซาโดเสมอ โดยเฉพาะเมื่อทรงมีอาการทางพระสติองค์หญิงฮวาวานจะคอยแก้ความผิดให้เสมอ และ พระเจ้ายองโจก็จะทรงยอมรับฟังคำขององค์หญิงฮวาวาน

PrinceSado.jpg
                                                                       องค์รัชทายาทซาโด cr.wikimedia
 
แต่เมื่อองค์ชายจังฮยอน  ทรงอยาออกนอกพระราชวังก้ได้บังคับองค์หญิงฮวาวานให้ข้อร้องพระเจ้ายองโจให้อนุญาตให้พระองค์ออกจากวังให้ได้ โดยจับจองฮูกยอม พระโอรสบุญธรรมของพระนางเป็นตัวประกัน ทำให้องค์หญิงฮวาวานจึงรีบสด็จไปหาพระเจ้ายองโจ ทำให้องค์รัชทายาทซาโด สามารถที่จะออกจากวังไปประพาสเมืองฮันยางได้  ถ้าได้อ่านในบันทึกก็จะพบว่า พระนางฮเยกยองไม่ทรงต้องชะตากับองค์หญิงฮวาวานมากนัก ดังที่บันทึกที่เรียกองค์หญิงฮวาวานว่า จงฮุหยิน เมื่อพระชายาถกปลดทรงฝากองค์ชายลีซานไว้กับพระองค์หญิงฮวาวานทีอำนาจมากที่สุดในวัง ไม่ว่าพระนางจะตรัสสิ่งได้พระเจ้ายองโจก็จะทรงเชื่อและ ทำตามเสมอ ทำให้พระนางเริ่มมีความกระหายในอำนาจ องค์หญิงฮวาวานทรงควบคุมพระนัดดาอย่างสิ้นเชิงเลี้ยงดูประหนึ่งพระโอรสของพระนางเอง  แต่ก็กีดกันพระนัดดาในการมีสนม ใส่ความพระนัดดาให้เกลียดชังพระมารดา และ พระชายาของตนเอง
จุดจบขององค์ชายจังฮยอน นั้น แสนจะน่าเศร้ามีเรื่องเล่าว่าพระองค์ถูกขังไว้ในกล่องเก็บข้าวจนสิ้นพระชนม์จากคำสั่งของพระเจ่้ายองโจพระบิดา โดยแม้แต่องค์หญิงฮวาวานก็นิ่งเฉยไม่ช่วยอะไรเลย  พระนางฮเยกยอง ได้กล่าวถึงพระสวามีของพระนางคือ องค์นชรัชทายาทซาโด เริ่มมีอาการทางพระสติ ทรงหวาดกลัวสิ่งต่างๆ รอบตัวและ เข่นฆ่าขันทีและนางรับใช้ต่าง ๆ ในวัง สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จนกระทั่งในปี พ.ศ.2305  เหล่าขุนนางได้ถวายฎีกาให้พระเจ้ายองโจจึงลงพระอาญาองค์รัชทายาทซาโด ตอนแรกพระเจ้ายองโจทรงลังเลอยู่จนพระสนมยองบินพระมารดาของพระองค์ทูลขอให้พระเจ้ายองโจลงพระอาญาพระโอรส โดยมีขจดหมายถึงพระชายาว่า " ข่าวลือที่ข่าได้ยินเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อคืนร้ายแนงกว่าทึกเรื่องที่ข้าเคยได้ยิน ให้ข้าตายเสียงยังขะดีกว่าจะต้องมาทนรับฟังเรื่องแบบนี้ แต่ถ้าข้าพเจ้าต้องอยู่ต่อไป สิ่งที่ข้าควรทำเท่านั้นคือ ปกป้องพระราชอาณาจักรและ วังเซซา แม้ว่าเข้าอาจจะสู้หน้าเจ้าต่อไปไม่ได้อีกเลยทั้งชีวิต "
พระเจ้าจองโจ หรือ องค์ชายลีซาน กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งโซชอน cr.wikimedia
 
พระเจ้ายองโจจึงมีพระราชโอการปลดองค์ชายจังฮยอน จากตำแหน่งรัชทายาท และ ปลดพระชายาฮเยกยองจากตำแหน่ง และ เนรเทศพระนางกลับไปบ้านเดิมคือบ้านของฮงพงฮัน องค์ชายจังฮยอน เข้าไปอยู่ในกล่องไม้อันเป็นกล่องใส่ข้าวแล้วตอกตะปุแน่นเป็นเวลาเจ็ดวันจึงสวรรคต ต่อมาพระเจ้ายองโจทรงรู้สึกผิดจึงทรงคืนตำแหน่งให้แก่อดีตองค์รัชทายาทใหม่พระนามว่า องค์รัชทายาทซาโด ส่วนอดีตพระมเหสีนั้น คือตำแหน่งเป็นพระชายาฮเยบิน และ ให้องค์ชายลีซานไปเป็นโอรสบุญธรรมขององค์รัชทายาทฮโยจาง และ พระชายาฮโยซุนเพื่อจะได้ไม่จ่อมีพระบิดาที่ต้องโทษ เมื่อวังเซซา และ ขึ้นครองราบย์เป็นพระเจ้าจองโจ พ.ศ.2319 พระเจ้าจองโจ จึงได้แต่งตั้งพระราชบิดา และ พระราชมารดาที่แท้จริงไม่ได้ เนื่องจากความผิดขององค์ชายซาโดยังคงเป็นที่ประจักษ์ และ ประกอบกับพระองค์ก็ทีพระราชบิดาและ พระราชมารดาบุญธรรมทีได้แต่งตั้งเป็นกษัตริย์อยู่แล้ว
แต่ในวันราชาองค์รัชทายาท ลีซาน ขึ้นครองราชย์์ในปี พ.ศ.2319   พระองค์ทรงกล่าวว่า ทรงเป็นพระโอรสขององค์รัชทายาทซาโดผู้วายชนม์ ทำให้กลุ่มของฝ่ายโนรนเกิดความหวาดกลัวต่อคำประกาศของพระเจ้าจองโจอย่างมาก
พระเจ้าจองโจ พยายามจะล้างมลทินของพระบิดาเสมอ พระองค์ให้ย้ายราชสำนักไปยังเมืองซูวอนเพิ่อให้ใกล้กับสุสานของพระบิดา ทั้งยังได้สร้างป้อมฮวางซฮงเพื่อคุ้มครองสุสานของพระราชบิดา  นี้คือเรื่องราวขององค์รัชทายาทซาโด องค์รัชทายาทผู้มีชีวิตเดียวดาย
ตอนนี้เรามาทำความรู้จักสุสานของพระองค์ ที่ ยุงกอนลึง แห่งเมืองซูวอน
ว่าด้วยเรื่องราวของสุสานหลวง แห่งอาณาจักรโซชอน
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและ การสร้างสุสานหลวงแห่งราชวงศ์โซชอนกันก่อน เพื่อทำความเข้าใจบริบทคติความเชื่อในการสร้าง สุสานหลวงของราชวงศ์โซชอนที่ปรากฏในเกาหลี บางแห่งก็จะเป็นเนินเดียวบางแห่งก็จะเป็นสุสานกระจายเป็นกลุ่มใน 18 พื้นที่ของสุสานหลวง แต่ละหลุ่มทีมีการฝังพระศพถูกำหนดให้เป็น นึง หรือ มโย ปรากฏหลุมพระศพทั้งในเกาหลีใต้ และ เกาหลีเหนือมีสองแห่ง เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นทางด้านความเชื่อของหลักขงจื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมบรรพบุรุษ  ในช่วงแห่งราชวงศ์โซชอนปี  สุสานถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกรียติให้แก่ความทรงจำของบรรพบุรุษอันเป็นการแสดงความเคารพต่อพวกท่าน และ ยืนยันอำนาจของกษัตริย์เพื่อปกป้องวิญญาณของบรรพบุรุษจากความชั่วร้าย สุสานหลวงเป๋นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ตายสามารถมีชีวิต ในชีวิตหลังความตายท่ามกลางวิญญษณบรรพบุรุษที่ปกป้องราชวงศ์
บริเวณทางเข้าของสุสาน ยุนกอนลึง cr.Tripadvisor.com
 
ยุงกอนลึง 융건릉 Yunggeolleung  เป็นสุสานหลวงของราชวงศ์โซชอนตั้งอยู่ท่ามกลางป่าโอ๊กของเมืองฮวาซอง จังหวัดคยองกี ประกอบไปด้วยสุสานสองหลัง คือ ยุงนึง 융릉 Yungneung  เป็นที่ฝังพระศพขององค์รัชทายาทซาโด กับ พระชายาฮเยกยอง อันเป็นพระราชบิดา และ พระราชมารดาของพระเจ้าจองโจ และ กอนลึง 건릉Geolleung ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าจองโจ กับ พระมเหสีฮโยอึย เมื่อผู้เขียนได้ไปถึง จะมีทางแยกสองทาง ในการเดินไปสุสานทั้งสองแต่งของยุงกอนลึง และ สุสานแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยูเนสโกในปี พ.ศ. 2552  นับเป็นโบราณสถานหมายเลขที่ 201 สุสานขององค์รัชทายาทถุกเรียกว่า Hyeollyungwon  ซึ่งพระเจ้าจองโจได้ย้ายจากสุสานเดิมที่เมืองยังจู มายังฮวาซอง พระองค์มีความปราถนาที่จะฝังพระศพของพระองค์อยู่ใกล้พระบิดาของพระองค์ การได้เยี่ยมชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้เขียนเป็นอย่างมาก มันสะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูของพระเจ้าจองโจเพื่อปลอบประโลมวิญญาณของพระราชบิดาจากโศกนาฎกรรมการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ บริเวณพระศพปรากฏรูปปั้นของทหารคอยปกป้องพระศพของพระองค์ 
 แผลผังของสุสานหลวง


Image result for แผนผัง สุสานหลวงโชซอน
แผนผังสุสานโซชอน cr.wikimedia

1. Gokjang  โคกจัง  (곡장) 2. Seokho ซอกโฮ (석호) 3. Seogyang  ซอกยัง (석양) 4. Mangjuseok มังจูซฮก (망주석) 5. Bongbun  บงบุน (봉분) 6. Nanganseok  นันกันซอก(난간석) 7. Honyuseok ฮงยูซอก (혼유석) 8. Muninseok มุนอินซอก (문인석) 9. Jangmyeongdeung จังมยองดึง(장명등) 10. Seongma ซอกมา(석마) 11. Muinseok มูอินซอก(무인석) 12. Yegam เยกัม  (예감) 13. Bigak บิกัค (비각) 14. Jeongjagak จองจากัค  (정자각) 15. Chamdo ชัมโด (참도) 16. Suragan ซูรากัค (수라간) 17. Subokbang ซูบกบัง (수복방) 18. Baewi แบวี (배위) 19. Hongsalmun  ฮงซัลมุน(홍살문)

ป้ายทางไปสุสานหลสงเป็นทางแยก  cr.koreabridge.com
บริเวณสุสานของ ยุงนึงลึง มีทางแยกสองทางเพื่อเดินไปสุสาน ยุุงนึง และ กองนึง ซึ่งจะทำการเก็บพระศพของทั้งสี่พระองค์แยกกันออกมาเป็นสองสุสาน
ยุงนึง (Yungneung) หลุมฝังศพของพระเจ้าจังโจ และ พระมเหสีฮเยกยอง ทั้งสองพระองค์เป็นพะราชบิดาและ พระราชมารดาของพระเจ้าจองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งโซชอน พระเจ้าจังโจ เป็นชื่อพระราชทานตำแหน่งภายหลังการสวรรคตขององค์รัชทายาทซาโด บุตรของพระเจ้ายองโจ หลุมศพของพระองค์แต่เดิมอยู่บนภูเขาแบบุงซาน ตั้งอยู้ที่เคียงกีโด ในเมืองยังจูกัน พระเจ้าจองโจพระราชโอรสได้เป็นผู้ย้ายพระศพของพระองค์มาที่ภูเขาฮวาซาน ในฮวาซอง เคียงกิโด และ เปลี่ยนชื่อหลุ่มฝังศพเป็น Hyeollyungwon  และย้ายสถานที่หลุมพระศพเปลี่ยนเป็นชื่อ ยุงนึง อีกครั้ง พรศพของพระองค์เคียงคู่กับพระชายาฮเยกยอง  ปัจจุบัน ยุงนึงตั้งอยู่ที่ อันนยองโดง ในฮวาซอง ประดับด้วยก้อนหินที่เรียกว่า บยองพุกซอก Byeongpungseok ล้อมรอบหลุมพระศพ บนก้อนหินรูปดอกโบตั๋น และ ดอกบัวสลักอยู่เช่นเดียวกับสุสานหลวงอื่น ๆ มีที่ว่างสองแห่งแยกกันคือพื้นที่ด้านบนหนึ่งแห่ง และ ด้านล่าวหนึ่ง ในพื้นทีที่ยกสูงขึ้นเป็นเนินเขา โมซฮกอิน ซึ่งเป็นหินรูปทรงสี่เหลี่ยมตั้งอยู่หน้าของเนิน และ มุนซฮกอิน เป็นรูปปั้นข้าราชการพลเรือน  มูอินซฮก รูปปั้นนายทหาร ซอกมา  รูปปั้นม้า
Yungneung ยุงนึง

สุสานที่มีการประดับตกแต่งด้วยหินปูนปั้น และ หินปั้นของขุนทหาร และ สัตว์ เพื่อปกป้องรักษาหลุมพระศพของพระเจ้าจังโจ และพระชายา

เส้นทางเดินหลังประตูตรงไปทางเดินยาว
 
บริเวณหน้าสุสานนั้นจะแบ่งออกเป็นสักส่วนตามผัง หลังทางประตูจะเป็นเส้นทางเดินยาว เป็นรูปตัว T  เป็นเส้นทางที่้ในการประกอบพิธี แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ฮยังโน เส้นทางสำหรับเคลื่อนย้ายแท่นบูชา บทสวดต่างๆ ที่ใช้สำหรับประกอบพิธี และ ออโร เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสำหรับพระมหากษัตริย์ เราสามาระเดินเส้นทางตรงส่วนนี้ได้แต่เพื่อความเหมาะสมเราควรจะเลี่ยงเดินตรงทางเส้นนี้ได้ เพื่อความสำรวม เราเรียกทางนี้ พยองโน เป็นเส้นทางของข้าราชบริพาร
กอนลึง (Geolleung)   เป็นหลุมฝังพระศพของพระเจ้าจองโจ และ พระมเหสี ฮโยอึน นี้คือความปราถนาสุดท้ายของพระองค์ที่จะถูกฝังใกล้หลุมฝังศพของพระบิดาในยุงนึง คอนลึง มีความคล้ายกันกับ ยุงนึงแต่ไม่เหมือนที่เดียวเนื่องจากไม่มี Byeongpungseok ซึ่งเป็นหินที่มีความกว้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ล้อมรอบเนินดินและล้อมกันไว้ แต่มันจะถูกล้อมรอบด้วย นันกันซอก  ราวหิวในทุกๆ ราวดอกบัวจะถูกแกะสลัก หลุมพระศพของพระเจ้าจองโจนั้นเรียบง่ายและตกแต่งน้อยกว่าของพระราชบิดาของเขาเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเคารพและความรักของพระองค์ที่มีต่อพระบิดาของพระองค์
ด้านหน้าของสุสานหลวงเราจะพบ ฮงซัลมุน หมายเลข 19

ประตูทางเข้าของ กอนลึง

จุดทำพิธีบริเวณสุสาน


หลุมพระศพของพระเจ้าจองโจ และ พระชายาฮโยอึน การตบแต่งจะเรียบกว่าหลุมศพของพระราชบิดา และ พระราชมารดา

ยุงนึง (Yungneung) และ กอนลึง (Geolleung)  ถูกำหนดเป็นโบราณสถานหมายเลขที่ 206  
นอกจากนี้ แจซิล
แจซิล หรือ บ้านแห่งการชำระล้างเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกด้านพิธีกรรมพักชำระจิตใจและร่างกาย โดยปกติเจ้าหน้าที่สุสานจะมาที่นี้เพื่อดูแงสุสานทุกวัน โดยทั่วไปแล้วแจซิล จะประกอบด้วยที่เก็บธูปและ รักษาวัตถุพิธีกรรมห้องครัวของกษัตริย์และเรือนพักของคนใช้ อาคารไม่ได้ตกแต่งด้วยภาพวาดหลากสีบรรยากาศรอบ ๆ ของสุสาน ยุงนึง และ คองนึง มีพื้นที่ป่าโอ๊ต มีจุดนั่งพัก บรรยากาศค่อนข้างจะสงบเงียบ






 
 บรรยากาศของสุสานแห่งนี้ค่อนข้างมีความเงียบสงบ และ งดงามด้วยธรรมชาติ โอบล้อมไปด้วยอากาศที่เย็นสบาย ผู้เดินทางไปสุสานหลวงแห่งนี้ในช่วงเดือนเมษายน อากาศค่อนข้างหนาวแต่ไม่มากเท่าไหร่ การเดินทางมาเพื่อทำการสักการะบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโซชอยถือได้ว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก การเดินทางไม่ยากนักนะค่ะ นั่งรถไฟฟ้าสาย 1 มาลงที่ซูวอน แล้วต่อรถเมล์สาย 46 มาลงที่ยุงกอนลึง  หรือ ลงที่ บยองจอม (Byeongjeom Station )  ทางออกที่ 2
หากต้องการข้อมูลของการเดินทาง หรือ ประวัติที่มา ก็เข้ามาที่นี้ได้ ค่ะ
http://english.visitkorea.or.kr/enu/ATR/SI_EN_3_1_1_1.jsp?cid=778518

เมื่อเดินทางมาเกาหลีและ ไปที่ซูวอน อย่าลืมมาสุสานหลวงแห่งนี้นะค่ะมาสักการะพระศพบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งโซชอน พระเจ้าซาโด ผู้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ หากสนใจลองอ่าน Memoris of Lady Hyegyong บันทึกแห่งความเงียบของพระนางฮเยกยองพระมารดาขององค์ชายลีซานที่ต้องถูกจองจำภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระสวามี เรื่องราวของพระนางแห่งตะกูลฮง มีความน่าสนใจไม่น้อยเพราะพระบิดาของพระนางก็มีเรื่องราวมากมายที่เกิดปัญหากับทั้งพระสวามี และ พระนัดดาคือองค์ชายลีซาน ไว้คราวหน้านางผู้เขียนจะเล่าให้ฟังนะค่ะ
 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น