วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

Gimhae เมืองแห่งเรื่องราวของพระเจ้าซูโร แห่งอาณาจักร คายา กับ พระราชินี ฮอฮวังอก ราชินีจากแดนไกล

ในทริปนี้ผู้เขียนขอแนะนำเมืองหนึ่งสำหรับผู้ที่ได้เคยเดินทางไปปูซานแน่นอนท่านจะต้องลงที่สนามบินกิมแฮ เมืองที่หลสยคนแทบจะไม่สนใจว่ามันคือเมืองแห่งเรื่องราวของประวัติศาสตร์อาณาจักรที่คนลืมๆ ไป นั้นคือ คายา  เพื่อจะผ่านจะไปปูซานเรามารู้จักเมืองทางผ่านดินแดนแห่งตำนานของพระเจ้าซูโร กษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรคายา
เมืองกิมแฮ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่จังหวัด คย็องซังใต้ประเทศเกาหลีเป็นที่ตั้งของตะกูล คิม กิมแฮ (Kim Gimhae)  ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเผ่า คิม ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี คิม กิมแฮ  อ้างการสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์โบราณของ Geumgwan Gaya ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกิมแฮ เมืองกิมแฮตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำนักดง (Nakdong river)  ทีแหล่งทางโบราณคดี และ ประวัติศษสตร์หลายที่ๆ น่าสนใจสำหรับเมืองเล็ก ๆ แห่งนี้
สถานที่ที่ได้เดินทางไปครั้งนี้ถือได้ว่ามีความน่าสนใจ โดยมีพิพิธภัณฑ์กิมแฮที่จัดแสดงเรื่องราวของคายา และ พิพิธภัณฑ์พื้นเมืองกิมแฮ โดยผู้เขียนได้เดินทางไปทั้งสองที่ และ ยังได้เดินทางไป สุสานของกษัตริย์ซูโรปฐมกฐัตริย์แห่งอาราจักรคายา และ อาณาจักรคายาถือได้ว่ามีความสำคัญที่ตั้งอยูท่ามกลางสามอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งเกาหลี  คือ โคกูรยอ แพ็กเจ และ ชิลลา

แผนการกระจายตัว โคกูรยอ แพ็คเจ ชิลลา และ คายา

โดยคายาตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ของ อาณาจักร ชิลลา และ แพ็กเจ

คายาเป็นเหมือนรัฐกันชนระหว่าง แพ็กเจ และ ชิลลา





อาณาจักรคายาเป็นสมาพันธ์ที่ปกครองอยู่เกาหลีตอนกลางในช่วงระยะเวลาแห่งสามอาณาจักรตั้ง ในพุทธศตวรรณที่ 6-11 คายาเป็นดินแดนที่ปกครองคาบเกี่ยวกับสามอาณาจักรยิ่งใหญ่จนทำให้คายาแทบจะถูกลืมไปในยุคนี้ เป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่เหล็กและช่างฝีมือของคายากลายเป็นคนผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความสามารถทางด้านงานช่างสังเกตุจากของในพิพิธภัณฑ์ของ คายา ความรู้ในการทำแร่เหล็กถือว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ  จากที่ผู้เขียนได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์กิมแฮ ได้พบชุดเกราะ หมวก ทั้งของคน และ ของสัตว์ปรากฏโชว์หลายชิ้น อันแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรรมชั้นสูงของการทำจัดทำอาวุธ และ สิ่งของต่างๆ จากแร่เหล็ก จุดสิ้นสุดของคายาชัดเจนเมื่อต้องตกอยู่ใต้อำนาจของชินลา ในปี พ.ศ.1105 ถ้าอยากจะเข้าใจแบบนิด ๆ หน่อย ลองไปดู ซอนต๊อกนะค่ะ มีเรื่องของคายา และ การรวมมือกับชินลาในการต่อสู้
เมื่อเราอยากรู้เรื่องของคายา กษัตริย์ซูโร ถืดได้ว่าเป็นบุคคบที่บุกเบิกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เรื่องราวข้อเท็จจริงระบุไว้ใน Samgungnyusa (เหตุการณ์ที่น่าจดจำแห่งสามอาณาจักร) ในส่วนของ Garakgukgi ซึ่งบันทึกโดยนักเขียนที่ถูกส่งไปยังเมืองกิมแฮ  กิมแฮที่รู้จักกันในเวลานั้นว่า Geumgwan (กึมควาน)  มีการบันทึกเรื่องราวและเขียนใหม่ไว้ใน Samgungnyusa
จากบันทึกของ Garakgukgi กล่าวไว้ว่า เมื่อโลกเริ่มขึ้น ไม่มีประเทศใดเลยที่มีกษัตริย์ และ ขุนนางคงมีแต่ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ มีผู้นำเก้าคนปกครองคนกว่า 70,000 คน อาศัยอยู่ในบ้าน 100 หลัง แต่ไม่มีการเรียกกษัตริย์ ดังนั้นกษัตริย์ซูโร จึงเป็นราชาองค์แรกที่ได้รับการแต่งตั้งชื่อ ในกาษาจีนคำว่า ซูโร หมายความได้ว่า  ซู แปลกว่า หัว โร หมายถึงปรากฏตัว
มีตำนานได้บอกเล่าเรื่องราวของไข่ทองคำหกใบกล่องทองคำที่ห่อด้วยผ้าสีแดง กล่าวว่ามีการลอยลงมาจากสวรรค์จากจุดสูงสุดของยอดเขา Gujibong หลังจากผ่านไป 12 วันไข่ก็ฟักออกมา เด็กชายหกคนฟักตัวออกมา และ พระเจ้าซูโรคือ หนึ่งในนั้น เด็กชายทั้งหกคนกลายเป็นพระราชาและปกครองส่วนอื่นๆของแผ่นดิน อย่างไรก็ตามกษัตริย์ซูโร ทรงเลือกที่ดินเพื่อสร้างเมืองหลวงเป็นครั้งแรกพระองค์เรียกว่า การัค Garak  หรือ ในนาม คายา  Gaya

พระเจ้าซูโร
                                                   
ช่วงเวลาของคายา ปรากฏในช่วง  พ.ศ.585-1075 แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่จะเน้นย้ำการมีอยู่ของคายาว่าอยู่ในช่วงเวลา พุทธศตวรรษที่ 7 เด คายา (Tae Kaya) ถือได้ว่าอำนาจมากสุดในจำนวน 6 เผ่า ต่อมารู้จักกันดีในนามใของ Pon Kaya  หรือ Geumgwan Gaya  (พน คายา) (ต้นฉบับคายา) สิ่งเหล่านี้พัฒนามาจาก 12 รัฐของ Pyonhan . พื้นที่มีได้รวมและ ควบคุมของคายาอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ นัดดง และ ทางใต้ของภูเขาคายา เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ พน คายา (Pon Kaya )
จากเรื่องราวของกษัตริย์ซูโร  ตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับพระราชินีต่างชาติแห่งกษัตริย์ซูโร  นามว่า พระนางฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok) ต้นกำเนิด สกุล  ฮอ เมื่อเรากล่าวถึงคายา ราชินี ฮอฮวังอกอ หญิงต่างชาติคนแรกที่ได้แต่งงานกับชนชั้นนำของเกาหลี ในเอกสารความสัมพันธ์อินเดีย-เกาหลีได้กล่าวถึงเรื่องนี้ถึงความฝันอันศักดิ์สิทธิ์รวมสองวิญญาณและสองชาติของเผ่า  มีเรื่องเล่าของพระนางกล่าวว่า เจ้าหญิงต่างชาติองค์นี้มาจากอินเดียแล่นเรือมาจากอโยธยาเพื่อแต่งงานกับพระเจ้าซูโรซึงเป็นชาวเกาหลี สุสานของพระนางฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok) ที่ตั้งไม่ไกลจากของพระเจ้าซูโร  ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรักและความสำคัญที่ได้รับการยกย่องจนมีเรื่องเล่าของพระนางสืบต่อมาจนเวลานี้
ตามตำนานของเจ้าหญิงสุริยรัตน์รัตนะ หรือ พระนาม ฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok)  ได้ไปเกาหลีในช่วง พ.ศ.591 และได้เป็นเริ่มต้นของราชวงศ์  Karak โดยการแต่งงานกับกษัตริย์ท้องถิ่น ตามเอกสารจีนบางเล่มได้อ้างว่า กษัตริย์แห่งอโยธยานั้นทรงมีพระสุบินที่พระเจ้าทรงมีพระบัญชาให้พระองค์ทรงส่งบุตรตรีวัย 16 ปี ไปยังเกาหลีเพื่อแต่งงานกับพระเจ้าซูโร ในหนังสือยอดนิยมของเกาหลีใต้ประกอบนิทาน และ เรื่องราวในประวัติศาสตร์ผ่าน Samgungnyusa  กล่าวถึงพระนาง นางฮอฮวังอกอ(Heo Hwang Ok) ว่าทรงเป็นพระธิดาแห่งอาณาจักร Ayuta ภายหลังจากทรงเษกสมรส ทรงมีพระประสูติกาเป็นบุตรชาย 10 พระองค์ และ ทรงมีพระชนน์มายุมากว่า 150 ปี
นักมนุษยวิทยา คือ Kim Byung Mo  กล่าวว่า ชื่อ อาณาจักรว่าทั้ง Ayuta  ก็คือ  Auodhya เนืองจากสองชื่อมีความคล้ายคลึงทางสัทศาสตร์ สำหรับการมีตัวตนของเข้าหญิงมีจริงหรือไม่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนมีเพียงการบันทึกที่มีลักษณะของตำนาน ซึ่งตำนานถือได้ว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่มีน้ำหนักไม่มากนั้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพระองค์จะไม่มีตัวตนจริงๆ

พระนาง ฮอฮวังกอ 
สำหรับสถานที่ผู้เขียนได้ไปเยือนจากการไปเมืองกิมแฮ คือ  สุสานของพระเจ้าซูโร (Royal Tomb of King Suro)
สถานที่แห่งนี้คือสถานหลุมฝังพระศพของกษัตริย์ซูโรผู้ก่อตั้งอาณาจักร Garakguk (พ.ศ.595-1075) ยังเป็นที่รู้จักกันดีในนาม Namneung สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สุดของเมืองกิมแฮ
 พื้นที่ของสุสานแบ่งชัด สองส่วน คือ  มีทั้งสถาปัตยกรรมไม้ และ สุสานของกษัตริย์ซูโรอยู่ทางด้านในเป็นเนินสูงแบบที่เรียกว่า  Tamuli คุณสามารถพบเนินแบบนี้หลายที่ในเกาหลี เช่น เคีบงจู หรือ สุสานของราชวงค์โชซอน
 
 
สุสานของพระเจ้าซูโร

สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน

สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน
 
สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน

สถาบัตยกรรมรอบๆ สุสาน

สุสานของราชินีฮอฮวังกอ (Royal Tomb of Queen Suro)
นี้คือหลุมฝังศพของเจ้าหญิง ฮอฮวังกอ แห่งอาณาจักรอโยธยา ของอินเดียซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชินีแห่งกษัตริย์ ซูโร ก่อนที่พระนางจะสิ้นพระชนน์บุตรชายสองคนของพระนางได้ใช้นามสกุล Heo ฮอ และกลายเป็นบรรพบุรุษของตะกูล Heo
 
 เจ้
สุสานของราชินีฮอฮวังกฮ

 
เรื่องราวของพระเจ้าซูโร และ พระราชินี ฮอฮวังกอ นั้นปรากฏเหลักฐานผ่านหลุมพระศพ และ บันทึก ที่แสดงให้เห็นถึงการแต่งงานข้ามชนชาติระหว่าง เกาหลี และ อินเดีย ตำนานกล่าวถึงเรือพร้อมธงสีแดง ที่รอนแรมเป็นเวลาสามเดือนสู่ชายฝั่งของเกาหลี ในเรือของพระนางมีข้าทาส และ ของขวัญทองคำอัญมณี ผ้าไหมบนโต๊ะอาหาร และ ต้นชา ที่เล่ากันต่อมาว่านี้คือจุดของการนำชามาเพาะปลุกในเกาหลี ในเวลานั้นเล่ากันว่า พระเจ้าซูโร ต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการแต่งงานที่จะจัดขึ้นโดยหัวหน้าเผ่าของเขา เนื่องจากพระองค์ยังคงกำลังติดตามหาการนำทางแห่งสวรรค์ พระองค์ส่งเจ้าหน้าที่ของพระองค์นาม  Yuch’ŏn-gan โดยเขาได้ใช้ม้าและเรือไปสู่ยังเกาะ Mangsan-do ที่เกาะแห่งนั้นเขาได้พบเรือมีธงสีแดง เขาจีงได้พาเรือลำนั้นไปที่ชายฝั่งของคายา เจ้าหน้าที่อีกท่านนาม Sin’gwigan  แจ้งแก่กษัตริย์ซึ่งส่งหัวหน้าเผ่าทั้งเก้าเพื่อพาผู้โดยสารภายในเรืองไปยังพระบรมมหาราชวัง แต่เจ้าหญิงปฎิเสธที่จะมาพร้อมกับคนแปลกหน้า ต่อมากษัตริย์จึงได้จัดที่พักไว้บนแหลมของเนินเขาใกล้พระราชวัง
ไม่นานก่อนมีพิธีแต่งงานเกิดขึ้นระหว่างพระนางฮอฮวังกอ และ พระเจ้าซูโร พระนางได้จัดพิธีกรรมแห่งการขอบคุณต่อวิญญาณแห่งขุนเขา พระนางขึ้นไปยอดเขาถอนเสื้อชั้นในล่างที่ทำจากผ้าไหมและมอบเป็นเครื่องบูชาให้แก่วิญญาณแห่งภูเขา เมื่อถึงเวลาของการคุ้มกันพระนางกลับไปยังบ้าน พระเจ้าซูโรมอบผ้าป่าน 30 ม้วน และ ข้าว 10 ถุง ให้แต่ละคน ข้าราชบริพารท้้งสองและภรรยาของพวกเขาพักอยู่กับพระราชินี ตำนานเล่ามาต่อว่า พระราชินี ฮอฮวังกอ  สิ้นพระชนน์ในวัย 157 ปี
จากการศีกษาข้อมูลส่วนมากรูปแบบของเรื่องราวของพระเจ้าซูโร และ พระราชินี ฮอฮวังกอ  จะออกมาในรูปแบบของตำนาน แต่ก็จะคล้ายกัน ๆ คือ จุดกำเนิดของ กษัตริย์ซูโร การพบกันของพระองค์ และ การแต่งงาน จะมีเรื่องเล่าขานที่ออกมาในทิศทางเดียวกัน ทำให้มีความน่าสนใจว่า ความจรืงแล้วสิ่งนี้มีจริงหรือไม่ แต่ที่ปฎิเสธไม่ได้คือ เสน่ห์ของเรื่องเล่าขานตำนานความรักของคนสองเชื้อชาติที่แสนจะงดงามดังความต้องการของสวรรค์ที่คนให้สอง เมื่อไปที่กิมแฮ ยังปรากฏมีการแสดงเรื่องราวตำนานความรักของทั้งสอง พระองค์ได้มาพบและเจอกัน ก่อให้เกิดตระกูล Karak ซึ่งมีประชากรเกาหลีกว่า 50 ล้านคนได้สืบนามสกุล คิม และ ฮอ มาตราบจนปัจจุบันนี้
เรื่องราวของ คายา นอกจากเรื่องราวของผู้ปกครองคือ พระเจ้าซูโร และ พระราชนี ฮอฮวังกอ  แล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีก ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ของคายา ทั้งการสร้างงานเหล็ก ปรากฏในเครื่องแต่งการของคน และ สัตว์ การทำทอง เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งในครั้งหน้่า ผู้เขียนจะมาบอกเล่าถึงการได้เยือนพิพิธภัณฑ์ของกิมแฮ ทั้งพิพิธภัณฑ์เรื่องเล่าของคายา และ พิพิธภัณฑ์พื้นเมื่อง หรือ Folk Museum ที่มีเรื่อวเล่าของคายา และ โชซอนที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
 
วิธีการเดินทางไป ยัง สุสานของทั้งสองพระองค์ง่ายมานะค่่ะ  ใช้ Light Rail (Busan-Gimhae Light rail Transit) แล้วมาลงที่ Royal Tomb of King Soro เดินไม่เหนื่อนมากก็จะถึง สุสานของทั้งสองพระองค์
 
 
Cr.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น