วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ฮวารัง หนุ่มดอกไม้แห่งชิลลา



Silla Ceramic Warrior (by 대한민국 ì •ë¶€, CC BY)ฮวารัง ชื่อนี้ที่คนจำนวนไม่น้อยรู้จักและเคยผ่านสายตาจากการดูซีรีย์เกาหลี ไม่ว่าจะเป็ฯฃน เรื่องฮวารัง และ ซองต๊อก สิ่งนี้เชื่อมโยงกับ คำว่า หนุ่มดอกไม้ ที่เรามักจะเคยเห็นเกาหลีใช่เรียกเด็กหนุ่มๆ ของพวกเขาในสมัยปัจจุบันเป็นการเอาคำนี้มาเปรียบเทียบกับไอดอลคนดังของเกาหลีนั้นเอง และ มันมีต้นกำเนิดมากจาก องค์กรฮวารังนั้นเอง  แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าหนุ่มหล่อหัวกระทิที่เราพบกันในตัวละครพวกเขามีที่มาที่ไปยังไง เรามาทำความรู้จักกับฮวารังกันผ่านงานเขียนจากนักวิชาการหลายท่าน และ  บันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเกาหลีกันดีกว่าค่ะ 
ขั้นแรกเริ่มจาก ความหมายของคำว่า ฮวารัง  ฮวารัง เป็นการผสมผสานของคำว่า ฮวา แปลว่า ดอกไม้ รัง แปลว่า ผู้ชาย  ดังนั้นคำว่า ฮวารัง จึงแปลว่า หนุ่มดอกไม้ ฮวารัง นั้นมีคำเรียกที่น่าทึ่งว่า อัศวินแห่งดอกไม้ดูไปก็คล้ายๆ กับอัศวินโต๊ะกลมในสมัยพระเจ้าอาร์เธอร์ เลยที่เดียว
จุดเริ่มต้นของ ฮวารัง 
การเริ่มต้นของฮวารัง เกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าจินฮึงแห่งชิลลา (ค.ศ.540-576)  ใน ค.ศ.6 แต่พวกเขาไม่ได้เรียกตัวเองว่า ฮวารัง ในตอนแรกมันถูกเรียกว่า วอนฮวา ซึ่งแปลว่าดอกไม้ดั้งเดิม ในเริ่มแรกประกอบไปด้วยทั้ง ผู้หญิง  และ ผู้ชาย แต่ผู้นำที่เป็นสตรี นำมาซึ่งปัญหาการยกเลิกนำสตรีเข้ารวมองค์กร เรื่องเล่ากล่าวว่า  จองซุง และ นัมโม สตรีผู้นำของ วอนฮวา ได้เกิดโศกนาถกรรมในสมัยของพระเจ้าจินฮึง อันมาจากความริษยา ซึ่งเกิดการวางแผนฆาตกรรมของสตรีผู้นำสองคนแห่งวอนฮวา เล่ากันว่า จองซุงวางแผนฆ่า นัมโม ผู้นำ วอนฮวาในเวลานั้นเกิดความริษยากันด้วย เกิดการวางแผนวางยาพิษ สุดท้ายวอนฮวา ก็ต้องจบสิ้นลง โดยพระเจ้าจินฮึงสั่งยกเลิกการวอนฮวา และ ห้ามสตรีเข้ารวมการองค์กรนี้ตั้งแต่นั้นมา ต่อมามีการสสร้างองค์กร ฮวารังขึ้นแทนวอนฮวา แต่มีกฏห้ามสตรีเข้ารวม
เรื่องราวของ วอนฮวา ปรากฏในบันทึกของ ซัมกุก ซากี และ ซัมกุก ยุซา เล่าถึงเหตุการณ์โศกนาฎกรรมการถูกยกเลิกวอนฮวาไปแล้วเปลี่ยนเป็นฮวารัง แต่อนุญาตให้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่จะเข้ามาภายในองค์กรนี้
Foundation of Hwarang101 วิชาฮวารังขั้นพื้นฐาน : บทที่ 2 ผ่าลำดับ ...
การคัดเลือกเด็กหนุ่มเพื่อก้าวเข้าสู่องค์กรอวารัง
ความที่ฮวารัง ถือ ได้ว่าเป็นองค์กรที่มีสำคัญต่อชิลลาเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีบทบาททางสังคม และ ชัยชนะสำคัญของชิลลา บุคคลที่จะเข้าสู่ฮวารังล้วนเป็นเด็กหนุ่มหัวกระทื ที่เกิดในชนชั้นกระดูกแท้ของชิลลลาทั้งสิ้น พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับการศีกษาในด้านต่างๆ ทั้งศิลปะ และ วัฒณธรรมที่มีความหลากหลาย เพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรสนับสนุนทางทหารในราชสำนักชิลลา และ ก้าวขึ้นมาเป็นบคคลสำคัญทางการเมืองของชิลลา 
การศึกษา และ หน้่าที่ของฮวารัง 
ฮวารัง เป็น องค์กรที่สร้างขึ้นมาเพื่อความมั่นคงของชิลลา บทบาทของพวกเขาในสังคมชิลลา มีหลายด้าน จนขั้นตอนสุดท้ายคือการทำงานให้กองทัพชิลลา เมื่อฮวารังมาจากชนชั้นกระดูกแท้ของชิลลา พวกเขาจึงต้องได้รับการศึกษาศิลปะทางทหาร ควบคู่ไปกับคุณธรรม รักธธรรมชาติ พวกเขาถูกฝึกเพื่อทำหน้าที่หลายอย่างในสังคมชิลลา พวกเขาต้องเข้ามาทำหน้าที่ทั้งทหารและ ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองชิลลา
โครงสร้างทางกองทัพของชิลลานั้นฮวารังไม่ได้เป็นองค์กรทางทหารที่แท้จืง มีการจัดตั้งหน่วยงานทางการทหารเช่นกัน ที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในเขตอำนาจของราชสำนัก เพื่อรับคำสั่งนายพลที่มีสถานะของกระดูกแท้ ดังนั้นไม่แปลที่ฮวารังก็มาจากกลุ่มชนชั้นสูงจากเมืองหลวง มีระบบศักดินา คำสาบาน และ ตราประจำตระกูล  แต่ฮวารังไม่ใช่กลุ่มที่รวมกับกองทัพทำหน้าที่คล้ายกองหนุนมากกว่า   ชิลลานำเยาวชนหัวกระทิเข้ามาเพื่อเสริมสร้างด้านความมั่นคงทั้งทางเมืองและ ทหาร แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนที่จะสนับสนุนข้ออ้างที่ว่า ฮวารังเป็นองค์กรทางทหาร พวกเขาเปรียบเหมือนทหารในทางอ้อม กล่าวคือ ฮวารังมีหน้าที่ให้การฝึกอบรมทางหทารเช่นกันแม้ไม่ใช่แกนนำหลัก นายพลที่ยิ่งใหญ่ทางด้านการทหารของฮวารังในเวลาต่อมาคือ คือ นายพลคิมยูซิน 
นอกจากในบทบาททางทหารพวกเขา พวกเขายังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทรงเจ้าเข้าผี การร้องเพลงเต้นรำ และ ดื่มด่ำตามธรรมชาติตามที่ฮวารังเลือกที่จะเดินทาง ในเรื่องของการทรงเจ้าเข้าผี ยังได้มีการอธิบายต่ออีกว่า ถึงการแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง และ สวมเสื้อผ้าชั้นดี มันคือสัญลักษณ์ในอันการแสดงออกอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ฮวารังเลือกใช้แม้แต่อาจะเป็นการแสดงความจงรักภักดี ดังนั้นบทบาทและหน้าของฮวารังมีสามอย่าง คือ นักรบ หมอผี หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับศาสนา ศาสนาพุทธ มหายาน ถูกนำมาใช้เป็นศาสนาของฮวารัง และ ยึดมั่นและเชื่อในพระศรีอาริยเมไตร เป็นอย่างมาก 
แม้ในละครเราจะห็นบทบาทหลักของ ฮวารังในแง่ของนักรบ แต่จริงช่วงหลังๆ ของโชซอนพวกเขาก็เปลี่ยนไปในการเป็นคนทรงก่อนค่อยๆ หาย ๆไป
บัญญัติห้าประการของ ฮวารัง                                    
บัญญัติทั้งห้าเป็นสิ่งก่อเกิดขึ้นมากับสองสิ่งคือ   พุทธศาสนา ที่เกี่ยวพันธ์กับพระศรีอริยเมไตร  และ ลิทธิขงจื้อ  บัญญตินี้เรียกร้องความภักดีและความกตัญญูมากจากคำสั่งสอนแบบดั้งเดิมของขงจื้อในการรับใช้ผู้ปกครอง และ ประพฤติตนอย่างเหมาะสม 
บทบัญญัติห้าประการประกอบด้วย
1.รับใช้กษัตริย์ด้วยความภักดี
2.ความกตัญญูต่อบิดามารดา
3. ซื่อสัตย์ต่อเพื่อนเสมอ
4.อย่าถอยในการสู้รบ
5.ไม่ฆ่าใครโดยไม่จำเป็น 
อย่างไรก็ตามฮวารังไม่ได้มีการผสมแค่กับขงจื้อและ พุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีร่องรอยของลิทธิเต๋า และ ลัทธิทรงเจ้าเข้าผีพื้นเมืองมารวมอยู่ด้วย ช่างเป็นการผสมผสานหลายอย่างจนเกิดเป็นฮวารัง ไม่แปลกเลยที่ฮวารังจะมีบทบาทหน้าที่ในสังคมชิลลามากกมายไม่ใช่เพียงบทบาทของนักรบเท่านั้น


ที่นี้เรามาทำความรู้จักบุคคลที่ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อองค์กรฮวารัง ทั้งการเป็น ฮวารัง และ วอนฮวา มีทั้งแบบรายบุคคล และ แบบกลุ่มบุคคล เนืองจากฮวารังมีการรวมกลุ่มหลายกลุ่มที่ล้วนมีบทบาทในองค์กรฮวารัง สำหรับบุคคล ที่สำคัญ ที่เริ่มจากฮวารังและกลายเป็นคนทีมึความสำคัญทางด้านการเมืองและการทหารชิลลา เช่น 
คนแรก เรารู้จักเขาเป็นอย่างดี ผ่าน ซีรีย์ เรื่อง ซอนต๊อก เขาคือ คิมยูซิน เป็นฮวารัง และ ได้กลายมาเป็นผู้นำที่สำคัญทางทหารของชิลลา เรื่องราวของเขาปรากฏใน ซัมกุง ยุกซา มีการบันทึกเรื่องราวในแง่มุมของทหาร เขาเป็นที่รู้จักกันดีในนามฮวารังผู้มีชื่อเสียงที่กลายเป็นนายพลคนสำคัญของชิลลา แต่ภูมิหลังของเขามีจุดเริ่มต้นจากฮวารังของความเป็นกระดูกแท้ ชนชั้นสูง ความเป็นนักสู้ของเขามาจากการถูกฝึกฝนจากการเป็นฮวารัง  เขากิดในปี ค.ศ.595-673 คิมยูซิน เป็นคนเชื้อสาย คายา ที่ปกครองทางตะวันตกของชิลลา จาก ค.ศ 42-532  และ ใน ซัมกุก เซกี ที่บันทึกโดย คิมบูซิค  เล่าถึงตำนานการกำเนิดของเขาไว้ว่า บิดาของเขาฝันถึงดาวเคราะห์ ดาวเสาร์ และ ดาวอังคาร ตกลงบนยอดเขา ในขณะที่มารดาของเขาฝันเห็นเด็กมาที่ห้องของเธอสวมเกราะสีทองส่องประกายสุกใสขณะที่เขาลอบอยู่บนก้อนเมฆ เขาคือ บุตรชายของ คิมซอฮยอน และ มานมยอง ปู่ทวดของเขาคือ พระเจ้า คิมแฮ กษัตริย์องค์สุดท้ายของคายา ไม่แปลกที่เขาจะมีกลุ่มฮวารังที่เขาเป็นผู้นำเป็นคายา                                                                      ตามรอยคิมยูชิน สุดยอดแม่ทัพแกร่งของราชินีซอนต๊อก รูปที่ 3
                                                      
คิมยูซิน เป็น ฮวารังที่ประสบความสำเร็จ  เขามีบทบาททางการทหารต่อชิลลาช่วง ค.ศ.7 สงคราม ระหว่าง แพ็คเจ และ ชิลลา มีจีนเป็นตัวแปร ทำให้ทั้งสองอาณาจักรไม่สามารถครอบครองชิลลาได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากความสามารถของ นายพล คิมยูซิน ที่มีต่อชิลลา เขาเป็นผู้นำทางการทหารที่แข็งแกร่งโด่ดเด่นโดยการนำทหารเข้ารวมกับจีนในการเอาชนะทั้ง แพ็คเจ และ โครยอ

     ตามรอยคิมยูชิน สุดยอดแม่ทัพแกร่งของราชินีซอนต๊อก รูปที่ 6                                      
เมื่อเขาอายุ 14  ปี เขาได้เข้ารวม ฮวารัง ซึ่งเป็นกลุ่มของเยาวชนยอดเยี่ยมและหัวกระทิของของชิลลา  เขาอยู่ในกลุ่มต้นดอกไม้มังกร (Band of the Dragon Flower Tree)  คิมยูซิน คือ แบบอย่างความดี และ จิตวิญญาณ ของฮวารัง มีอีกตำ่นานของ ซัมกุก ซากี เล่าว่า เมื่อเขาเข้าไปในถ้ำเขามีอายุ 16 ปี หลังจากการสวดมนต์ภาวนา และ ชำระตัวเอง ในตอนนั้นเองคิมยูซินได้เจอทาสคนหนึ่งนามว่า นันซึง เขาได้เรียนวิชาในการรวมสามอาณาจักรเพิ่อใ้หเป็นหนึ่งเดียว หนึ่งปีต่อมา คิมยูซิน เขาไปยังหุบเขาลึก การขอพรเพื่อให้ดาบของเขามีพลัง หลังจากนั้นสามวันแสงสว่างและดาบก็ส่องมาจากฟ้า และ ดาบสั่นไหว ตำนานนี้ช่วยเธิบายความยิ่งใหญ่ของนายพล คิมยูซิน ความขัดแย้งของสามอาณาจักร คิมยูซินทีความสำคัญอยากมากในการปกป้องชิลลา โดยเกี่ยวข้องราชวงศ์ถัง เพื่อต่อสู้กับแพคเจ คิมยูซินถือได้ว่าเป็นกำลังหลักในการรวบรวมสามอาณาจักรไว้ด้วยกัน


เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ เขาแต่งงานกับน้องสาวของเพื่อนที่ดีของเขา นักการทูตชื่อดัง คิมชุนชู และต่อมาช่วยเขาในการครองราชย์ราชย์กลายเป็นพระเจ้ามูยอล ในปี ค.ศ.641 รัชสมัยของพระราชินี ซอนต๊อก  (ค.ศ.632-647)  คิมชุนชู ถูกส่งไปทำหน้าที่ทูตต่อพระเจ้าโบจัง แห่งโครยอ เพื่อขอความช่วยเหลือจากต่อต้านแพคเจ ที่รุกรานชิลลายิ่งกว่าเดิม อย่างไรก็ตามโครยอยื่นข้อเสนอซึ่งต่อมาถุกปฎิเสธโดยพระราชินีซอนด๊อก ทำให้ คิมชุนโช ถูกจำคุก  ทำให้พระราชินีซอนด๊อก ส่งกองทัพ 1,000  คน โดยมีคิมยูซิเพื่อช่วยเหลือ คิมชุนชู ออกมา แสดงให้เห็นถึงความไว้วางพระทัยต่อเขาเป็นอย่างมากในการทำภารกอจสำคัญ  คิมยูซินเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อราชบัลลังค์จนวาระสุดท้ายของชีวิตเขาในสมัยพระเจ้ามุนมู
สุสาน คิมยูซิน 
Tomb of Kim Yu-sin, Gyeongju
                                                                สุสานคิมยูซิน

รางวัลของพยายามของ คิมยูซิน ที่มีต่อการปกป้องชิลลาทำให้เขาได้รับเกรียติแกคนมากมาย  ภายหลังการเสียชีวิตของเขาในปี ค.ศ. 673 ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่เมืองคยองจู กองหินล้อมรอบด้วยแผ่นหิน 12 แผ่น แต่ละแผ่นแสดงสัญลักษณ์ของจักรราศีสัตว์ตะวันออกที่ได้ทำการแกะสลักไว้เพื่อปกป้องเพื่อใ้ห้ร่างของเขา
คนต่อมา คือ มีซิล สตรีผู้มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์เกาหลี และ ปรากฏในบันทึกของ ฮวรารัง เซกี กล่าวว่า  พระนางเป็นบุตรสาวของแม่ทัพแห่งชิลลา นาม มินจินบู และ พระนาง มโยโด โดยญาติของพระนางเป็นพระมเหสีของพระเจ้าจินฮึง  และ ครอบครัวของพระนางก็ดำรงตำแหน่งขุนนางในพระราชวัง ความสัมพันหล่าวนี้ทำให้พระนางมีซิล มีบทบาทและ อิทธิพลอย่างมากต่อชิลลา เชื่อกันว่าพระนางเกิดใน ปี ค.ศ.540 -ุ 635 พระนางเกิดในชนชั้นสูง กระดูกแท้ของสังคมชิลลา 
บันทึกของ ฮวารัง เซกี ความสัมพันธ์กับ กษัตริย์ชิลลา 3 พระองค์ คือ พระเจ้าจินฮึง พระเจ้น จินจี และ พระเจ้าจินพยอง ในฐานะของพระสนม แสดงการมีอำนาจของพระนางที่มีในราชสำนัก พระนางมีบุตรชายสองคน คือ ฮาจง และ โพจง  ซึ่งบิดาของทั้งสองคนล้วนเป็นคนสำคัญของชิลลานั้นทำให้พระนางคือสตรีที่มีอำนาจต่อรองในราชสำนัก และ ทรงอิทธิพลต่อชิลลา ในช่วง ค.ศ.6 

ซอนต็อก มหาราชินีสามแผ่นดิน

นอกจากนี้ใน ฮวารัง เซกี ได้มีการกล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่สำคัญของฮวารัง นอกจาก กลุ่มมิซิล (กลุ่มทางพิธีกรรม) แล้ว ยังมีอีกหลายกลุุ่มแตกย่อยในองค์กรฮวารัง เช่น กลุ่มมุนโน (กลุ่มทางทหาร) กลุ่มคายา (ที่ประกอบด้วยชนชั้นสูงของคายา คิมยูซินอยู่ในกลุ่มนี้)  กลุ่มแดวอน , กลุ่ม ทงฮัป และ กลุ่ม จินโกล (กลุ่มส่งเสริมพิธักรรมและ สิทธิพิเศษของคนที่มีสถานะกระดูกแท้)
ที่นี้เรามาทำความรู้จัก กลุ่มของ มุนโน ถ้าใครได้ดู ซีรีย์ เรื่องซอนด๊อก มุนโน ถือได้ว่าเป็นผู้นำที่ได้รับความนับถือของ ฮวารัง เป็นอย่างมาก ผู้ติดตามมุนโน ถูกขนานามว่า ผู้มีรูปร่างอรชร แต่ก็ยังคงได้รับการดูถูกทำให้สถานะของผู้ติดตามกลุ่มมุนโนไม่ได้ราบรื่น อาจจะเพราะพวกเขาไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากชนชั้นสู. เนืองจากชิลลายังให้ความสำคัญกับผู้เป็นกระดูกแท้แม้แต่ผู้ติดตามของมุนโนยังได้รับการดูถูกแม้จะป็นฮวารังด้วยกันเองก็ตาม 
หลักฐานและการบันทึกเรื่องราวของ ฮวารัง
เอกสารที่ปรากฏชัด ๆ คือ ซัมกุง ยุกซา , ซัมกุง ซากี หรือ ฮวารัง เซกี ที่บันทึกเรื่องราว บุคคลสำคัญแห่งฮวารัง นักประวัติศาสตร์ได้ให้ความสนใจ ฮวารัง เนืองจากเรื่องราวทางประวัติศษสตร์ที่นักรบที่ปรากฏให้ได้ยิน และ บุคคลสำคัญของชิลลาล้วนมีจุดเริ่มต้นของการฝึกฝนมาจาก ฮวารัง จนกล่าว่า ฮวารัง คือ อัศวินเกาหลี 
ในสวนของ ฮวารังเซกี คือ บันทึกเรื่องราวของฮวารัง แห่งชิลลา เช่นกัน โดยได้เขียนบันทึกเรื่องราวของสมัยพระนางซอนด๊อก โดยคิมบูซิค ได้รวบรวมเรื่องราวของฮวารัง ไว้ทั้ง ตำนาน เกร็ดเล็กๆ น้อย ๆ 
นักประวัติศาสตร์เกาหลียุคใหม่ มองว่า ฮวารังโด และ บูชิโด ญี่ปุ่น มีความคล้ายกันของการรบ แต่ก็จริงในบางแง่มุมเท่านั้น  เยาชนในชนชั้นสูงของชิลลาก็ใช้ชีวิตแบบชนชั้นสูงของพวกเขา ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบซามูไร  ซึ่งแตกต่างจาก วิถีชีวิตแบบ ฮวารัง รักศิลปะ รักธรรมชาติ ในส่วนของ บูชิโด มันคือ วิถีนักรบ แบบ ซามูไร แตกต่างจาก ฮวารังในบ้างเรื่อง แต่กฏบางอย่างมีความคล้ายกัน ฮวารังโด คือ ศิลปะการต่อสู้ของเกาหลีคือความภาคภูมิใจของชาวเกาหลี ดังนั้นความภูมิใจในฮวารังเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ผ่านศิลปะการต่อสู้ของพวกเขา 
ศิลปะการต่อสู้แบบ ฮวารังโด ที่กลายเป็นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ที่ก่อตั้งโดย ลีโจบัง และ ลีโจซัง 
การฝึกฝนศิลปะการต่อสู้แต่ไม่มีเทคนิคการต่อสูู้แบบไม่มีอาวุธที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะจากนักรบ ฮซารัง ฮวารังมุ่งเน้้นไปที่การศึกษาแบบดั้งเดิมและ กลยุทธ์ทางทหารของจีนรวมผสมการต่อสู้ของฮวารัง  
มันเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ที่ว่า ฮวารังคือชายหนุ่มชนชั้นสูงที่รวมตัวกันในภูเขาของเกาหลี เพื่อศึกษา ศิลปะ วรรณกรรม บทกวีคลาสสิคจีน แม้พวกเขาจะไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพดังเช่นทหารอาจะป็นกองกำลังหนุนที่ถือได้ว่าเป็นพลังของการจัดตั้งกองกำลังของชิลลา และ พวกเขาก็คงมีความคงรักภักดีต่อกษัตริย์ และ ประเทศ  ทำให้เรารู้สึกได้ว่าครั้งหนึ่งสถานที่แห่งนี้คือ ที่นักรบฮวารังเคยอยู่
โบราณสถานที่สำคัญของ ฮวารัง คือ วัดชินซัน ตั้งนอกเมืองคยองจู  เราสามารถที่จะสัมผัส ฮวารังได้ที่แห่งนี้ เราสามารถที่จิตนาการถึงการรบของฮซารัง การใช้ชีวิตอยู่ ท่ามกลางหุบเขา ในพื้นที่แห่งนี้ 
เยาวชนฮวารังถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์พิเศษในสังคมชิลลา ชายหนุ่มหัวกระทิรวมตัวกันในองค์กรแห่งนี้ที่มีการสองทักษะหลากหลายมากมาย พวกเขามีความรู้ในศิลปะทางการทหาร วรรณกรรม ศาสนา และ ค่านิยมแบบดั้งเดิม ผสมผสานกับการทรงเจ้าเข้าผี สวดอ้อนวอนเพื่อคุ้มครองชิลลา ในบทบาททางการทหารมันสร้างขึ้นมาเพื่อฮวารังเพื่ออาชีพในอนาคตของพวกเขาดังเช่นนาพล คิมยูซิน โดยรวมแล้วองค์กรฮวารังของชิลลา ก่อให้เกิดผู้นำที่สำคัญโด่ดเด่นและประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในการปลูกฝังเยาวชนชายให้กลายเป็นคนสำคัญทางการเมืองและการทหารแห่งชิลลา 

เครืองแต่งกายฮวารัง 
นี้คือ ตัวอย่างของเครื่องแต่งกายของฮวารัง ปรากฏแสดงในพิพิธภัณฑ์ เกาหลี 

  

ฮวารังในโชซอน และ เกาหลีรวมสมัย  
นักวิชาการหลายคนมีความเห็นขัดแย้งกันในการล่มสลายและการดำรงอยู่ของฮวารังภายหลังการสิ้นสุดของยุคชิลลา พวกเขาหายไปหลังการสิ้นสุดของ ฮวารัง บางคนกล่าวว่า การเป็นนักรบถูกลดบทบาทลง แต่การเป็นผู้รอบรู้ทางกวี ดนตรี และ การเต้นรำของพวกเขาอาจจะยังคงปรากฏอยู่ การหายไปของฮซารังเพราะการจบลงของสงครามชิลลายังเป็นปริศนาต่อไป เรายังคงต้องหาคำตอบต่อไปว่าทำไม ฮวารังถึงค่อย ๆ สูญเสียความสำคัญไปในประวัติศาสตร์เกาหลี 
หลังการล้มสลายของชิลลา เกิดการเสื่อมถอยของฮวารัง  ฮวารังยังคงรอดพ้นการเปลี่ยนแปลงไปได้ และกลับมามีความหมายอีกครั้ง มัน คือ ความหมายของหมอผีชายแทน จนสุดท้ายยกเลิกไปในปลายสมัยโชซอน และ ปัจจุบันนี้  ชื่อของฮารังก็มักจะได้นำมาใช้เป็นชื่อของโรงเรียน องค์กร และ บริษัท ต่อมาปรากฏ ช่วง ค.ศ.20  ฮวารังกลับมาอีกครั้งในรูปแบบเทควันโดฮวารัง เป็นศิลปะการต่อสู้ของเกาหลีที่แพร่กระจายตามประเพณีแบบฮวารัง 
         

https://www.facebook.com/ahencyclopedia/posts/1187513748010034 ;http://christinafarley.blogspot.com/2009/01/hwarang-warriors-of-ancient-korea.html ; https://www.catdumb.com/hwarang-378/




วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ราชินีซ็อนด๊อก และ อุทยานสุสานหลวง Tamuli แห่ง อาณาจักรชิลลาแห่งเมือง เคียงจู 경주시

คยองจู หรือ อ่านว่า เคียงจู  ผู้เขียนขอใช้คำว่า เคียงจู เนื่องจากชาวเกาหลีจะอ่านชื่อเมืองนี้ว่า เคียงจู   เคียงจู เป็นเมืองที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองพิพิธภัณฑ์เปิดของเกาหลี  เมืองแห่งนี้เป็นเมืองมรดกทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรชิลลา ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี  ค.ศ.2000  ผู้เขียนได้เดินทางไปเยือนเมืองแห่งนี้ ถึงสองครั้งในปี ค.ศ.2018-2019 ตัวเมืองนี้จะอยู้ไม่ห่างจากเมืองปูซานเท่าไหร่ เมื่อไปปูซาน ก็อย่าพลาดที่จะมาเยือนเมืองความสงบเงียบผสมผสานกับสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และ โบราณสถานของวัฒนธรรมของชินลา
เมืองเคียงจู เป็นเมืองที่มีท่ามกลางหุบเขา เป็นพื้นที่่ทางประวัติศาสตร์อันเต็มไปด้วยมรดกมากมายที่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมชิลลา พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ คยองจู แบ่งออกเป็นห้าพื้นที่ตามลักษณะธรรมชาติ ปรากฏโบราณสถาน และ โบราณวัตถุที่มีองค์ประกอบของพุทธศาสนาจุดเชื่อม วอลซอง อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังแห่งราชวงศ์ชิลลา ต่อไปยังพื้นที่ของสุสานโบราณแห่งชิลลา สุสานหลวงแดรึงวอง  (Daereungwon Tumuli Park) พื้นที่ต่างของเคียงจูถือได้ว่ามีความเชื่อมต่อกันในแต่ละจุด 
แหล่งโบราณสถานหลายแห่งที่ผู้เขียนได้เดินทางไปค้นหาความยิ่งใหญ่ของหนึ่งในสามอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ คือ ชิลลา  แพคเจ และ โครยอ โดย อาณาจักรชิลลา เป็นอาณาจักรที่ปกครองเกาหลีในช่วงระยะเวลาของสามอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ.1 ถึงก่อน ค.ศ.7   มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 29 พระองค์ ปฐมกษัตริย์พระองค์แรก คือ พระเจ้าฮักกเยคอเซ (박혁거세)  ครองราชย์ 57 ปีก่อน ค.ศ.-  ค.ศ.4 และ องค์สุดท้ายคือ พระเจ้ามูยูล ค.ศ.ุ654-661  หลักฐานสำคัญในกาค้นพบและ มีการพูดถึงชิลลานั้นคือ มงกุฎทองคำ จากการขุดค้นสุสานหลวง เกล่าวกันว่าเกิดในสมัยของพระเจ้า นุลจี ( Nulji 눌지 마립간 ค.ศ.417–458) เป็นการสร้างมรดกของมงกุฎจากพ่อไปสู่บุตรชาย  จากพ่อไปยังบตรชาย สิ่งนี้มีการสืบทอดกันมาระหว่างการสืบทอดอำนาจของอาณาจักรซิลลา และ ยังปรากฏหลักฐานให้เราได้เห็นจนเวลานี้ อาณาจักรชิลลาต้องต่อสู้มาตลอดเวลาหลายศตวรรษเคียงข้างมากับ ดินแดนโครยอ แพคเจ และ คายา ทั้งสี่อาณาจักรนี้ต่างต่อสู้เพื่อควบคุมคาบสมุทรเกาหลี อำนาจและ ความยิ่งใหญ่ต่างสับเปลี่ยนกันไปมา  อาณาจักรชิลลาได้เปรียบเนื้อจากมีชัยภูมิที่ดี ล้อมรอบด้วยภูเขา  ต่อมาอาณาจักรชิลลา และ อาณาจักรโครยอได้ รวมกันเป็นพันธมิตรเพื่อปราบกองทัพญี่ปุ่น ช่วง ค.ศ 400 แต่เมื่อโครยอเริ่มมีความทะเยอทะยาน อาณาจักรแพคแจ และ อาณาจักรชิลลา จึงเริ่มหันมาเป็นพันธมิตรกัน ในค.ศ. 433  และ ค.ศ.533

แผนที่ของ สามอาณาจักร แพคเจ ชิลลา และ โครยอ

ชิลลาเจริญรุ่งเรื่องอย่างมาก ในสมัยของะ พระเจ้าจีจึง  Jijeung (지증왕)  (ค.ศ.500-514) ปรากฏผลผลิตทางการเกเกษตกรที่เพิ่มขึ้นมาจากคันไถที่ใช้วัว และ การสร้างสรรค์ระบบชลประทาน อาณาจักรชิลลาได้รับประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น เหล็ก และ ทองคำ  สินค้าและการผลิตของชิลลา รวมไปถึงผ้าไหม เครื่องหนัง เซรามิก และ เครื่องโลหะ อาวุธ ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูและของรัฐ
การต่อสู้ ระหว่าง ชินลา แพคเจ และ โครยอ  โดยมีจีนเป็นตัวแปรคือ ราชวงศ์ถัง


มงกุธทองคำ จากสุสาน ที่ ฮวังนัม เคียงจู  ค.ศ 5-6  มงกุฎทำมาจากแผ่นทองและตกแต่งด้วยม็ดหยก และจี้รูปพระจันทร์เสี้ยว ส่วนที่ตั้งตรงเหมือนต้นไม้ ความสูง 27.3 ซ.ม. สมบัติเแห่งขาติหมายเลขที่ 191 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เคียงจู

ต่อมาความสัมพันธ์ของ อาณาจักรชิลลา และ อาณาจักรแพจเจ ก็มีเริ่มปัญหาเมื่ออาณาจักรชิลลาสามารถครอบครองส่วนหนึ่งของหุบเขาแม่น้ำฮันตอนล่างในปี ค.ศ.554 ในการต่อสู้กับที่ ควาซัน (ปัจจุบัน คือ อ๊กชอน) ชิลลาเอาชนะกองทัพของ อาณาจักรแพคเจของพระเจ้าซง เป็นผลให้อาณาจักรชิลลาสามารถเข้าถึงฝั่งตะวันตก และ ทะเลเหลืองทำให้เชื่อมโยงกับจีนมากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 562 อาณาจักรคายา ก็ได้ถูกรวมเข้ากับอาณาชิลลาทั้งหมด คงเหลือ อาณาจักรแพคเจ และ อาณาจักรโครยอ  ที่ยังได้มาไม่สมบุรณ์ ในช่วงปี ค.ศ. 618-907  อาณาจักรชิลลา และ จีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถัง รวมกันเพื่อสู้รบ กับ อาณาจักรแพจเจ และ อาณาจักรโครยอ แต่ไม่ประสบความสำเร็จพ่ายแพ้อาณาจักรโครยอ ในปี ค.ศ.644 ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้ทางการเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การต่อสู้เพื่อแย้งชิงความเป็นหนึ่งของทั้งสามอาณาจักร ปรากฏขึ้นตลอดเวลาโดยมีจีนเป็นตัวสอดแทรกจนกระทั่งในปี ค.ศ.676 อาณาจักรชิลลาก็ถือได้ว่ามีบทบาทเหนือดินแดนทั้งสองอาณาจักรในคาบเกาหลี

การปกครองของอาณาจักรชิลลา และ ระบบชนชั้น 
การปกครองของอาณาชิลลานั้น กษัตริย์มีอำนาจไม่เด็ดขาดเนื่องจากถูกคานอำนาจโดยสภาขุนนาง ฮวาแบค ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตัดสินประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ อย่างเช่นเรือง การประกาศสงคราม  สังคม และ เศรษฐกิจ
อาณาชิลลาจึงเป็นอาณาจักรที่มีประมุขของอาณาจักรมี ทั้ง บุรุษ และ สตรี  ที่เรารู้จักกันดี คือ พระราชินีที่เรารู้จักกันอย่างมาก ปรากฏในซีรีย์ดัง คือ  พระราชินีซอนด๊อก  ครองราชย์ในปี ค.ศ.632-647 โดยผู้เขียนขอเน้นถึงพระองค์ ทั้งบทบาท ทางการเมือง สังคม และ ศาสนา พระนางถือได้ว่าสร้างความสั่่นคลอนให้แก่ระบบชนชั้นของอาณาจักรชิลลาได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสตรีที่สามารถจะครองราชย์ได้เช่น บุรุษ  พระนางเป็นพระธิดา ของพระเจ้าจินพโยอง ค.ศ.579-632) และ พระมเหสีมายา ของอาณาจักรชิลลา  เรื่องราวของพระนางได้รับการกล่าวถึงเนื่องจากปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุนั้นคือ หอดูดาวชอมซองแด Cheomseongdae เรื่องราวของพระมางผู้เขียนคิดว่า ควรจะนำมาแบ่งปันเนื่องจากพระนางสร้างสิ่งก่อสร้างที่กลายมาเป็นมรดกโลก ประวัติศาสตร์ และ เรื่องราวของ พระราชินีซอนด๊อกล้วนปรากฏใน ซัมกุก ซากี


ภาพวาดของพระนางซ็อนด๊อก จาก https://en.wikipedia.org/

พระนางซอนด๊อกมีพี่สาว คือ องค์หญิงซอนมยอง ซึ่งเรื่องของพระนางมีปรากฏใน ซีรีย์เรื่อง ซอนด๊อก แต่มีองค์หญิงอีกหนึ่งพระองค์แต่ยังไม่มีปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนดังนั้นผู้เขียนจึงไม่สามารถจะเขียนยืนยันข้อมูลนี้ได้ กลับมาที่พระนางซ็อนด๊อก ครองราชย์ปี 15 ปี ค.ศ.ุ632-647   พระนางได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ถัง และพระนางถือได้ว่าเป็นบุคคลที่พัฒนาหลายอย่างให้แก่อาณาจักรชิลลา  ทั้งด้านการเกษตร การดาราศาสตร์ และ ทำนุบำรุงทางพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาหลักในสมัยนั้น   พระนางสืบทอดราชบัลลังค์จากพระบิดา คือ พระเจ้าจินพยอง   เนืองจากพระบิดาของพระนางไม่มีรัชทาทายาทเป็นพระโอรส 
อันที่จริงแล้วสตรีสามารถปกครองได้หรือไม่นั้น พิสูจน์ได้จากการขึ้นครองราชย์ของพระราชินีซ็อนด๊อกในสมัยที่อาณาจักรชิลลาปรากฏ ระบบกระดูกปรากฏขึ้นในชิลลา  สถานะของสตรี ในสายเลือดและระบบชนชั้นทางสังคมของชิลลาที่มีความเข้มแข็ง การที่พระเจ้าจินพยองไม่มีพระโอรส ระบบชนชั้นทางสังคมทั้งหมดได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เพื่ออนุญาตให้สตรีได้ขึ้นปกครองประเทศ สมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองสมัยหนึ่งของชิลลา เรื่องราวของพระองค์ปรากฏใน หนังสือ ซัมกุกซากี และ ซัมกุกยูซา ที่แต่ขึ้นในสมัยโครยอ พระนางมีพระนามเดิมว่า ท๊อกมาน (덕만) ปีเกิดไม่ปรากฎชัดเจน เป็นพระธิดาองค์โตของพระเจ้าจินพย็องแห่งชิลลา กับพระนางมายาแห่งตระกูลคิม เอกสารของ ซัมกุกซากี กล่าวว่าพระนามเดิมของของพระองค์หญิง คือ ท๊อกมานเป็นพระธิดา แต่ในเอกสารของซัมกุกยูซากล่าวว่าพระองค์เป็นพระธิดาคนที่สอง ข้อมูลยังคงขัดแย้งกันอยู่ แต่เราจะขออ้างอิงจาก ซัมกุกซากี พระนางมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ได้แก้องค์หญฺงซ็อนมย็อง (พระนางเป็นพระมารดาของพระเจ้ามูยอลแห่ง กษัตริย์ลำดับที่ 29 แห่งอาณาจักรชิลลา) และ เจ้าหญิงซอนฮวา (อภิเษกพระเจ้ามูแห่งอาณาจักรแพกเจ และเป็นพระมารดาของพระเจ้าอียจาแห่งอาณาจักรแพกเจ) ก่อนจะมาทำความเข้าใจเรื่องระบบชนชั้นอาณาจักรชิลลาเรามาทำความรู้จัก เรื่องราวของ คำว่า กระดูกศักดิ์สิทธิ์ 
ตามระบบ  bone rank system หรือ ระบบกระดูกศักดิ์สิทธิ์   คำว่ากระดูก หรือ ตำแหน่ง หรือ กุลพุม เจโด  Golpum (골품제도) มีการพัฒนาจากของอาณาจักรชิลลานั้นเอง ในช่วง ค.ศ.5-6 การกำหนดลำดับชั้นทางพันธุกรรมของบุคคลลำดับชั้นทางพันธุกรรมของบุคคลนั้นบ่งบอกว่าพวกเขามีความเกี่ยวพันกับชนชั้นสูอย่างใกล้ชิดจึงมีสิทธิพิเศษในสังคม 
อ้างอิงจาก ซัมกุก ซากี อันดับของกระดูกสูงสุดคือ ชนชั้นซองโกล (성골 Seonggol) บางครั้งเรียกว่ากระดูกสักการะบูชา หรือ กระดูกศักดิ์สิทธิ์ (Hallowed Bone) บางครั้งยังไม่มีการบันทึกอย่างเฉพะเจาะจงถึงความแตกต่างระหว่าง กระดูกศักดิ์สิทธิ์  และ กระดูกแท้จริง แต่ที่ยอมรับคือ กษัตรย์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่ในกลุ่มนี้ ระบบนี่ปิดตัวลงเนืองมากจากการที่พระเจ้าจินพยองไม่มีพระโอรสสืบต่อราชสมบัติ ซึ่ ในขั้นต้นคนที่ได้รับการจัดอันดับของกระดูกศักดิ์สิทธิ์อาจจะกลายเป็นกษัตริย์ และ ราชินีของชิลลาได้  อันดับที่สองคือกระดูกแท้ หรือ จินโกล (진골 Jingol)  ซึ่งไม่ได้มีเชื้อสายจากราชวงส์ชิลลาแต่เพียงอย่างเดียว ด้านล่างของแถวหน้าเหล่านี้คือส่วนหัว dumpum ,6,5,4, นายทหารระดับ 6 บุคคลที่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและข้าราชการทหารระดับสูงได้ขณะที่สมาชิกระดับ 4 สามารถเป็นข้าราชการระดับล่างได้เท่านั้น 
สิทธิพิเศษเฉพาะของกลุ่มกระดูก ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีความเข้มแข็งอย่างสูง อันดับของกระดูกที่ศักดิ์สิทธิ์มาพร้อมกับสิทธิพิเศษในการครองบัลลังก์ และ แต่งงานกับสมาชิกคนอื่นๆ ตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์ สมาชิกในกลุ่มศาสนาศักดิ์สิทธิ์มาจากครอบครัวของราชวงศ์ คิม ที่ก่อตั้งราชวงศ์ชิลลา 
พระเจ้าจินพย็องได้ทำการแต่งตั้งเจ้าหญิงท๊อกมานในฐานะที่ทรงเป็นพระธิดาชองโกลองค์โตสุด ให้ได้ดำรงตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาทเพื่อสืบทอดราชบัลลังค์ชิลลา เนื่องจากองค์หญิงท๊อกมานเพียบพร้อมไปด้วยชาตืฃลิกำเนิดและ พระปรีชาสามารถ  รัชสมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรชิลลา พุทธศาสนา นิกายมหายาน ถือได้ว่าเจริญรุ่งเรืองมาก  ภารกิจแรกของพระนางคือการให้ความช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ พัฒนาด้านการเกษตร เพื่อช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปดียิ่งขึ้นไป
ในสมัยของพระนางอาณาจักรชิลลาได้ขยายอำนาจเข้ารุกรานอาณาจักรแพคเจในสมัยของพระเจ้ามูแห่งแพกแจ ขุนพลที่ถิอได้ว่ามีความสำคัญในสมัยของราชินีซ็อนด๊อกคือ คิมยูซิน ผู้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรแพกเจ 
ในสมัยของพระราชินีซ็อนด๊อก มีการแลกเปลี่ยนการค้ามาอย่างยาวนาน ทั้งยังแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กับจีน ราชสำนักราชวงศ์ถัง มี นักเรียน นักวิชาการชิลลา ได้รับการส่งไปจีนเพื่อทำการศีกษาเล่าเรียน พระราชินีซ็อนด๊อก เสริมสร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อช่วยกันในการต่อสู้กับแพกเจ และ โครยอ แม้การต่อสู้ของอชิลลาได้รับการโจมตีจากโครยอ  โดยนายพล ยังมันชุน ในปี ค.ศ.644  การสู้รบไม่ประสบชัยชนะหลายครั้ง
รัชสมัยของพระนางก็ยังมีการสร้างหอดูดาว ซอมซองแด ที่ถือได้ว่า ผู้ที่ไปเยือนคยองจูจะต้องแวะไปที่นั้น ผู้เขียนได้เดินทางไปคยองจู และ ก็ได้พบสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ  ในสมัยของพระนางเป็นช่วงเวลาแห่งความสำเร็จทางนโยบายต่างประเทศ เกิดความรุ่งเรื่องทางด้านศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ รัฐเป็นศูนย์รวมทางอำนาจมากขึ้น ศษสนาพุทธได้รับการสนุบสนุนสืบต่อไป  ราชินีซ็อนต๊อกทรงดูแลโครงสร้างใหม่อย่างมากมาย โดยเฉพาะวัดในพุทธศาสนาแต่เนื่องจากโบราณสถานของวัดในสมัยนั้นทำมาจากไม้ทำให้ไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานมายังปัจจุบันนี้ แต่คงเหลือเจดีย์ หรือ โครงสร้างบริเวณฐานของวัด และ อาราม นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่พระนางสร้างขึ้นมาในช่วงรัชสมัยของพระนางอีกด้้วยเช่นกัน 
หอดูดาว ช็อมซองแด
ดังที่ทราบว่าพระนางได้สร้างหอดูดาว ช็อมซองแด มีความสูง 9 เมตรทำหน้าที่ดังนาฬิกาแดดหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่่งรับแสงของดวงอาทิตย์ บนพื้นภายในของแต่ละช่วงเวลาของกลางวันและการคืนที่เท่ากัน มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความซับซ้อนขนาดใหญ่อันเป็นแนวความคิดตามหลักวิทยาศาตร์ และ ดาราศาสตร์โดยเฉพาะ  เป็นหอดูดาวที่ถิอได้ว่าเก่าแก่แห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออก หอดูดาวนี้มีหลักสูตรอิฐ 27 รายการเป็นตัวแทนของราชินีซ็อนด๊อกพระนางคือ กษัตริย์ที่ 27 ของชิลลา และ ยังหมายถึงดวงดาว 27 กลุ่ม 
หอดูดาวนี้มีลักษณะ การแบ่งชั้นตรงกลาง ออกเป็น 3 ชั้น เพื่อเป็นช่องหน้าต่างโดยด้านบนและ ด้านล่างของขอบหน้าต่าง แบ่งออกเป็นด้านหน้าละ 12 ชั้น หมายถึงจำนวนเดือน 12 เดือนในรอบหนึ่งปี ลักษณะของสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแถบโวลซ็อง 
หอดูดาว ชองซองแด
 วัดฮวังนย็องซา (황룡사)
วัดฮวังนย็องซา (황룡사) ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นสมบัติของทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศเกาหลี การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.553-569,สมัยพระเจ้าจินฮึงถึงสมัยพระเจ้าจินจี มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุกว่า 40,000 ชิ้น วัดแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก หมายเลข 6 ปี พ.ศ.2506 จาการขุดค้นในเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2512 พบการวางศิลาฤกษ์ขนาดใหญ่ของห่องฟังเทศน์หอประชุมและเจดีย์  การขุดค้นทางโบราณคดี และ  การศีกษากว่า 8 ปี ได้เปิดเผยรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์หนึ่งองค์ และ สามห้องโถง แท้จะมีหินฐานรากและโครงสร้างอื่น ๆ แต่ไม่พบร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการออกแบบของวัดทำให้การบูรณะวัดมีความเป็นไปได้ยาก ขนาดของวัดจากการค้นพบทางโบราณคดีมีขนาด  70 เอเคอร์ 


เปรียบเทียบโครงสร้างที่ยังเหลืออยู่ของ วัดฮวังนย็องซา (황룡사) 

กล่าวว่าโครงสร้างหลักทำมาจากไม้ที่สร้างเสร็จใน ค.ศ.7 โครงสร้างมีขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชิลลาในช่วงเวลาหนึ่ง มีเจีดย์ที่เชื่อว่ามีความสูง 68-70 เมตรเป็นไม้ทั้งหมดยกเว้นฐานรากซึ่งครอบคลุม 565 ตารางเมตร มีการสันนิษฐานว่าผู็สร้างเจดีย์ไม้เก้าชั้นคือ พระราชินีซ็อนด๊อก  ที่ได้ทำการสร้างส่วนนี้ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญของวัดแห่งนี้โดยสถาปนิกของแพคเจเป็นต้นแบบการสร้างเจดีย์แห่งนี้  เจดีย์สร้างเสร็จปี ค.ศ.645  ถิอได้ว่าเป็นอาคารที่มีความสูงที่สุดของเอเชียตะวันออก กล่าวกันว่า เมื่อครั้งที่เกิด กบฎขึ้นในสมัยของพระราชินีซ็อนด๊อกโดย พีดัม มีการกล่าวอ้างว่า เนื่องมากจากพระนางได้นำเงินจำนวนไม่น้อยไปใช้ในการสร้าง  วัดฮวังนย็องซา (황룡사) ทำให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน เป็นหนึ่งในเหตุผลของผู้คิดกบฎใช้สิ่งนี้ในอ้างความชอบธรรม

สุสานชอนมาชอง 
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว จุดท่องเที่ยวที่ถือได้ว่าเป็น landmark ของเคียงจู คือ อุทยาน Tamuli ในพื้นที่ประวัติศาสตร์เคียงจู เกิดขึ้นในสมัยของอาณาจักรชิลลา เป็นสถานที่ฝังพระศพของราชวงศ์ และ บุคคลสำคัญ เป็นหลุมฝังศพคู่ ที่ฝังศพของ สามี และ ภรรยาไว้ด้วยกัน ในบริเวณนี้พื้นที่ของสุสานที่ผู้เขียนอยากมาทำความรู้จักคือ สุสานม้าสวรรค์ ที่เรียกว่า ชอนมาชอง (Cheonmachong Tomb) (대릉원(천마총) อยู่ในสุสานแดรึงวอน เป็นสุสานหมายเลข 155 ที่ไ้ด้ทำการขุดค้นในปี ค.ศ.1983 เนินดินมีความสูง 12.7 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เมตร ประกอบไปด้วยชั้นหินที่รวบรวมจากลำธารด้านล่างของชั้นหินเป็นห้องไม้ที่ขนาดยาว  6.6 เมตร และ กว้าง 2.1 เมตร สูง 2.1 เมตร โดยไม่มีโลงศพไม้อยู่ตรงกลาง มีการค้นพบสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมด 11,526 ชิ้น ขึ้นภายใต้หลุมฝังศพรวมทั้ง งานศิลปะที่มีค่ามากเนืองจากถือได้ว่าเป็นงานศิลปะชิ้นแรกของเกาหลีที่ขุดพบจากหลุมศพโบราณ   


สุสานชอนมาชอง เคียงจู 

สุสาน ชอนมาชอง  คือ สุสานหลวงของอาณาจักรชิลลาโบราณในช่วง ค.ศ.5-6  สาเหตุที่เรียกว่า สุสานม้าสวรรค์ เนื่องจากภาพวาดของสัตว์ ม้ากระพือบนแผ่นเปลือกไม้ ถูกพบภายในนั้น  สิ่งที่พบภายในนี้นั้น มีทั้งมงกุฎทอง เครื่องประดับทอง ,สายคาดทอง และถ้วยแก้วสีน้ำเงิน สุสานไม่มีจารึกอยู่ข้างในเพื่อระบุว่าใครเป็นเจ้าของ แต่การค้นพบมุงกุฎทองคำทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นกลุมฝังศพของเกษัตริย์ชิลลา

ห้องของสุสานเป็นลายไม้ และ ปกคลุมดัวยเนินหินของชั้นดินเหนียวเพื่อป้องกันน้ำ จากนั้นทั้งหมดจะถูกปกคลุมด้วยชั้นดินโดยไม่ทิ้งจุดเชื่อมต่อ


ภาพวาดม้าบนแผ่นไม้
 cr.https://www.ancient.eu

  


อะไร คือ ม้าสวรรค์  ม้าถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญมาอย่างยาวนานในวัฒนธรรมเกาหลีโบราณ วัฒนธรรมของคาบสมุทรม้าถือได้ว่ามีความสำคัญ ดั่งปรากฏหลักฐานของการเครื่องประดับของมัา ม้าเป็นสินค้าที่ใช้ในการส่งออกของเกาหลีมาหลายศตวรรษ ในอดีตที่ผ่านม้า ม้าตัวถูกสังเวยด้วยราชาแห่งหลุมฝังศพนี้ แต่ม้ากระพือบนแผ่นเปลือกไม้ มักจะทำการวาดเป็นรูปม้าขาวปีก ชื่อที่เรารู้จักคือ สุสานม้าสวรรค์ ม้าถูกทาสีเต็มการควบม้ากับแผงคอและหาง นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายรูปจันทร์เสี้ยวที่น่าใจบนร่างกาย ของนักวิชาการบางท่านคนเชื่อมโยงหยกจากซีเรีย มันคือภาพวาดยุคแรกๆสุดของเกาหลีโบราณ ปีกอานม้าอื่นๆ ในสุสาน ได้รับการเก็บรักษาอย่างระมัดระวังหีบไม้ มีการทาสีคล้ายกัน แต่ราวนี้มีทหารม้า และ อีกหนึ่งกับนกฟีนิกซ์
นอกจากนี้สุสานนี้ยังมี มงกุฎทองคำ ที่ค้นพบที่ สุสานม้าสวรรค์   แห่งเมืองเคียงจู อายุใน ค.ศ.6 มีการประดับไปด้วยทองคำ และ หยก สูง 32.5 ซ.ม. สมบัติแห่งชาติหมายเลข 188 ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เคียงจู 


มงกุฎทองคำ สุสานชอนมาชอง
https://www.ancient.eu/uploads/images/5979.jpg?v=1569515854


เรื่องราวของเมืองประวัติศาสตร์เคียงจู ยังคงมาสถานที่อีกหลายแห่ง และ แหล่งขุดค้นที่น่าสนใจ สำหรับใครก็ตามที่สนใจเรื่องราวของอาณษจักรชิลลานั้นที่นี้สามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครก็ตามที่ได้เดินทางมาเยี่ยมชม เกาหลีใต้ ในส่วนเรื่องของพระราชินีซ็อนด๊อก กล่าวว่าในสมัยที่พระนางครองราชย์พระนางล้มป่วยในช่วงเวลาเดียวกับกบฎพีดัม เกิดการไม่ยอมรับพระนางในการเป็นสตรีครองราชย์ แต่ กษัตริย์พระองค์ต่อมาคือ สตรีเช่นกัน คือ พระราชินีจินด๊อก กษัตริย์ลำดับที่ 28 ครองราชย์ ปี ค.ศ.647-654 และ ผู้ที่ปราบกบช คือ คิมยูซิน และไม่นานก่อนเรื่องจะถึงจุดปลายจบ 
นี้คือเรื่องราวคราวๆ ของ อาณาจักรชิลลา ที่ดำรงเป็นราชอาณาจักรจนถึงปี ค.ศ. 935 ก่อนจะรวมกันกลายเป็นโชซอนในที่สุด จริงๆ ที่เคียงจู ยังมี ซอกกุลรัม , พุลกุกซา , Anapji , หมู่บ้ายวัฒนธรรม คโยชอน หรือ แม้แต่ ซอวอน โรงเรียนโบราณแนว ขงจื้อ  เป็นต้น
การเดินทางมาที่เมืองเคียงจู สามารถมาได้ ทั้งทางรถเมล์ และ ทาง KTX  ลงที่ เมืองเคียงจู การเที่ยงชมเมือง มีทั้ง ทางรถเมล์ จักรยาน และ เดิน เนืองจากพื้นที่แต่ละแหล่งท่องเที่ยวไม่ไกลจากกันมากนัก 
cr.https://www.ancient.eu , wikipedia , https://www.tripadvisor.com , https://www.greelane.com/th,