วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อนุสรณ์สถานสุสานทหารสหประชาชาติในเกาหลีใต้ เมืองปูซาน (UN Memorial Cemetery in Korea, UNMCK) Single Girl Trip

 
สวัสดีค่ะวันนี้ผู้เขียนจะพาท่านไปเยือนปูซาน และ ลองไปหาสถานที่เที่ยวใหม่ ๆ นอกจากที่เราเคย ๆ ไปในปูซานนะค่ะ ออกเนวย้อนประวัติศาสตร์
อนุสรณ์สถานสุสานทหารสหประชาชาติในเกาหลีใต้ (UN Memorial Cemetery in Korea, UNMCK)  (재한유엔기념공원)  เป็นสุสานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ทหารของสหประชาชาติจาก 16 ประเทศ และ องค์การสหประชาชาติในการให้ความชวยเหลือในช่วงของสงครามเกาหลี ปี 1950-1953 และ ได้มีจัดการสร้างอนุสรณ์สถานและทำการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือน เมษายน ปี 2001
อนุสรณ์สถานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง ปูซาน จังหวัดคย็องซังใต้ ซึ่งในสงคามครั้งนั้นได้มีทหารสูญเสียชีวิตจำนวนกว่า 2,289 และ 11 นายถูกสังหารในฐานะเชลย สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมลำดับที่ 359 โดยสำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมแห่งประเทศเกาหลีใต้ ปี 1964
ภายในอนุสรณ์สถานนั้นแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ พื้นที่บริเวณอนุสรณ์สถานที่ปรากฏแผ่นศิลาที่จารึกชื่อทหาร และ ทีการทำกำแพงหินอ่อนเป็นการสลักชือทหารที่ถูกสังหารและหายตัวไปในระหว่างทำสงครามจำนวนถึง 40,896 รายชื่อ บริเวณของอนุสรณ์สถานที่นี้มีเนื้อที่ 135,000 ตารางเมตร
อนุสรณ์สถานที่น่าสนใจ ได้แก่ หอบริการอนุสรณ์, หอรำลึกความทรงจำ, อนุสรณ์สถานตุรกีสองแห่ง, อนุสาวรีย์กรีก, อนุสาวรีย์ออสเตรเลีย, อนุสาวรีย์ความมั่งคั่งร่วมอังกฤษและบ่อน้ำสองแห่ง ห้องโถงแห่งความทรงจำและที่ระลึกถูกสร้างขึ้นในปี 1964 และ 1968 ตามลำดับ พลเมืองของปูซานได้อุทิศประตูใหญ่ในปี 1966 ในแต่ละปีจะมีงานประจำปีมากมายที่จัดขึ้นที่นี่เช่นพิธีการทหารผ่านศึกของสงครามเกาหลีในเดือนเมษายน วันที่ระลึกวของชาวอเมริกันของเดือนพฤษภาคม วันแห่งความทรงจำของเกาหลีในเดือนมิถุนายน และวันสหประชาชาติในเดือนตุลาคม
พื้นที่บริเวณ อนุสรณ์สถานของ
                                          UN Memorial Cemetery in Korea, UNMCK
รูปปั้น ระลึกถึงกองกำลังทหารสหประชาชาติ
 

 
การแกะสลักบรรยายถีง อนุสรณ์สถานของหญิงชายชาวอเมริกันที่ต่อสู้เพื่ออิสระภาพของชาวเกาหลี ช่วงปี 1950-1953

ดอกไม้ในบริเวรอนุสรณ์สถาน

 
บริเวณสวนดอกไม้ต้นไม้ของอนุสรณ์สถาน
 ดังที่ทราบว่า ประเทศไทยของเราได้ทำการส่งทหารไปทำการรวมรบในสงครมครั้งนี้เช่นกัน เราเรียกว่า กองกำลัง พยัคฆ์น้อย หรือ กองทัพเสือน้อย the Little Tiger เกรียติภูมิของทหารไทยที่ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์โลก
เมื่อเกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ ประเทศไทยของเราภายใต้การนำของสหประชาชาติได้ เข้ารวมรบในสงครามครั้งนี้ จนได้รับการขนาขนามจากพลเอก เจมส์ เอ แวน ฟลีท ผู้บัญชาการกองทัพที่ 8 ของสหรัฐอเมริกาว่าเป็น พยัคฆ์น้อย หรือ ๅlittle Tiger  อันหมายถึงทหารที่ร่างเล็กที่สู้เหมือนเสือ ทหารของไทยมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 136 นาย และ บาดเจ็บจำนวนมาก มีคำกล่าวว่า ทหารไทยในสงครามเกาหลีนั้นต่อสู้กับข้าศึกเหมือนเสมือนหนึ่งปกป้องบ้านเมืองของตัวเองโดยเฉพาะการรบครั้งสำคัญที่เนินเขาพอร์คช๊อปอันเป็นที่ตั้งสำคัญของทหารไทยที่ตั้งรับการโจมตีข้าศึกถึง 5 ครั้ง แต่จำนวนกำลังของข้าศึกที่มีมากก็ไม่สามารถที่จะทำให้ทหารไทยถอยได้
                                          
ที่ระลึกสำหนับทหารไทย
 
แผ่นสลักชื่อประเทศไทยในบริเวณ อนุสรณ์สถาน
 

ภาพถ่ายของทหารไทย ในห้องจัดแสดงของ อนุสรณ์สถาน สุสานสหประชาชาติ
 
                                    
ภาพถ่ายของทหารไทย ในห้องจัดแสดงของ อนุสรณ์สถาน สุสานสหประชาชาติ
 
เนิน 255 หรือ พอร์คชอป ฮิลล์” (ตามคำที่อเมริกาเรียก) มีความสำคัญมากในทางยุทธวิธี เพราะเป็นจุดคุมเส้นทางหลักหลายทาง ซึ่งการรักษาพอร์คชอปไว้ได้ ย่อมหมายถึง ความปลอดภัยของแนวต้านทานหลักของฝ่ายกองกำลังสหประชาชาติ ซึ่งกองพันทหารไทยได้รับคำสั่งจาก กรมทหารราบที่ 9 สหรัฐอเมริกาว่า
"กองพันทหารไทย จะต้องรักษาที่มั่นพอร์คชอปไว้ให้ได้ หากถูกข้าศึกเข้าตีและยึดครองไป จะต้องดำเนินการตีโต้ตอบ เพื่อแย่งยึดกลับคืนทันที"
นั่นทำให้คำสั่งที่ตามมาจึงระบุชัดว่า "การรบบนเขาลูกนี้ คือ การสู้ตาย ห้ามถูกจับเป็นเชลย และจะถอนตัวได้ก็เมื่อมีคำสั่งจากผู้บังคับกองพันเพียงคนเดียวเท่านั้น"

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะยึดเนินเขาพอร์คชอป กองกำลังทหารจีนและเกาหลีเหนือ ได้เข้าโจมตีที่มั่นของทหารไทย 5 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรก เพื่อทดสอบกำลังตั้งรับ และ 3 ครั้งสุดท้ายเพื่อยึดเนินเขาดังกล่าวให้ได้ แต่ทั้ง 5 ครั้งต้องล้มเหลวอันเนื่องมาจาก การต่อสู้อย่างกล้าหาญและยอมตายของทหารไทย

การรบเพื่อแย่งชิงชัยภูมิพอร์คชอป เกิดขึ้นอย่างดุเดือด ตั้งแต่คืนวันที่ 1 พ.ย. ติดต่อกันไปจนถึงวันที่ 11 พ.ย. กองกำลังทหารจีนและเกาหลีเหนือ ใช้รถถังกรุยทางยิงนำ ตามด้วยทหารราบ บุกทีเดียว 3 ทิศทางเป้าหมาย คือ ไปบรรจบกันบนยอดเขา ทหารไทยต่อสู้อย่างทรหด การรบหนักที่สุดในคืนวันที่ 10 ต่อเนื่องถึงรุ่งสางวันที่ 11 ฝ่ายเกาหลีเหนือปูพรมถล่มด้วยกระสุนปืนใหญ่กว่า 2,500 นัด และถึงขั้นตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน
ทหารคนหนึ่งเล่าในเวลาต่อมาว่า
"ไม่รู้ใครเป็นใคร สังเกตุว่าเป็นฝ่ายเดียวกันหรือข้าศึกก็จากท่าทางถืออาวุธและเครื่องแบบเท่านั้น"

ทุกอย่างเกิดขึ้นในท่ามกลางหิมะโปรยปราย หนาวเย็น ซึ่งทหารไทยไม่มีความคุ้นเคยแม้แต่น้อย
ผลของการรบตลอด 10 วันนั้น ปรากฎว่า ทหารไทยเสียชีวิตทั้งสิ้น 25 นาย ทหารจีนและเกาหลีเหนือทิ้งศพไว้บนยอดเขากว่า 200 คนและถูกจับเป็นเชลย 5 คน
ชื่อเสียงของ "Little Tiger" จึงเกิดด้วยประการฉะนี้
โดยผู้ที่ให้สมญานามนี้ คือ พล.อ.เจมส์ เอ.แวน ฟลีต แม่ทัพที่ 8 ของสหรัฐฯ ผู้บังคับบัญชากองกำลังสหประชาชาติ
ว่ากันว่า ชื่อเสียงของทหารไทยในวีรกรรมครั้งนี้ ทำให้กองกำลังฝ่ายตรงข้ามถึงกับเข็ดขยาด ต้องเลี่ยงไปยังเส้นทางอื่นแทน
 
นอกจากเมืองปูซาน ที่เกาหลีใต้ ปรากฏ อนุสาวรีย์ของทหารไทย ที่ตำบล อนุชอน เมืองโปชอน จังหวัดเคียงกิ ประเทศเกาหลีใต้
 
 
                                  อนุสาวรีย์ของทหารไทย ที่ตำบล อนุชอน เมืองโปชอน จังหวัดเคียงกิ ประเทศเกาหลีใต้
 
 
รูปภาพที่มีผู้นำมาไว้สำหรับทหารผู้รวมรบ

ของใช้ของทหารที่ปรากฏข้องแผ่นจารึกชื่อ
 


 
 สำหรับการเดินทางนั้น ท่านสามารถนั้น Metro lone 2 ลงสถานี Daeyeon Stn. ทางออกที่ 3,5 เดินตรงไปทาง busan museum ราว 10 นาที
cr.Siam solider , Tnews, Chilloutkorea, Jointtravel https://english.visitkorea.or.kr
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น