วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

Gimhae เมืองแห่งเรื่องราวของพระเจ้าซูโร แห่งอาณาจักร คายา กับ พระราชินี ฮอฮวังอก ราชินีจากแดนไกล

ในทริปนี้ผู้เขียนขอแนะนำเมืองหนึ่งสำหรับผู้ที่ได้เคยเดินทางไปปูซานแน่นอนท่านจะต้องลงที่สนามบินกิมแฮ เมืองที่หลสยคนแทบจะไม่สนใจว่ามันคือเมืองแห่งเรื่องราวของประวัติศาสตร์อาณาจักรที่คนลืมๆ ไป นั้นคือ คายา  เพื่อจะผ่านจะไปปูซานเรามารู้จักเมืองทางผ่านดินแดนแห่งตำนานของพระเจ้าซูโร กษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรคายา
เมืองกิมแฮ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่จังหวัด คย็องซังใต้ประเทศเกาหลีเป็นที่ตั้งของตะกูล คิม กิมแฮ (Kim Gimhae)  ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเผ่า คิม ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี คิม กิมแฮ  อ้างการสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์โบราณของ Geumgwan Gaya ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกิมแฮ เมืองกิมแฮตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำนักดง (Nakdong river)  ทีแหล่งทางโบราณคดี และ ประวัติศษสตร์หลายที่ๆ น่าสนใจสำหรับเมืองเล็ก ๆ แห่งนี้
สถานที่ที่ได้เดินทางไปครั้งนี้ถือได้ว่ามีความน่าสนใจ โดยมีพิพิธภัณฑ์กิมแฮที่จัดแสดงเรื่องราวของคายา และ พิพิธภัณฑ์พื้นเมืองกิมแฮ โดยผู้เขียนได้เดินทางไปทั้งสองที่ และ ยังได้เดินทางไป สุสานของกษัตริย์ซูโรปฐมกฐัตริย์แห่งอาราจักรคายา และ อาณาจักรคายาถือได้ว่ามีความสำคัญที่ตั้งอยูท่ามกลางสามอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งเกาหลี  คือ โคกูรยอ แพ็กเจ และ ชิลลา

แผนการกระจายตัว โคกูรยอ แพ็คเจ ชิลลา และ คายา

โดยคายาตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ของ อาณาจักร ชิลลา และ แพ็กเจ

คายาเป็นเหมือนรัฐกันชนระหว่าง แพ็กเจ และ ชิลลา





อาณาจักรคายาเป็นสมาพันธ์ที่ปกครองอยู่เกาหลีตอนกลางในช่วงระยะเวลาแห่งสามอาณาจักรตั้ง ในพุทธศตวรรณที่ 6-11 คายาเป็นดินแดนที่ปกครองคาบเกี่ยวกับสามอาณาจักรยิ่งใหญ่จนทำให้คายาแทบจะถูกลืมไปในยุคนี้ เป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่เหล็กและช่างฝีมือของคายากลายเป็นคนผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความสามารถทางด้านงานช่างสังเกตุจากของในพิพิธภัณฑ์ของ คายา ความรู้ในการทำแร่เหล็กถือว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ  จากที่ผู้เขียนได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์กิมแฮ ได้พบชุดเกราะ หมวก ทั้งของคน และ ของสัตว์ปรากฏโชว์หลายชิ้น อันแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรรมชั้นสูงของการทำจัดทำอาวุธ และ สิ่งของต่างๆ จากแร่เหล็ก จุดสิ้นสุดของคายาชัดเจนเมื่อต้องตกอยู่ใต้อำนาจของชินลา ในปี พ.ศ.1105 ถ้าอยากจะเข้าใจแบบนิด ๆ หน่อย ลองไปดู ซอนต๊อกนะค่ะ มีเรื่องของคายา และ การรวมมือกับชินลาในการต่อสู้
เมื่อเราอยากรู้เรื่องของคายา กษัตริย์ซูโร ถืดได้ว่าเป็นบุคคบที่บุกเบิกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เรื่องราวข้อเท็จจริงระบุไว้ใน Samgungnyusa (เหตุการณ์ที่น่าจดจำแห่งสามอาณาจักร) ในส่วนของ Garakgukgi ซึ่งบันทึกโดยนักเขียนที่ถูกส่งไปยังเมืองกิมแฮ  กิมแฮที่รู้จักกันในเวลานั้นว่า Geumgwan (กึมควาน)  มีการบันทึกเรื่องราวและเขียนใหม่ไว้ใน Samgungnyusa
จากบันทึกของ Garakgukgi กล่าวไว้ว่า เมื่อโลกเริ่มขึ้น ไม่มีประเทศใดเลยที่มีกษัตริย์ และ ขุนนางคงมีแต่ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ มีผู้นำเก้าคนปกครองคนกว่า 70,000 คน อาศัยอยู่ในบ้าน 100 หลัง แต่ไม่มีการเรียกกษัตริย์ ดังนั้นกษัตริย์ซูโร จึงเป็นราชาองค์แรกที่ได้รับการแต่งตั้งชื่อ ในกาษาจีนคำว่า ซูโร หมายความได้ว่า  ซู แปลกว่า หัว โร หมายถึงปรากฏตัว
มีตำนานได้บอกเล่าเรื่องราวของไข่ทองคำหกใบกล่องทองคำที่ห่อด้วยผ้าสีแดง กล่าวว่ามีการลอยลงมาจากสวรรค์จากจุดสูงสุดของยอดเขา Gujibong หลังจากผ่านไป 12 วันไข่ก็ฟักออกมา เด็กชายหกคนฟักตัวออกมา และ พระเจ้าซูโรคือ หนึ่งในนั้น เด็กชายทั้งหกคนกลายเป็นพระราชาและปกครองส่วนอื่นๆของแผ่นดิน อย่างไรก็ตามกษัตริย์ซูโร ทรงเลือกที่ดินเพื่อสร้างเมืองหลวงเป็นครั้งแรกพระองค์เรียกว่า การัค Garak  หรือ ในนาม คายา  Gaya

พระเจ้าซูโร
                                                   
ช่วงเวลาของคายา ปรากฏในช่วง  พ.ศ.585-1075 แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่จะเน้นย้ำการมีอยู่ของคายาว่าอยู่ในช่วงเวลา พุทธศตวรรษที่ 7 เด คายา (Tae Kaya) ถือได้ว่าอำนาจมากสุดในจำนวน 6 เผ่า ต่อมารู้จักกันดีในนามใของ Pon Kaya  หรือ Geumgwan Gaya  (พน คายา) (ต้นฉบับคายา) สิ่งเหล่านี้พัฒนามาจาก 12 รัฐของ Pyonhan . พื้นที่มีได้รวมและ ควบคุมของคายาอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ นัดดง และ ทางใต้ของภูเขาคายา เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ พน คายา (Pon Kaya )
จากเรื่องราวของกษัตริย์ซูโร  ตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับพระราชินีต่างชาติแห่งกษัตริย์ซูโร  นามว่า พระนางฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok) ต้นกำเนิด สกุล  ฮอ เมื่อเรากล่าวถึงคายา ราชินี ฮอฮวังอกอ หญิงต่างชาติคนแรกที่ได้แต่งงานกับชนชั้นนำของเกาหลี ในเอกสารความสัมพันธ์อินเดีย-เกาหลีได้กล่าวถึงเรื่องนี้ถึงความฝันอันศักดิ์สิทธิ์รวมสองวิญญาณและสองชาติของเผ่า  มีเรื่องเล่าของพระนางกล่าวว่า เจ้าหญิงต่างชาติองค์นี้มาจากอินเดียแล่นเรือมาจากอโยธยาเพื่อแต่งงานกับพระเจ้าซูโรซึงเป็นชาวเกาหลี สุสานของพระนางฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok) ที่ตั้งไม่ไกลจากของพระเจ้าซูโร  ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรักและความสำคัญที่ได้รับการยกย่องจนมีเรื่องเล่าของพระนางสืบต่อมาจนเวลานี้
ตามตำนานของเจ้าหญิงสุริยรัตน์รัตนะ หรือ พระนาม ฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok)  ได้ไปเกาหลีในช่วง พ.ศ.591 และได้เป็นเริ่มต้นของราชวงศ์  Karak โดยการแต่งงานกับกษัตริย์ท้องถิ่น ตามเอกสารจีนบางเล่มได้อ้างว่า กษัตริย์แห่งอโยธยานั้นทรงมีพระสุบินที่พระเจ้าทรงมีพระบัญชาให้พระองค์ทรงส่งบุตรตรีวัย 16 ปี ไปยังเกาหลีเพื่อแต่งงานกับพระเจ้าซูโร ในหนังสือยอดนิยมของเกาหลีใต้ประกอบนิทาน และ เรื่องราวในประวัติศาสตร์ผ่าน Samgungnyusa  กล่าวถึงพระนาง นางฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok) ว่าทรงเป็นพระธิดาแห่งอาณาจักร Ayuta ภายหลังจากทรงเษกสมรส ทรงมีพระประสูติกาเป็นบุตรชาย 10 พระองค์ และ ทรงมีพระชนน์มายุมากว่า 150 ปี
นักมนุษยวิทยา คือ Kim Byung Mo  กล่าวว่า ชื่อ อาณาจักรว่าทั้ง Ayuta  ก็คือ  Auodhya เนืองจากสองชื่อมีความคล้ายคลึงทางสัทศาสตร์ สำหรับการมีตัวตนของเข้าหญิงมีจริงหรือไม่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนมีเพียงการบันทึกที่มีลักษณะของตำนาน ซึ่งตำนานถือได้ว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่มีน้ำหนักไม่มากนั้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพระองค์จะไม่มีตัวตนจริงๆ

พระนาง ฮอฮวังกอ 
สำหรับสถานที่ผู้เขียนได้ไปเยือนจากการไปเมืองกิมแฮ คือ  สุสานของพระเจ้าซูโร (Royal Tomb of King Suro)
สถานที่แห่งนี้คือสถานหลุมฝังพระศพของกษัตริย์ซูโรผู้ก่อตั้งอาณาจักร Garakguk (พ.ศ.595-1075) ยังเป็นที่รู้จักกันดีในนาม Namneung สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สุดของเมืองกิมแฮ
 พื้นที่ของสุสานแบ่งชัด สองส่วน คือ  มีทั้งสถาปัตยกรรมไม้ และ สุสานของกษัตริย์ซูโรอยู่ทางด้านในเป็นเนินสูงแบบที่เรียกว่า  Tamuli คุณสามารถพบเนินแบบนี้หลายที่ในเกาหลี เช่น เคีบงจู หรือ สุสานของราชวงค์โชซอน
 
 
สุสานของพระเจ้าซูโร

สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน

สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน
 
สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน

สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน

สุสานของราชินีฮอฮวังกอ (Royal Tomb of Queen Suro)
นี้คือหลุมฝังศพของเจ้าหญิง ฮอฮวังกอ แห่งอาณาจักรอโยธยา ของอินเดียซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชินีแห่งกษัตริย์ ซูโร ก่อนที่พระนางจะสิ้นพระชนน์บุตรชายสองคนของพระนางได้ใช้นามสกุล Heo ฮอ และกลายเป็นบรรพบุรุษของตะกูล Heo
 
 เจ้
สุสานของราชินีฮอฮวังกฮ

 
เรื่องราวของพระเจ้าซูโร และ พระราชินี ฮอฮวังกอ นั้นปรากฏเหลักฐานผ่านหลุมพระศพ และ บันทึก ที่แสดงให้เห็นถึงการแต่งงานข้ามชนชาติระหว่าง เกาหลี และ อินเดีย ตำนานกล่าวถึงเรือพร้อมธงสีแดง ที่รอนแรมเป็นเวลาสามเดือนสู่ชายฝั่งของเกาหลี ในเรือของพระนางมีข้าทาส และ ของขวัญทองคำอัญมณี ผ้าไหมบนโต๊ะอาหาร และ ต้นชา ที่เล่ากันต่อมาว่านี้คือจุดของการนำชามาเพาะปลุกในเกาหลี ในเวลานั้นเล่ากันว่า พระเจ้าซูโร ต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการแต่งงานที่จะจัดขึ้นโดยหัวหน้าเผ่าของเขา เนื่องจากพระองค์ยังคงกำลังติดตามหาการนำทางแห่งสวรรค์ พระองค์ส่งเจ้าหน้าที่ของพระองค์นาม  Yuch’ŏn-gan โดยเขาได้ใช้ม้าและเรือไปสู่ยังเกาะ Mangsan-do ที่เกาะแห่งนั้นเขาได้พบเรือมีธงสีแดง เขาจีงได้พาเรือลำนั้นไปที่ชายฝั่งของคายา เจ้าหน้าที่อีกท่านนาม Sin’gwigan  แจ้งแก่กษัตริย์ซึ่งส่งหัวหน้าเผ่าทั้งเก้าเพื่อพาผู้โดยสารภายในเรืองไปยังพระบรมมหาราชวัง แต่เจ้าหญิงปฎิเสธที่จะมาพร้อมกับคนแปลกหน้า ต่อมากษัตริย์จึงได้จัดที่พักไว้บนแหลมของเนินเขาใกล้พระราชวัง
ไม่นานก่อนมีพิธีแต่งงานเกิดขึ้นระหว่างพระนางฮอฮวังกอ และ พระเจ้าซูโร พระนางได้จัดพิธีกรรมแห่งการขอบคุณต่อวิญญาณแห่งขุนเขา พระนางขึ้นไปยอดเขาถอนเสื้อชั้นในล่างที่ทำจากผ้าไหมและมอบเป็นเครื่องบูชาให้แก่วิญญาณแห่งภูเขา เมื่อถึงเวลาของการคุ้มกันพระนางกลับไปยังบ้าน พระเจ้าซูโรมอบผ้าป่าน 30 ม้วน และ ข้าว 10 ถุง ให้แต่ละคน ข้าราชบริพารท้้งสองและภรรยาของพวกเขาพักอยู่กับพระราชินี ตำนานเล่ามาต่อว่า พระราชินี ฮอฮวังกอ  สิ้นพระชนน์ในวัย 157 ปี
จากการศีกษาข้อมูลส่วนมากรูปแบบของเรื่องราวของพระเจ้าซูโร และ พระราชินี ฮอฮวังกอ  จะออกมาในรูปแบบของตำนาน แต่ก็จะคล้ายกัน ๆ คือ จุดกำเนิดของ กษัตริย์ซูโร การพบกันของพระองค์ และ การแต่งงาน จะมีเรื่องเล่าขานที่ออกมาในทิศทางเดียวกัน ทำให้มีความน่าสนใจว่า ความจรืงแล้วสิ่งนี้มีจริงหรือไม่ แต่ที่ปฎิเสธไม่ได้คือ เสน่ห์ของเรื่องเล่าขานตำนานความรักของคนสองเชื้อชาติที่แสนจะงดงามดังความต้องการของสวรรค์ที่คนให้สอง เมื่อไปที่กิมแฮ ยังปรากฏมีการแสดงเรื่องราวตำนานความรักของทั้งสอง พระองค์ได้มาพบและเจอกัน ก่อให้เกิดตระกูล Karak ซึ่งมีประชากรเกาหลีกว่า 50 ล้านคนได้สืบนามสกุล คิม และ ฮอ มาตราบจนปัจจุบันนี้
เรื่องราวของ คายา นอกจากเรื่องราวของผู้ปกครองคือ พระเจ้าซูโร และ พระราชนี ฮอฮวังกอ  แล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีก ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ของคายา ทั้งการสร้างงานเหล็ก ปรากฏในเครื่องแต่งการของคน และ สัตว์ การทำทอง เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งในครั้งหน้่า ผู้เขียนจะมาบอกเล่าถึงการได้เยือนพิพิธภัณฑ์ของกิมแฮ ทั้งพิพิธภัณฑ์เรื่องเล่าของคายา และ พิพิธภัณฑ์พื้นเมื่อง หรือ Folk Museum ที่มีเรื่อวเล่าของคายา และ โชซอนที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
 
วิธีการเดินทางไป ยัง สุสานของทั้งสองพระองค์ง่ายมานะค่่ะ  ใช้ Light Rail (Busan-Gimhae Light rail Transit) แล้วมาลงที่ Royal Tomb of King Soro เดินไม่เหนื่อนมากก็จะถึง สุสานของทั้งสองพระองค์
 
 
Cr.

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เรื่องราวภาคต่อแห่งหมู่บ้านยางดอง (To be continue of Yangdong village)

ดังที่ได้เกริ่นไว้ในตอนที่แล้วว่าเรื่องราวของหมู่บ้านยางดองแห่ง ตระกูล Yi และ ตระกูล Son จากชนชั้น ยันบันนั้นยังคงไม่จบ ครั้งที่แล้วผู้เขียนได้พาไปทำความรู้จักกับ บ้าน และ โรงเรียนประจำตระกูล Yi และ Son แต่ในส่วนนี้มีสถานที่อีกหลายแห่งภายในหมู่บ้านยางดองที่ผู้เขียนอยากจะขอบอกว่าห้ามพลาดจริงๆ คะ นอกจาก บ้านและ โรงเรียน มีอีกหลายแห่งที่สะท้อนตัวตัวของเกาหลีได้ในแง่มุมที่น่าสนใจผ่านงานก่อสร้างแห่งหมู่บ้านยางดอง  เมื่อคุณได้ไปเยือนหมู่บ้านมรดกโลกแห่งนี้คุณได้รับรู้เรื่องราวของการรักษาขนมธรรมเนียม และ ประเพณี ที่พวกเขาสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ภาพของวัฒนธรรมที่แสนจะสวยงามจะปรากฏด้วยตาของคุณเมื่อคุณได้ไปเยือนหมู่บ้านมรดกโลกแห่งนี้
การละเล่นพื้นบ้านของหมู่บ้านยางดอง ชักเย่อ
ตอนนี้เรามาทำความรู้จักการละเล่นประจำหมู่บ้านกันดีกว่า นั้นคือ ชักเย่อ ที่มาเนื่องจากการตั้งบ้านของตระกูล Yi และ ตระกูล Son  เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านยางดอง เราสามารถที่จะแบ่งหมู่บ้านได้ออกเป็นสองส่วน คือ หมู่บ้านบน และ หมู่บ้านล่าง เกมแบบดั้งเดิมของทั้งสองหมู่บ้านนั้นนี้ได้รับส่งต่อมาจนกระทั้งปัจจุบัน ตามปฎิทินจันทรคติในวันที่ 15 ของเดือนมกราคมนั้นทั้งสองหมู่บ้านจะทำเชือกฟางในการแข่งขันชักเย่อ กล่าวกันว่าชาวอียิปต์โบราณก็เล่นเกมแบบเดียวกัน จากเอกสารของ korean tourism organization ได้ทำการสอบถามชาวบ้านในหมู่บ้านถึงเกมนี้ว่ามันมีความหมายอย่างไรกัน เล่ากันว่า ถัาหากหมู่บ้านบนชนะการแข่งขันจะมีเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้นในปีนั้น และ ถ้าหมู่บ้านล่างงชนะหมู่บ้านก็จะมีความสงบสุข ดังนั้นการเล่นเกมนี้ถือได้ว่าไม่ว่าหมู่บ้านบน หรือ หมู่บ้านล่างชนะก็ล้วนแต่เป็นผลดีให้กับมหมู่บ้าน เมื่อการแข่งขันจบสิ้นลงชาวบ้านก็จะตัดเชือกด้านของผู้ชนะและโยนขึ้นไปบนหลังคา พวกเขาเชื่อกันว่าสิ่งนี้นำมาซึ่งความสงบสุขมายังครอบครัวตลอดทั้งปี สิ่งที่ทำให้ประเพณีดีนี้ยังคงอยู่เนื่อมาจากการที่ทั้งสองตระกูลมักทำงานได้กันในการแข่งขันอย่างมีมิตรภาพที่จะรักษาวัฒนธรรมและ ประเพณีของหมู่บ้าน
จากนี้เราไปดูบ้านหลังอื่น ๆ ที่มาความสำคัญภายในหมู่บ้านยางดอง
- บ้าน Mucheomdang มูชอมดัง  บ้านสำคัญแห่งตระกูล Yi
ตามประเพณีของเกาหลีนั้นลุกคนแรกของครอบครัวจะทำหน้าที่ในการสิบทอดบ้านแ และ รับผิดชอบหน้าที่ทั้งหมดของการเป็นหัวหน้าครอบครัว บ้านแห่งนี้เป็นบ้านของตระกูล Yi เป็นเวลาหลายปี บุตรชายที่เกิดคนแรกจะทำการสืบทอดมรดกของตระกูล อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ และ จัดการในพิธีกรรมของบรรพบุรุษ  ศาลเจ้าในบ้านนี้ตั้งอยู่มุมเหนือสุดของบ้าน และ ตามด้วยอาคารสำหรับในการทำพิธี และ ส่วนของห้องนั่งเล่น พื้นที่ห้องนั่งเล่นที่มีขนาดใหญ่ปูด้วยไม้นั้นเป็นสถานที่สมาชิกในครอบครัวของตระกูล Yi จะรวมสมาชิกดอยู่ด้วยกัน และ ใช้บริเวณนั้นในการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ บ้านแห่งนี้จึงถือได้ว่ามีความสำคัญในการทำพิธีของคนในตระกลูนี้เช่นกัน
 



ชื่อของ บ้าน Mucheomdang  ได้รับมาจากวลีของหนังสือเก่าแก่ที่ว่า "ตื่นแต่เช้าและ ทำงานจนดึกเพื่อทำให้คนที่พาคุณมาในโลกภูมิใจ  บ้านมูชอมดัง เป็นบ้านเกาหลีแบบดั้งเดิมที่ทั้งเรียบง่ายและ ซับซ้อน เมื่อมองเข้าไปใกล้ ๆเราจะเห็นการออกแบบที่ทำให้บ้านหลังนี้มีความพิเศษมาก หลังคามีสองส่วนผสานกันความสามารถในการรวมหลังคาเข้าด้วยกัน  อันที่จริงแล้วบ้านหลังคาที่ห้องนั่งเล่นเป็นหลังคาแบบหน้าจั่้วเรียบง่ายแต่คงสวยงามตามรูปแบบของบ้านโบราณเกาหลี ใมทางตรงกันข้ามอาคารที่เพิ่มเข้าไปหลังคาดูเมือนจะเพรียวบางและ สวยงาม มันเป็นหลังคาปั่นหยา และเรามักจะพบการสร้างหลังคาแบบนี้ในพระบรมมหาราชวังเกาหลีอบ่อยครั้ง
หินฐานกลมที่ใช้ยึดตัวเสายากมาที่จะพบเห็นแบบนี้ในบ้านโบราณเกาหลีส่วนมากจะปรากฏเสากลมในพระบรมมหาราชวัง บ้านคนสวนมากจะทำเป็นเสาสี่เหลี่ยม แม้ว่าบ่้านหลังนี้จะถูกสร้างเป็นที่พักส่วนตัว แต่รูปแบบของอาคารดูมีความสาธารณะเพื่อใช้ในส่วนของห้องโถง ถือได้ว่าบ้านหลังนี้เป็นตัวอย่างยอดเยี่ยมของโครงสร้าง

- อนุสรณ์สถานต่อกษัตริย์ และ Naegokjeong
สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในหมู่บ้าน Naegokjeong เป็นศาลาสร้างขึ้นในความทรงจำของ Yi jae gyo โดยเพื่อนของเขา และ สมาชิกในครอบครัวที่รอดชีวิต ในปี 2427 เมื่อราชวงศ์โชซอนยังคงปิดตัวเป็นดินแดนฤาษีซึ่งเป็นหลักการปกครองแบบขงจื้อ รัฐบาลได้ทำการพิจารณาแนะนำการแต่งกายแบบตะวันตกอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฎิรูป  อย่างไรก็ตามนักวิชาการขงจื้อแนวอนุรักษ์นิยมแห่งโชซอนไม่เห็นอย่างยิ่งกับแผนนี้เพราะพวกเขากลัวว่าราชวงศ์โชซอนอาจจะสูญเสียประเพณี และ มีความตกต่ำทางเศษฐกิจ อันที่จริงแล้วการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นปัญหาการถกเถียงกันในเวลานั้น นักวิชาการขงจื้ออนุรักษ์นิยมที่กระจายตัวอยู่ตามคาบสมุทรเกาหลี และ Yi jae gyo ริเริ่มการเคลื่อนไหวเพื่อให้กษัตริย์ได้ฟังเสียงของพวกเขา โชคร้ายที่ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นดังนั้นจดหมายความทรงจำของพวกเขาไม่ได้เคยได้ไปถึงกษัตริย์ของพวกเขา นอกจากนี้แผนการที่จะแนะนำเครื่องแต่งกายใหม่เพื่อคนเกาหลีต้องถูกโมฆะ อย่างไรก็ตามหนึ่งทศวรรษต่อมาราชวงค์โชซอนได้ทำการปฎิรูปนโยบาย และ ยอมรับเสื้อผ้าแบบตะวันตก

อนุสรณ์สถานต่อกษัตริย์ และ Naegokjeong
- บ้าน Nakseondang อนุสาวรีย์แห่งเกียรติยศ
บ้าน Nakseondang สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกรียติแก่ชายคนหนึ่งนามว่า Son Jong ro ในปี 2179  โชซอนทำสงครามกับการรุกรานกับราชวงศ์ชิงของจีน ในเวลานั้น Son Jong ro  รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แต่เขาได้ตัดสินใจที่จะไปเมืองหลวงทันที่เกิดสงครามขึ้น
 Son Jong ro : ได้กล่าวไว้ว่า ประเทศนี้กำลังมีปัญหา ข้าพเจ้าจะไปช่วยกษัตริย์เพื่อปกป้องเขา ถ้าเจ้าตามข้าไปเจ้าอาจไม่ได้เห็นบ้านอีกครั้ง ทาสของข้าอยู่ข้างหลัง
มีชายคนหนึ่งซึ่งหยุด Son Jong ro เขาคือทาสของ Son Jong ro  นามว่า Eokbu
Eokbu : กล่าวว่า ข้าไม่ยอมให้เป็นเช่นนัน เจ้านายของข้า ข้าเป็นทาสที่ต้อยต่ำแต่ข้าได้ประโยชน์จากรัฐเช่นกัน นายของข้า ข้าจะตามท่านไปยังจุดสิ้นสุดของโลก
Son Jong ro :: ถ้านั้นคือความประสงค์ของเจ้าแล้ว Eokbu  เราต้องช่วยกษัตริย์กัน
ต่อมาชายทั้งสองเสียชีวิตลงในสนามรบ ร่างกายของพวกเขาไม่เคยได้คืนมา ดังนั้นสมาชิกครอบครัวที่รอดชีวิตจึงต้องแทนที่พวกเขาด้วยเสื้อผ้าสำหรับงานศพ นับตั้งแต่นั้น บ้าน Nakseondang  มีความหมายเหมือนกันกับความกล้าหาญ และ ความเสียสละของ  Son Jong ro และ ทาสที่สื่อสัตย์ของเขานาม Eokbu ที่บริเวณทางเข้าของหมู่บ้าน มีอนุสาวรีย์แห่งเกียตริยศที่ถูกสร้างตามคำสั่งของกษัตริย์เพื่อรำลึกถึงความจงรักภักดีของ Son Jong ro อีด้านของอนุสาวรีย์แห่งความทรงจำเพื่อทาสของเขา Eokbu

บ้าน Nakseondang

บ้าน Nakseondang

บ้าน Nakseondang
 
- ศาลา Simsujeong - ชิมซูจอง 심수정  คำสอนของ Yi Eon Gwal
ศาลานี้สร้างขึ้นในปี 2103 และ บูรณะในปี 2460  หลังจากถูกไฟไหม้ทำลายบ้านของข้ารับใช้ทั้งหมด ศาลาเป็นรูปตัว L มีห้องโถงหลักตรงมุมมีห้องพักทั้งสองด้านของห้องโถงใหญ่ และ เฉลียงด้วย  ศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ด้านของหมู่บ้านเป็นศาลาที่สร้างขึ้นจากความทรงจำของ Yi Eon Gwal  ในศาลาแห่งนี้มีกระดาษไม้สามแผ่นที่แขวนแผ่นที่แกะสลักคำสอนของ Yi Eon Gwal 
แผ่นที่ 1 สอนว่า นักวิาการขงจื้อที่น่านับถือต้องควบคุมอาหาร และ คิดก่อนที่จะพูดเพื่อที่จะมีคุณธรรม
แผ่นที่ 2 สอนว่า คุณสามารถบอกสิ่งเป็นลักษณะของผู้ชายที่คล้ายโดยการค้นหาเพื่อหนึ่งในคุณลักษณะ ชายผู้มีความเมตตาสามารถที่จะถูกจับได้โดยการกระทำของเขา : บุรุษฉลาดสามารถถูกจับได้โดยแนวทางในการแก้ปัญหาของเขา และ คนแข็งแรงสามารถถุกจับได้โดยความคิดของเขา
แผ่นที่ 3 สอนว่าคนเราต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน
ศาลาชิมซูจอง  ถูกสร้างขึ้นเพื่อลูกหลานของเขาเพื่อให้จดจำคำสั่งสอนของเขา




นี้คือเรื่องราวบางส่วนที่ทางผู้เขียนต้องการจะแนะนำเรื่องราวของยางดอง ประกอบการสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และ บ้านโบราณเกาหลี  ทุก ๆ ที่ล้วนมีเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงคุณงามความดีของบุคคลแห่งตระกูล Yi และ Son ความซื่อสัตย์ในวิชาการแบบขงจื้อผู้ยึดมั่นในอุดมการณ์ รวมทั้งคำสอนดีแก่คนรุ่นหลัง ตระกูลทั้งสองพยายามรักษาขนบธรรมเนียประเพณีแห่งโชซอนไว้ แม้แต่การยอมเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องพระราชาของพวกเขา
เมื่อไปเคียงจู อย่าลืมไปหมู่บ้านที่มีความสวยงามทั้งประติมากรรม และ เรื่องราวคำสอนของนักคิดนักปราชญ์ขงจื้อ  รวมทั้งบรรยากาศหมู่บ้านที่แสนสวยงามตามหุบเขาไล่ระดับ แม้จะเดินเหนื่อยแต่คุ้มจริง

 ปล. ภาพประกอบนั้นผู้เขียนำต้องใช้จากข้างนอก ฝีมือถ่ายภาพของผู้เขียนไม่โอเท่าไหร่ เคดริตตามข้างล่างนะค่ะ หากสนใจลองตามไปดูได้

Cr. https://www.orientalarchitecture.com/sid/428/korea-south/yangdong/simsujeong-pavilion ,
https://www.minube.co.uk/photos/place/3678849 cr.Kris por el mundo , Korean Tourism organization

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

Welcome to Yangdong in Gyeongju เยือนหมู่บ้านยางดอง มรดกล้ำค่าแห่งเมืองเคียงจู

Yangdong Village In Gyeongju   ตอน เรียนรู้จักกับ ตระกูลยิ่งใหญ่ Son และ Yi แห่งหมู่บ้านยางดอง
 

เมื่อได้เดินทางไปที่เมืองเคียงจูดินแดนแห่งอาณาจักรชินลา ผู้เขียนเลือกเดินทางนั่งรถเมล์ สาย 203 ไปยังหมู่บ้านยางดอง หมู่บ้านแห่งนี้มีความน่าสนใจ เนืองจากเป็นบ้านของสองตะกูลที่มีชื่อเสียงคือ ตะกูล Son และ ตะกูล Yi และ เป็นสถานที่ที่เจ้าพระชายชาร์ลส์แห่งเวลส์ได้เดินทางเยือนสถานที่แห่งนี้  พ.ศ.2536  หมู่บ้านยางดองแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี พ.ศ.2553 พร้อมกับหมู่บ้านฮาวเฮของอันดง


หมู่บ้าน ยางดอง เป็นบ้านดั้งเดิมที่ถือได้มีขนาดใหญ่ที่สุดของเกาหลีที่ได้มีการจัดแสดงวัฒนธรรมดั้งเดิมของราชวงศ์โชซอน พื้นที่ของหมู่บ้านนี้จากที่ผู้เขียนได้ไปเยือนถือได้ว่ามีธรรมชาติที่สวยงาม มองเห็นเนินเขา Muldong ซึ่งผู้คนล้วนตั้งบ้านเรือนกระจายในพื้นที่บริเวณนี้ ความสวยงามของหมู้บ้านที่ตั้งบ้านเรือนปรากฏบริเวณเนินเขา และยังคงเป็นสถานที่ที่ผสมผสานระหว่างบ้านโบราณกับวิถีชีวิตของคนสมัยปัจจุบันคล้ายๆ กับ หมู่บ้านฮาวเฮของอันดง หมู่บ้านยองดองตั้งอยู่ใน Gangdangmyeon ห่างจากเมืองเคียงจูประมาณ 16 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้ด้านหนึ่งติดภูเขาส่วนอีกด้านติดแม่น้ำในส่วนของลักษณะของบ้านเรือนนั้นแบ่งเป็นบ้านของขุนนางสังเกตจากหลังคามุงกระเบื้อง และ บ้านของประชาชนทั่วไปบ้านหลังคามุงจาก จะมีการปลูกไล่ๆ กันไต่ขึ้นไปบนภูเขาถ้าได้ไปเดินจะช่วยให้คุณได้ออกกำลังกายดีแท้ที่เดียว
ภายในหมู่บ้านยางดองมีบ้านเก่าแก่ประมาณ 160 หลัง หมู่บ้านยางดองนั้นเป็นที่รู้จักกันดีเนืองจากเป็นหมู่บ้านของสองตะกูลที่มีชื่อเสียง นักปกครอง และ นักวิชาการผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรม นั้นคือ บ้านของตระกูล Son จาก โวลซ๊อง (Wolseong) และ ตะกูล Yi จาก Yeogang หมู่บ้านแห่งนี้ปรากฏรายชื่อของนักปราชญ์ นักวิชาการและ นักปกครองที่ได้รับการยกย่องมาอย่างยาวนาน และ มีการเจือจางความเชื่อแห่งขงจื้อ
เรามาทำความรู้จักกับบ้านเกาหลีแบบดั้งเดิม หรือ ที่เรารู้จักในนาม ฮันอก (Hanok) เป็นบ้านที่สร้างขึ้นรูปแบบเกาหลีดั้งเดิม มีการมุงหลังคาสองแบบ คือ กระเบื้อง และ จาก เป็นสถานที่พักอาศัยของขุนนาง และ ประชาชนทั่วไปในสมัยโบราณของเกาหลี ฮันนกมีเสน่ห์สองอย่างที่น่าสนใจของภูมิปัญญาในการคิดของคนสมัยโบราณ  อย่างแรกคือ การจัดสร้างระบบทำความร้อนของ อนดอล (Ondol) คือระบบการทำความร้อนไต้พื้นอันเนืองมาจากภูมิอากาศที่หนาวของเกาหลี มีการใช้ระบบ อนดอล มีมาตั้งแต่อดีต ทั้งนี้ชั้นของหินจะถูกวางไวัอยู่ใต้พื้น และ เมื่อถูกความร้อนจะทำการกระจายไปทั้วทุกห้องของบ้าน การใช้อนดอลมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมเกาหลีในการดำเนินชีวิตของการนั่งพื้นถอดรองเท้าเดินในพื้นบ้าน และบริเวณตัวบ้านจะมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมวัสดุทึ่ใช้ในการสร้างบ้านฮันอกนั้นปราศจากสารเคมีทำให้เป็นสภาพ เสาและคานประตูหน้าต่างและพื้นทำด้วยไม้ในขณะที่ผนังเป็นส่วนผสมของฟางและสิ่งสกปรก กระดาษเพื่อให้ครอบคลุมกรอบประตูและหน้าต่างที่ทำจากเยื่อไม้เนื่องจากวัสดุก่อสร้างที่ใช้ล้วนเป็นธรรมชาติทำให้บ้านฮันอกมีการระบายอากาศที่ดีเยี่ยมเหมาะสำหรับหลบร้อนในฤดุร้อน
หมู่บ้านยางดองเป็นหมู่บ้านโบราณของ ยังบัน อันหมายถึงพวกชนชั้นสูง ตั้งแต่สมัยโซชอนมีการแบ่งชนขั้นออกเป็นสี่ระดับแบบยอดปิรามิด
ประกอบด้วย ยังบัน , ซุงอิน ,ซังมิน แและ ยางมิน  สุดท้าย  ซองมินชนชั้นที่มีชายกำเนิดต่ำต้อย  ยังบันถึอว่าอยู่ในชนชั้นสูงที่อำนาจในการปกครองมีสิทธิในการสอบเข้ารับราชการทั้งทหารและพลเรือน ประกอบไปด้วย เชื้อพระวงศ์ และ ราชการตะกูลในราชสำนัก แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม มุมบัน (พลเรือน) และ มูบัน คือ ข้าราชการทหาร  ชนชั้นนี้จะะมีบทบาททางสังคมมีความรู้อย่างกว้างไกลในลิทธิขงจื้อ
หมู่บ้านแห่งนี้สำหรับสถานที่ผู้เขียนได้ไปเยื่อนมีสถานที่หน้าสนใจสำหรับสองตระกูลที่เมื่อคุณได้ไปอย่าพลาดเชียว มันคือ สัศลักษณ์แห่งหมู่บ้านเช่นกัน ผู้เขียนยกมาสองส่วน คือ บ้าน และ โรงเรียรที่เชื่อมโยงสองตระกูล เรามาเริ่มที่บ้านประจำตะกูล Son และ Yi ในส่วนของตระกูล Son คือ ควางนาจอง (Gwangajeong)  
 - Gwangajeong House บ้านของเจ้าหน้าที่ผู้มีความเที่ยงธรรม


บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ทางซ้ายด้านซ้ายของของทางเข้าหมู่บ้าน เป็นตัวแทนบ้านของตระกูล Son บ้านหลังนี้สร้างขึ้นโดย Son Jung dong ขุนนางผู้มีความภักดีของราชวงศ์โชซอน เป็นบุคคลมีมีความซื่อสัตย์และมีศักดิ์ศรีทำให้ได้รับความเคารพจากคนจำนวนมาก จากข้อมูลของ Korea Tourism organization กล่าวว่าสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่พักอาศัยของตะกูล Son ยาวนานกว่า สี่ศตวรรษ และ ดำรงรักษาธรรมเนียมที่บุตรคนโดต้องทำหน้าที่รับผิดชอบดูและ และ จัดพิธีการสำหรับบรรพบุรุษ แต่ได้บุตรคนรองทำหน้านี้เนืองจากบุตรคนโตได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ลักษณะของบ้านแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน ห้องนั่งเล่น และ ศาลเจ้าของบรรพบุรุษ Gwangajeong House  แปลว่า การเฝ้าดูลูก ๆของคุณเติบโตเหมือนข้าวในทุ่งนา บ้านหลังนี้มีศาลเจ้าสำหรับบูชาบรรพบุรุษอันเป็นส่วนที่สำคัญที่ปรากฏของบ้านขุนนางชั้นสูงในสมัยนั้น

-  Hyangdan House
 

บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่ใหญ่ และมีความงดงามเป็นอย่างมากของหมู่บ้านยางดอง เป็นบ้านประจำตะกูล Yi บ้านหลังนี้มีความเกี่ยวข้องกับ Yi Eon Jeok และ น้องชายของเขา ซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของตระกูล Yi เมื่อ Yi Eon Jeok นักวิชาการแห่งลิทธิขงจื้อตัดสินใจเลือกจะเดินทางเข้าสู่ฝ่ายปกครอง น้องชายของเขาคือ Yi Eon Gwal น้องชายของเขาก็ได้ทำหน้าที่ดูแลแม่และ ครอบครัวตลอดชีวิตที่เหลือ บ้านหลังนี้ผมีการสร้างที่โดดเด่นมาก ในอาคารมีสองลานถือว่าแปลกมากสำหรับบ้านแบบดั้งเดิม พื้นที่ห้องจะทำการแยกจากส่วนที่เหบือและสร้างให้ผู้หญิงมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น กล่าวกันว่า บ้านของเกาหลีแบบดั้งเดิมนั้นมีแบ่งช่องว่างแยกกันตามปรัฐญาของขงจื้อที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาโดยราชวงศ์โชซอน โดยทางด้านในนั้นที่ไกลสุดของบ้านจะถูกครอบครองโดยผู้หญฺิง และ ส่วนนอกจะมีไว้สำหรับผู้ชาย
ภายในหมู่บ้านยางดองมีการสร้างโรงเรียนขึ้นของตระกูลใหญ่ทั้งสองทีมนั้นคือ ตะกูล Son และ ตะกูล Yi ผู้เขียนพาไปดูเรืองราวของโรงเรียนที่ตระกูลทั้งสองสร้างขึ้นเพื่อให้คนในหมู่บ้านได้เล่าเรียนหนังสือ ที่แรก คือ
- Ganghakdang (กังฮัคดัง)  โรงเรียนหมู่บ้านแห่งตะกูล Yi


 
 อาคารหลังนี้จะไม่มีรั้วและประตู โรงเรียนหมู่บ้านนี้เรียกว่า Seodang ในเกาหลีสถานที่แห่งนี้เป็นที่เด็ก ๆ ในหมู่บ้านจะมารวมตัวกันเพื่อศึกษาวิธีการอ่านและการเขียนเป็นการออกแบบสถานที่ที่เป็นมรดกที่สำคัญ ผู้เขียนมีความสงสัยทำไมถึงได้มาตั้งโรงเรียนบนภูเขาแทนที่จะอยู่บ้าน ผู้เขียนได้ไปค้นแล้วพบคำตอบจาก Korea Tourism Oranization ได้ให้คำตอบของเรื่องนี้ไว้ว่า การที่โรงตั้งไกลออกจากหมู่บ้านไปอยู่บนภูเขามันมีความหมายในการสอนเด็ก ๆ ว่า ผลสำเร็จของการเรียนนั้นเปรียบเสมือนการปีนภูเขาสูงบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยการท้าทายและอุปสวรรค ดังนั้นเด็กๆ ที่ไปโรงเรียนจะรู้วิธีที่จะยืนขึ้นสู่โลกด้วนเท้าทั้งสองเท้า และ การดูแลรักษาความฝันอันยิ่งใหญ่ เมื่อนักเรียนเงยหน้าขึ้นมองครูของพวกเขาเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเคารพพ่อแม่  ประเพณีนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของความคิดของคนเกาหลีที่การศึกษาถือได้ว่าการศึกษามีค่าเหนือสิ่งอื่นใด

พื้นที่ภายในโรงเรียน Ganghakdang


 
พื้นที่ภายในโรงเรียน Ganghakdang

- โรงเรียนประจำของตะกูล Allakjeong Pivillion , โรงเรียนประจำตะกูล Son


Allakjeong Pavilion , Village school  โรงเรียนประจำตะกูล Son
โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนของตะกูล Son เป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับผิดชอบทางด้านการศึกษาของเด็กในหมู่บ้าน ชื่อ Allakjeong Pavilion นั้นมีความหมายของ Allakcheon Stream ที่มีการไหลตามชายแดนตะวันตกของหมู่บ้าน อันหมายถึงสิ่งที่รู้สึกถึงความสะดวก สบาย  ค้นพบความสะดวกสบาย และ สิ่งที่คุณ และ คนอื่นชอบ  ด้านหน้าของโรงเรียนตกแต่งด้วยหินและ ทะเลสาบเทียม ตัวอาคารมีความกลมกลืนกับทิวทัศน์โดยรอบ


มาดูภาพถ่ายบริเวณรอบ ๆ ของหมู่บ้านยางดอง




นี้คือ บรรยากาศรอบของหมู่บ้าน ยางดอง แต่จริง ๆ แล้วมีอีกหลายที่ในยางดอง ที่ผู้เขียนยังไม่เล่า นั้นคือ บ้านๆ และ ความหมาของบ้านของตะกูล Son และ Yi เช่นบ้านใหญ่ของตะกูลยี่ บ้านมยองดัง หรือ Nakseondang House อนุสรณ์แห่งเกรียติยศ  ที่ผู้เขียนจะบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่แห่งนี้สถานที่แห่งความจงรักภักดิ์ดีของปประชาชนที่มีต่อพระราชา และ ลูกน้องที่มีต่อเจ้านาย นั้นคือ Son Jong ro และ Eokbu  รวมทั้งยังมีบ้านที่ปรากฏคำสอนของนักปราชญ์สามสิ่งซึ่งถ้ามีโอกาสจะมาเล่าสถานที่เหล่านี้ต่อ  และ ในส่วนของ อนดอลผู้เขียนจะขอนำมาเล่าในครั้งต่อไปเนืองจากปรากฏในยุคของ Okjeo และ Balhae (พัลแฮ)ที่ยังคงเก็บรักษาการทำระบบ อนดอลไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ครั้งหน้าเรามาทำความรู้จักระบบการทำความร้อนในพื้นบ้านฮันอกกันนะค่ะ
กลับมาที่ยางดอนนั้น การเดินทางไปไม่อยาก
ทาง
  [รถไฟ]
  จากสถานีกรุงโซลนั่งรถไฟไปยังสถานีสิงคยองจู
  หรือ
  จากสถานีกรุงโซลนั่งรถไฟไปยังสถานีคยองจู
  [สถานี]
  จากสถานีขนส่งดงโซลขึ้นรถบัสระหว่างเมืองที่มุ่งหน้าไปยังสถานีขนส่งระหว่างเมือง Gyeongju
จากสถานี Singyeongju หรือสถานีขนส่ง Gyeongju Express ขึ้นรถบัสสาย 203, 212, 252, 200, 203, 205, 206, 207 หรือ 208 และลงที่ป้ายรถประจำทางหมู่บ้าน Yangdong
https://english.visitkorea.or.kr/enu/ATR/SI_EN_3_1_1_1.jsp?cid=804281

Cr.Korean Tour Organization

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

รำลึกถึงความเจ็บปวดของผู้หญิงเกาหลี ที่ พิพิธภัณฑ์สงครามและสิทธิสตรี (the war and womens human right Museum

War & Women's Human Right Museum

ในปี 2018 ผู้เขียนได้เดินทางท่องเที่ยวคนเดียวที่เกาหลีใต้ เนืองจากมีความสนใจเรื่องราวของ Comfort Woman  หมายถึงนางบำเรอ หลังจากได้อ่านหนังสือเรื่องเบญจมาศมสีเลือด white Chrysanthemum) เขียนโดย แมรี ลินน์ แบรชต์ และ แปลโดย นิลุบล พรพิทักษ์พันธุ์  เรื่องราวของลูกสาวที่หายไปในวันที่ทหารญี่ปุ่นปรากฏตัวที่ชายหาด ผู้เขียนมีความสนใจในเรื่องนี้และ อยากรู้ถึงทัศนคติของชาวเกาหลีในเรื่องนี้จึงเลือกที่จะเดินทางไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่กรุงโซล ถนน worldcup

เรื่องเบญจมาศสีเลือด white Chrysanthemum

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ใช้เวลาในการสร้างยาวนานมีการพูดคุยในการสร้างในปี 2003 ฝ่าฝันเรื่องราวมากมายเพื่อจะได้เผยแพร่เรื่องราวของผู้หญิงที่ได้รับความเจ็บปวดจากการที่ต้องไปเป็น comfort woman ให้แก่ทหารญี่ปุ่น ในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกเข้ามาในเกาหลี ผู้หญิงจำนวนมากในเกาหลีถูกจับไปเป็นนางบำเรอ เพื่อสนองความใคร่ให้แก่ทหาร เมื่อสงครามจบลง ผู้หญิงเกาหลีเหล่านั้น บางคนตาย บางคนรอด และ บางคนก็หายไปโดยเลือกที่จะไม่กลับไปเกาหลีเนืองจากความอับอาย เกลียดกลัวการที่จะต้องออกไปเผชิญหน้ากับความเจ็บปวด
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขา Seongmi ในมาโป-กู ผู้เขียนใช้เวลาในการเดินเท้านานจากถนน worldcup  อาศัย Google map จนถึงสถานทีนี้ โดย พิพิธภัณฑ์นี้ทำการเปิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2012 ตัวพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็นสามชั้น ในส่วนของชาวต่างชาติหลังซื้อตั้วราคา 3000 วอน จะได้รับเครื่องเล่นคล้าย ๆ mp3  พร้อมหูฟัง ในการอธิบายภาพ และ ข้าวของเครื่องใช้ซึงบอกเล่าเรื่องราว Comfort woman ในช่วงเวลานั้น ผู้เขียนได้พบสิ่งของ เสื้อผ้า และ บันทึกของทหารญี่ปุ่นที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงที่ต้องถูกจับมาบำเรอกามทหาร

บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์ ปรากฏภาพวาด


บริเวณด้านใน


มีการจำลองภาพของแคมป์อันเป็นที่พักของผู้หญิงเหล่าวนั้นที่ถูกจับมา บ่งบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ที่แสนจะยากลำบาก และ ความทุกข์ทรมานผ่านข้าวของเครื่องใช้เสื้อผ้า
ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังมีวีดีโอคำบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงที่ถูกจับเล่าเหตุการณ์วันที่ถูกจับ การพรักพรากจากครอบครัวความทุกข์ทรมานจากสิ่งที่ได้รับเมื่อต้องตกอยู่ในฐานะนางบำเรอกามแบบที่ตัวเองไม่ต้องการ ต้องนอนกับผู้ชายมากมาย นอกจากนี้ยังมีกระดาษสีเหลืองให้ผู้เข้าชมเขียนข้อความไปติดไว้กำแพง และ โดยกำแพงที่มีคำจารึกและ ภาพของสตรีที่ต้องทนทุกข์ทรมานในวัยชราที่ยังคงชีวิตอยู่ เอาตรงๆ หลังจากได้เข้าไปแล้วเดินไปตามชั้นต่าง ๆ ผู้เขียนสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดและ ทุกข์ทรมานผ่านภาพของหญิงชราหลายท่าน และ คำพูดที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านวีดีโอ ไม่ว่าจะนานแค่ไหนร่องรอยของความทุกข์ทรมานก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ตราบเวลานี้

ข้อความที่มีการเขียนไว้จากผู้มาเยือน

นอกจากนี้เมื่อมีสตรีที่เผชิญหน้ากับเหตุการณ์นี้เสียชีวิตลง จะมีการนำภาพของหญิงชรานั้นจัดแสดงเพื่อให้ระลึกถึงเหตุการณ์และอวยพร แสดงความเคารพและให้เกรียติพวกท่านได้จากไปอย่างมีความสงบ

แม้ว่าเรื่องราวจะผ่านไปนานเท่านานแต่กิจกรรมที่ผู้คนสามารถแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนสำหรับผู้หญิงในเหตุการณ์นี้จะรวมตัวกันทุกวันพุธ ณ บริเวณสถานทูตญี่ปุ่น สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ คำขอโทษ และ การยอมรับความจริงจากญี่ปุ่น
ผู้เขียนอยากแนะนำทุกๆ คนลองไปเยี่ยมชมที่นี้ดูนะค่ะ การเดินทาง จากสถานีมหาวิทยาลัย Hongik ทางออกที่ 2 ขึ้นรถบัส Mapo ท้องถิ่น 15 และลงที่สี่แยกโรงเรียนมัธยม Gyeongseong หรือกลับรถจากทางออกและขึ้นรถบัสสีเขียว 7711, 7016 หรือ 7737 จากป้ายแล้วลงที่เดิม หยุด.
เวลา: วันอังคารวันพฤหัสบดี - วันเสาร์: 13.00 น. - 18.00 น. วันพุธ: 15.00 น
พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน The War and Women (전쟁과여성인권박물관)https://www.facebook.com/warandwomen/
Cr.soulofseoul.net , Tripadvisor

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อนุสรณ์สถานสุสานทหารสหประชาชาติในเกาหลีใต้ เมืองปูซาน (UN Memorial Cemetery in Korea, UNMCK) Single Girl Trip

 
สวัสดีค่ะวันนี้ผู้เขียนจะพาท่านไปเยือนปูซาน และ ลองไปหาสถานที่เที่ยวใหม่ ๆ นอกจากที่เราเคย ๆ ไปในปูซานนะค่ะ ออกเนวย้อนประวัติศาสตร์
อนุสรณ์สถานสุสานทหารสหประชาชาติในเกาหลีใต้ (UN Memorial Cemetery in Korea, UNMCK)  (재한유엔기념공원)  เป็นสุสานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ทหารของสหประชาชาติจาก 16 ประเทศ และ องค์การสหประชาชาติในการให้ความชวยเหลือในช่วงของสงครามเกาหลี ปี 1950-1953 และ ได้มีจัดการสร้างอนุสรณ์สถานและทำการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือน เมษายน ปี 2001
อนุสรณ์สถานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง ปูซาน จังหวัดคย็องซังใต้ ซึ่งในสงคามครั้งนั้นได้มีทหารสูญเสียชีวิตจำนวนกว่า 2,289 และ 11 นายถูกสังหารในฐานะเชลย สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมลำดับที่ 359 โดยสำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมแห่งประเทศเกาหลีใต้ ปี 1964
ภายในอนุสรณ์สถานนั้นแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ พื้นที่บริเวณอนุสรณ์สถานที่ปรากฏแผ่นศิลาที่จารึกชื่อทหาร และ ทีการทำกำแพงหินอ่อนเป็นการสลักชือทหารที่ถูกสังหารและหายตัวไปในระหว่างทำสงครามจำนวนถึง 40,896 รายชื่อ บริเวณของอนุสรณ์สถานที่นี้มีเนื้อที่ 135,000 ตารางเมตร
อนุสรณ์สถานที่น่าสนใจ ได้แก่ หอบริการอนุสรณ์, หอรำลึกความทรงจำ, อนุสรณ์สถานตุรกีสองแห่ง, อนุสาวรีย์กรีก, อนุสาวรีย์ออสเตรเลีย, อนุสาวรีย์ความมั่งคั่งร่วมอังกฤษและบ่อน้ำสองแห่ง ห้องโถงแห่งความทรงจำและที่ระลึกถูกสร้างขึ้นในปี 1964 และ 1968 ตามลำดับ พลเมืองของปูซานได้อุทิศประตูใหญ่ในปี 1966 ในแต่ละปีจะมีงานประจำปีมากมายที่จัดขึ้นที่นี่เช่นพิธีการทหารผ่านศึกของสงครามเกาหลีในเดือนเมษายน วันที่ระลึกวของชาวอเมริกันของเดือนพฤษภาคม วันแห่งความทรงจำของเกาหลีในเดือนมิถุนายน และวันสหประชาชาติในเดือนตุลาคม
พื้นที่บริเวณ อนุสรณ์สถานของ
                                          UN Memorial Cemetery in Korea, UNMCK
รูปปั้น ระลึกถึงกองกำลังทหารสหประชาชาติ
 

 
การแกะสลักบรรยายถีง อนุสรณ์สถานของหญิงชายชาวอเมริกันที่ต่อสู้เพื่ออิสระภาพของชาวเกาหลี ช่วงปี 1950-1953

ดอกไม้ในบริเวรอนุสรณ์สถาน

 
บริเวณสวนดอกไม้ต้นไม้ของอนุสรณ์สถาน
 ดังที่ทราบว่า ประเทศไทยของเราได้ทำการส่งทหารไปทำการรวมรบในสงครมครั้งนี้เช่นกัน เราเรียกว่า กองกำลัง พยัคฆ์น้อย หรือ กองทัพเสือน้อย the Little Tiger เกรียติภูมิของทหารไทยที่ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์โลก
เมื่อเกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ ประเทศไทยของเราภายใต้การนำของสหประชาชาติได้ เข้ารวมรบในสงครามครั้งนี้ จนได้รับการขนาขนามจากพลเอก เจมส์ เอ แวน ฟลีท ผู้บัญชาการกองทัพที่ 8 ของสหรัฐอเมริกาว่าเป็น พยัคฆ์น้อย หรือ ๅlittle Tiger  อันหมายถึงทหารที่ร่างเล็กที่สู้เหมือนเสือ ทหารของไทยมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 136 นาย และ บาดเจ็บจำนวนมาก มีคำกล่าวว่า ทหารไทยในสงครามเกาหลีนั้นต่อสู้กับข้าศึกเหมือนเสมือนหนึ่งปกป้องบ้านเมืองของตัวเองโดยเฉพาะการรบครั้งสำคัญที่เนินเขาพอร์คช๊อปอันเป็นที่ตั้งสำคัญของทหารไทยที่ตั้งรับการโจมตีข้าศึกถึง 5 ครั้ง แต่จำนวนกำลังของข้าศึกที่มีมากก็ไม่สามารถที่จะทำให้ทหารไทยถอยได้
                                          
ที่ระลึกสำหนับทหารไทย
 
แผ่นสลักชื่อประเทศไทยในบริเวณ อนุสรณ์สถาน
 

ภาพถ่ายของทหารไทย ในห้องจัดแสดงของ อนุสรณ์สถาน สุสานสหประชาชาติ
 
                                    
ภาพถ่ายของทหารไทย ในห้องจัดแสดงของ อนุสรณ์สถาน สุสานสหประชาชาติ
 
เนิน 255 หรือ พอร์คชอป ฮิลล์” (ตามคำที่อเมริกาเรียก) มีความสำคัญมากในทางยุทธวิธี เพราะเป็นจุดคุมเส้นทางหลักหลายทาง ซึ่งการรักษาพอร์คชอปไว้ได้ ย่อมหมายถึง ความปลอดภัยของแนวต้านทานหลักของฝ่ายกองกำลังสหประชาชาติ ซึ่งกองพันทหารไทยได้รับคำสั่งจาก กรมทหารราบที่ 9 สหรัฐอเมริกาว่า
"กองพันทหารไทย จะต้องรักษาที่มั่นพอร์คชอปไว้ให้ได้ หากถูกข้าศึกเข้าตีและยึดครองไป จะต้องดำเนินการตีโต้ตอบ เพื่อแย่งยึดกลับคืนทันที"
นั่นทำให้คำสั่งที่ตามมาจึงระบุชัดว่า "การรบบนเขาลูกนี้ คือ การสู้ตาย ห้ามถูกจับเป็นเชลย และจะถอนตัวได้ก็เมื่อมีคำสั่งจากผู้บังคับกองพันเพียงคนเดียวเท่านั้น"

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะยึดเนินเขาพอร์คชอป กองกำลังทหารจีนและเกาหลีเหนือ ได้เข้าโจมตีที่มั่นของทหารไทย 5 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรก เพื่อทดสอบกำลังตั้งรับ และ 3 ครั้งสุดท้ายเพื่อยึดเนินเขาดังกล่าวให้ได้ แต่ทั้ง 5 ครั้งต้องล้มเหลวอันเนื่องมาจาก การต่อสู้อย่างกล้าหาญและยอมตายของทหารไทย

การรบเพื่อแย่งชิงชัยภูมิพอร์คชอป เกิดขึ้นอย่างดุเดือด ตั้งแต่คืนวันที่ 1 พ.ย. ติดต่อกันไปจนถึงวันที่ 11 พ.ย. กองกำลังทหารจีนและเกาหลีเหนือ ใช้รถถังกรุยทางยิงนำ ตามด้วยทหารราบ บุกทีเดียว 3 ทิศทางเป้าหมาย คือ ไปบรรจบกันบนยอดเขา ทหารไทยต่อสู้อย่างทรหด การรบหนักที่สุดในคืนวันที่ 10 ต่อเนื่องถึงรุ่งสางวันที่ 11 ฝ่ายเกาหลีเหนือปูพรมถล่มด้วยกระสุนปืนใหญ่กว่า 2,500 นัด และถึงขั้นตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน
ทหารคนหนึ่งเล่าในเวลาต่อมาว่า
"ไม่รู้ใครเป็นใคร สังเกตุว่าเป็นฝ่ายเดียวกันหรือข้าศึกก็จากท่าทางถืออาวุธและเครื่องแบบเท่านั้น"

ทุกอย่างเกิดขึ้นในท่ามกลางหิมะโปรยปราย หนาวเย็น ซึ่งทหารไทยไม่มีความคุ้นเคยแม้แต่น้อย
ผลของการรบตลอด 10 วันนั้น ปรากฎว่า ทหารไทยเสียชีวิตทั้งสิ้น 25 นาย ทหารจีนและเกาหลีเหนือทิ้งศพไว้บนยอดเขากว่า 200 คนและถูกจับเป็นเชลย 5 คน
ชื่อเสียงของ "Little Tiger" จึงเกิดด้วยประการฉะนี้
โดยผู้ที่ให้สมญานามนี้ คือ พล.อ.เจมส์ เอ.แวน ฟลีต แม่ทัพที่ 8 ของสหรัฐฯ ผู้บังคับบัญชากองกำลังสหประชาชาติ
ว่ากันว่า ชื่อเสียงของทหารไทยในวีรกรรมครั้งนี้ ทำให้กองกำลังฝ่ายตรงข้ามถึงกับเข็ดขยาด ต้องเลี่ยงไปยังเส้นทางอื่นแทน
 
นอกจากเมืองปูซาน ที่เกาหลีใต้ ปรากฏ อนุสาวรีย์ของทหารไทย ที่ตำบล อนุชอน เมืองโปชอน จังหวัดเคียงกิ ประเทศเกาหลีใต้
 
 
                                  อนุสาวรีย์ของทหารไทย ที่ตำบล อนุชอน เมืองโปชอน จังหวัดเคียงกิ ประเทศเกาหลีใต้
 
 
รูปภาพที่มีผู้นำมาไว้สำหรับทหารผู้รวมรบ

ของใช้ของทหารที่ปรากฏข้องแผ่นจารึกชื่อ
 


 
 สำหรับการเดินทางนั้น ท่านสามารถนั้น Metro lone 2 ลงสถานี Daeyeon Stn. ทางออกที่ 3,5 เดินตรงไปทาง busan museum ราว 10 นาที
cr.Siam solider , Tnews, Chilloutkorea, Jointtravel https://english.visitkorea.or.kr