วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

รำลึกถึงความเจ็บปวดของผู้หญิงเกาหลี ที่ พิพิธภัณฑ์สงครามและสิทธิสตรี (the war and womens human right Museum

War & Women's Human Right Museum

ในปี 2018 ผู้เขียนได้เดินทางท่องเที่ยวคนเดียวที่เกาหลีใต้ เนืองจากมีความสนใจเรื่องราวของ Comfort Woman  หมายถึงนางบำเรอ หลังจากได้อ่านหนังสือเรื่องเบญจมาศมสีเลือด white Chrysanthemum) เขียนโดย แมรี ลินน์ แบรชต์ และ แปลโดย นิลุบล พรพิทักษ์พันธุ์  เรื่องราวของลูกสาวที่หายไปในวันที่ทหารญี่ปุ่นปรากฏตัวที่ชายหาด ผู้เขียนมีความสนใจในเรื่องนี้และ อยากรู้ถึงทัศนคติของชาวเกาหลีในเรื่องนี้จึงเลือกที่จะเดินทางไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่กรุงโซล ถนน worldcup

เรื่องเบญจมาศสีเลือด white Chrysanthemum

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ใช้เวลาในการสร้างยาวนานมีการพูดคุยในการสร้างในปี 2003 ฝ่าฝันเรื่องราวมากมายเพื่อจะได้เผยแพร่เรื่องราวของผู้หญิงที่ได้รับความเจ็บปวดจากการที่ต้องไปเป็น comfort woman ให้แก่ทหารญี่ปุ่น ในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกเข้ามาในเกาหลี ผู้หญิงจำนวนมากในเกาหลีถูกจับไปเป็นนางบำเรอ เพื่อสนองความใคร่ให้แก่ทหาร เมื่อสงครามจบลง ผู้หญิงเกาหลีเหล่านั้น บางคนตาย บางคนรอด และ บางคนก็หายไปโดยเลือกที่จะไม่กลับไปเกาหลีเนืองจากความอับอาย เกลียดกลัวการที่จะต้องออกไปเผชิญหน้ากับความเจ็บปวด
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขา Seongmi ในมาโป-กู ผู้เขียนใช้เวลาในการเดินเท้านานจากถนน worldcup  อาศัย Google map จนถึงสถานทีนี้ โดย พิพิธภัณฑ์นี้ทำการเปิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2012 ตัวพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็นสามชั้น ในส่วนของชาวต่างชาติหลังซื้อตั้วราคา 3000 วอน จะได้รับเครื่องเล่นคล้าย ๆ mp3  พร้อมหูฟัง ในการอธิบายภาพ และ ข้าวของเครื่องใช้ซึงบอกเล่าเรื่องราว Comfort woman ในช่วงเวลานั้น ผู้เขียนได้พบสิ่งของ เสื้อผ้า และ บันทึกของทหารญี่ปุ่นที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงที่ต้องถูกจับมาบำเรอกามทหาร

บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์ ปรากฏภาพวาด


บริเวณด้านใน


มีการจำลองภาพของแคมป์อันเป็นที่พักของผู้หญิงเหล่าวนั้นที่ถูกจับมา บ่งบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ที่แสนจะยากลำบาก และ ความทุกข์ทรมานผ่านข้าวของเครื่องใช้เสื้อผ้า
ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังมีวีดีโอคำบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงที่ถูกจับเล่าเหตุการณ์วันที่ถูกจับ การพรักพรากจากครอบครัวความทุกข์ทรมานจากสิ่งที่ได้รับเมื่อต้องตกอยู่ในฐานะนางบำเรอกามแบบที่ตัวเองไม่ต้องการ ต้องนอนกับผู้ชายมากมาย นอกจากนี้ยังมีกระดาษสีเหลืองให้ผู้เข้าชมเขียนข้อความไปติดไว้กำแพง และ โดยกำแพงที่มีคำจารึกและ ภาพของสตรีที่ต้องทนทุกข์ทรมานในวัยชราที่ยังคงชีวิตอยู่ เอาตรงๆ หลังจากได้เข้าไปแล้วเดินไปตามชั้นต่าง ๆ ผู้เขียนสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดและ ทุกข์ทรมานผ่านภาพของหญิงชราหลายท่าน และ คำพูดที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านวีดีโอ ไม่ว่าจะนานแค่ไหนร่องรอยของความทุกข์ทรมานก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ตราบเวลานี้

ข้อความที่มีการเขียนไว้จากผู้มาเยือน

นอกจากนี้เมื่อมีสตรีที่เผชิญหน้ากับเหตุการณ์นี้เสียชีวิตลง จะมีการนำภาพของหญิงชรานั้นจัดแสดงเพื่อให้ระลึกถึงเหตุการณ์และอวยพร แสดงความเคารพและให้เกรียติพวกท่านได้จากไปอย่างมีความสงบ

แม้ว่าเรื่องราวจะผ่านไปนานเท่านานแต่กิจกรรมที่ผู้คนสามารถแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนสำหรับผู้หญิงในเหตุการณ์นี้จะรวมตัวกันทุกวันพุธ ณ บริเวณสถานทูตญี่ปุ่น สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ คำขอโทษ และ การยอมรับความจริงจากญี่ปุ่น
ผู้เขียนอยากแนะนำทุกๆ คนลองไปเยี่ยมชมที่นี้ดูนะค่ะ การเดินทาง จากสถานีมหาวิทยาลัย Hongik ทางออกที่ 2 ขึ้นรถบัส Mapo ท้องถิ่น 15 และลงที่สี่แยกโรงเรียนมัธยม Gyeongseong หรือกลับรถจากทางออกและขึ้นรถบัสสีเขียว 7711, 7016 หรือ 7737 จากป้ายแล้วลงที่เดิม หยุด.
เวลา: วันอังคารวันพฤหัสบดี - วันเสาร์: 13.00 น. - 18.00 น. วันพุธ: 15.00 น
พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน The War and Women (전쟁과여성인권박물관)https://www.facebook.com/warandwomen/
Cr.soulofseoul.net , Tripadvisor

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น